วิธีสร้าง self-esteem อย่างง่ายๆ........ผมไปอ่านเจอ
บังเอิญว่าผมไปอ่านเจอมาเลยอยากจะ แชร์ให้ทุกๆคนครับ

10 tips to Kick Start Your Self Esteem! by Julie Plenty


If you're tired of feeling "less than", afraid of making and achieving your desires and goals, feel that no matter what you do it is never "good enough", then your self esteem could do with a boost!

Having low self esteem takes an enormous toll on the quality of your life. You take fewer risks, which limits your opportunities, both personally and professionally. You are reluctant to voice or acknowledge your needs. You are probably also haunted by past mistakes and making future ones.

It doesn't have to be like this, the tools you've used to (unconsciously) lower your self esteem are the same ones you use to raise it. The following article gives you ten tips to raise your self esteem and improve the quality of your life!


1. Stop comparing yourself to other people. If you play this game, you're likely to compare yourself in a negative way and set yourself up for continuing to have low self esteem. Why continue to play a game where you've set the rules against yourself, so that you're less likely to win!


2. Don't keep putting yourself down! You can't develop high self esteem if you constantly repeat negative comments about your skills and abilities. Other people will pick up on it and take on board the negative way you view yourself. How are they likely to treat you? Also don't beat yourself up over "mistakes" that you've made - learn how to reframe them so that they work for you.


3. Using affirmations is an excellent way to raise your self esteem. It's the opposite of no 1. If you can programme your mind to repeat negative phrases about yourself (and see how effective that's been!), then you can certainly get into the habit of continually thinking (and saying to yourself) positive statements about you. When you do, allow yourself to experience the positive feelings about your statements. Also use inspirational quotes to assist you.


4. Accept all compliments graciously. Don't dismiss or ignore them. When you do you give yourself the message that you do not deserve or are not worthy of praise, which reflects low self esteem. It also means that others will become more reluctant to praise or acknowledge your abilities, if you don't.

5. Take advantage of and use life coaching programmes, workshops, books on how to raise your self esteem and develop a more positive attitude. Whatever material you see, read acts as subliminal learning, which means that it will plant itself in your mind and dominate your behaviour. Talk about food for thought - what diet is your mind on? Is it a nourishing one?


6. Mix with positive and supportive people. Who you associate with influences your thoughts, actions and behaviour - another form of subliminal learning. Negative people can put you and your ideas down and it lowers your self esteem. On the other hand, when you are surrounded by supportive people, you feel better about yourself, which helps to raise your self esteem. Learn how to develop your positive personal support network.


7. Acknowledge your positive qualities and skills. Too many people with low self esteem constantly put themselves down (back to no 1 again!) and don't appreciate their many positive attributes. Learn how to truly affirm and value your many excellent qualities. If you find this difficult, ask others to tell you. They'll come up with things you would never have imagined!


8. Stop putting up with stuff! Not voicing or acknowledging your needs means that you are probably tolerating more than you should. Find out what you're putting up with and zap those tolerations. By doing so, you're giving yourself the message that you're worth it.


9. Make positive contributions to others. This doesn't mean that you constantly do for others what they could be doing for themselves. But when you do make a positive contribution to others, you begin to feel more valuable, which increases your sense of your own value and raises your self esteem.


10. Involve yourself in work and activities that you love. So many people with low self esteem stop doing those activities that they most enjoy. Even if you're not in a position to to make immediate changes in your career, you can still devote some of your leisure time to enjoyable hobbies and activities.

and..............................

Start taking action! The universe rewards action. Backing away and avoiding challenges means that your self esteem muscles become weak and flabby. When you start to take action - regardless of the outcome - you will start to feel better about yourself, develop your self confidence and raise your self esteem.


ชื่อผู้ส่ง : ผู้อ่าน ถามเมื่อ : 02/10/2008
 


ตอนนี้ผมต้องไปอ่านหนังสือสอบอยู่เลยแปลอย่างละเอียดไม่ได้เอาเป็นว่าแปลอย่างคร่าวๆไปก่อน....ถ้าใครว่างจะช่วยแปลอย่างละเอียดก็ดีนะครับ

1.หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
2.อย่ามองตัวเองให้ต่ำ (อย่าจมปลักกับความผิดพลาดเดิมๆที่เคยทำ)
3.ตอกย้ำสิ่งดีๆให้กับตัวเองเป็นการ programme จิตใจ
4.ยอมรับคำชม อย่างภูมิใจ
5.เติมอาหารสมองให้กับตัวเองด้วย เข้าพวกสัมมนา อ่านหนังสือ
6.คบกับคนที่ prositive (ผมว่าต้อง constructive ด้วย)
7.รับรู้คุณสมบัติ บวกในตัวเองซะบ้าง
9.ทำอะไรดีๆเพื่อคนอื่นซะบ้าง
10.ทำอะไรที่คุณรักและมีความสุขกับมัน

และ
เริ่มทำเลย!!!
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 02/10/2008
ขอบคุณครับคุณผู้อ่าน
เมื่อเช้า เจอข้อความนี้ เลยขอเอามาฝากด้วยคน

“The greatest good you can do for another is not just share your riches, but reveal to them their own."
Benjamin Disraeli

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 03/10/2008
รบกวนคุณนันท์ช่วยแปลให้หน่อยซิครับ
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 03/10/2008
ทำอย่างไรให้เรารู้สึกเท่าเทียมกับคนทุกคนในโลก ไม่รู้สึกต่ำกว่าหรือเหนือกว่าเนี่ยแหละคือสิ่งดีที่สุดครับ
ชื่อผู้ตอบ : นิก ตอบเมื่อ : 03/10/2008
ได้ครับคุณนีโอ ขอเวลาหน่อยนะครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 04/10/2008
ผมแถมให้อีกอันนึงครับ
คุณเป็นคน Negative ประเภทไหน

ความคิดคือพลัง

มนุษย์ส่วนใหญ่มักโทษสถานการณ์ภายนอกว่าทำให้ตนตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ โทษดวงชะตาที่ทำให้เราเกิดมาไม่ร่ำรวย เป็นต้น แต่น้อยคนนักที่จะเห็นตัวเองชัดเจน หรือหันมาตรวจสอบระบบความคิดของตัวเองว่าตัวเรามีระบบความคิดอย่างไร เรามองโลกตรงตามความจริงมากน้อยแค่ไหน หรือเรามองโลกในแง่ร้ายเกินไป เพราะเมื่อเรารู้ว่ามีรูปแบบความคิดผิดปกติแล้ว เราจะเลิกโทษผู้อื่น แต่จะหันมาหาทางแก้ไขและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น แต่ปัญหาคือ มนุษย์มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองคิด Negative


ความหมายของ " Negative Thinking "

หมายถึง สภาวะจิตใจที่ส่งผลต่อระบบความคิดซึ่งจะก่อให้เกิดความทุกข์ และเกิดพฤติกรรมในทางทำลายตัวเองทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ ซึ่งรูปแบบความคิดดังกล่าวได้ถูกฝังรากลึกจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ " นิสัย " ทางความคิดเฉพาะบุคคล

ทำอย่างไรจึงจะเลิกเป็น Negative Thinker

1. ต้องรู้และเข้าใจว่า Negative Thinking มีกี่ประเภท มีลักษณะอย่างไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง
2. ต้องรู้และยอมรับก่อนว่าคุณมีรูปแบบ Negative Thinking แบบใด
3. ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า " นิสัยในทางลบ " ต้องใช้เวลา ก่อ ตัวนานเท่าใด การ เลิก อาจต้องใช้เวลามากกว่านั้นหลายเท่า


ทำไมต้อง " รู้ " รูปแบบความคิดของตัวเอง

ตามสมมติฐาน มนุษย์มักไม่รู้ว่าตัวเองมี Negative Thinking และเมื่อไม่รู้ก็ไม่เกิดการแก้ไข หรือแก้ได้ไม่ตรงจุด ดังนั้นถ้าอยากพัฒนาตนเองให้เป็น Positve Thinker จำเป็นต้อง " เห็น " รูปแบบความคิดของตัวเอง และยอมรับจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถทำได้ โดย

1. มี " สติ " ซึ่งสามารถสร้างได้ โดยการตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลา ดังต่อไปนี้
1. ขณะนี้เรากำลังคิดอะไรอยู่ ? คิดไปทำไม ?
2. ขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ ? ทำไปทำไม ?
3. ขณะนี้เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ ? (สุข, ทุกข์, เฉย ๆ)

2.หัดฟังเสียงที่ตัวเองพูดว่า ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ คุณเลือกใช้คำพูดอย่างไร ? น้ำเสียงอย่างไร ?

ข้อสังเกต การที่คนเราคิด Negative ส่วนใหญ่เพราะ เก็บเอานิสัยในวัยเด็กมาใช้

พฤติกรรมที่เรียกว่า Negative Thinking มี 11 ประเภท ดังนี้

1. สภาพจิตที่เย็นชา
สาเหตุ เกิดจากขาดเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอนในชีวิต
อาการ
· ไม่สามารถพูดคุยกับคนที่ตนเคารพรักด้วยวาจาที่สุภาพอ่อนโยน
· รู้สึกเบื่อหน่าย, อยากเก็บตัวอยู่คนเดียว, นั่งเฉย ๆ เหม่อลอย ไม่สามารถทำงานที่เคยชอบทำเป็นประจำได้
· เมื่อเกิดความโกรธ จะพูดจาก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ อาจจะรุนแรงถึงขั้นเกิดความเย็นชา
· หน้านิ่วคิ้วขมวดทั้งวัน
· นอนไม่หลับ
ทางแก้
· ต้องอยู่กับปัจจุบัน คือ ต้องรู้ตัวว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่, กำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ และมีความรู้
สึกอย่างไร

2. สภาพจิตที่รักตัวเองไม่เป็น แยกได้ 2 อาการหลัก

2.1 ไม่พอใจในสรีระของตนเอง : เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง
ทางแก้
· ให้แก้ไขเป็นจุดๆ อย่างสรุปว่าตัวเองเป็นคนรูปร่าง บุคลิกไม่ดี
· บอกตัวเองว่า " จงพอใจในตัวเอง "
2.2 พวกช่างบ่น เนื่องจาก
· หนีปัญหา ไม่ต้องการแก้ปัญหา ต้องการพึ่งพาผู้อื่น
· โทษชะตาชีวิต โทษผู้อื่นว่าทำให้ตัวเองไม่มีความสุข
· ขาดความอดทน ขาดความเพียรที่จะทำงานให้เสร็จ , ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
ทางแก้
· เมื่อได้รับคำชมให้ยิ้มรับ และอย่าปฏิเสธในใจ
· เมื่อรู้สึกชื่นชมใครให้เราแสดงออกให้บุคคลนั้นทราบ
· ให้รางวัลตัวเองหลังทำงานหนัก เช่น ดูแลสุขภาพตัวเอง, ซื้อของให้ตัวเอง
· เลิกเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ

3. สภาพจิตที่ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นอยู่เสมอ

อาการ
· เมื่อมีคนไม่เห็นด้วยกับการกระทำของตน จะเลิกทำสิ่งนั้นทันที ส่งผลให้เป็นคนขาดความรับ
ผิดชอบ
· เป็นคนไม่มีหลักการ : พูดเพื่อเอาใจผู้อื่น, ใช้คำพูดหวานเกินเหตุ, พยักหัว , ขอโทษบ่อยเกิน
ความจำเป็น
· เมื่อถูกตำหนิ จะเกิดความเศร้า วิตก กลัวเกินกว่าเหตุ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดี-ไม่เก่ง
· ทำตัวฝืนโลก หรือ ทำตัวเป็นผู้รอบรู้
ทางแก้·
ต้องรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้
· พยายามสร้าง Positive Self-image บอกตัวเองทุกวัน " I'm good I'm better I'm smart "
· ให้บอก " ขอบคุณ" ในสิ่งที่เขาวิจารณ์ และคิดว่าเป็นความรู้ใหม่
· ถ้าต้องทำอะไรตามผู้อื่นให้บอกไปว่า ที่ทำเนื่องจากเป็นสิ่งถูกต้อง
· เมื่อเจอคนที่ไม่เห็นด้วยกับเราให้คิดว่า เราก็คือเรา เขาก็คือเขา "ความงามของโลกคือ ความแตกต่าง"
· สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง โดยคิดว่า ไม่ใช่ว่าเขายอมรับเราแล้วชีวิตเราจะดีขึ้น หรือ หัดวิจารณ์กลับ

4. สภาพจิตที่อยู่แต่เรื่องในอดีต

คนเรามักติดป้ายฉลาก ( label ) ให้ตัวเองว่า เป็นคนแบบใด จึงทำให้คน ๆ นั้นไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าคิดเช่นนี้ ชีวิตของท่านก็ไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ที่ตายแล้ว

ทางแก้·
ยอมรับว่าเราเคยเป็นคนเช่นนั้นจริง แต่นั่นเป็นอดีต และเราขอตั้งต้นใหม่เปลี่ยนเป็นคนใหม่
· เราต้องตั้งจิตที่จะเปลี่ยนและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
· ตั้งใจมุ่งมั่นเลิกคิดเรื่อง Negative

5. สภาพจิตที่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่ไร้สาระ (ความรู้สึกผิด, ความรู้สึกกังวล)

5.1 อารมณ์ที่รู้สึกผิด
อาการ
· ขี้เกียจ, ไม่รับผิดชอบ รู้ว่าต้องทำอะไรแต่ไม่ทำ
· แกล้งทำอาการสำนึกผิดเพื่อให้คนอื่นช่วยเหลือและยอมรับตนเอง
ทางแก้
· อดีตผ่านไปแล้ว จบแล้วไม่สามารถแก้ไขอดีตได้
· อย่าหลอกตัวเอง ตอนนี้มีอะไรทำก็ทำไป
· หัดเขียนไดอารีว่ารู้สึกผิดเรื่องอะไร กับใคร เกิดขึ้นได้อย่างไร
· ทบทวนระบบความคิด ระบบการมองโลกของตนเอง ว่าอะไรควร - อะไรไม่ควร

5.2 อารมณ์รู้สึกกังวล
อาการ
· หนีปัญหา : หลีกหนีสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบัน
· กลัวการเสี่ยง เนื่องจากขาดการวางแผน, ขาดการขบคิดอย่างละเอียดรอบคอบ
· อยากให้อีกฝ่ายรู้ว่าเราแคร์
ทางแก้
· เมื่อเริ่มกังวลให้ถามตัวเองว่า "เรากำลังหนีปัญหาใช้มั้ย ขาดการวางแผน"
· กังวลแล้วได้อะไร, กำหนดเวลาให้กังวล หรือดูหน้าตาความกังวลว่าเป็นอย่างไร
· เขียนเรื่องที่กังวลออกมาว่ามีเรื่อง และพิจารณาดูว่าพอจะมีวิธีแก้ไขได้หรือไม่
· ถามตัวเองว่า ถ้าแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเราจะยอมรับผลได้หรือไม่

6. สภาพจิตที่กลัวการลองของใหม่
อาการ
· มีระเบียบวินัยเข้มงวดเกินขอบเขต : มีรูปแบบในการดำเนินชีวิตซ้ำซาก เช่นพฤติกรรมการกินเดิมๆ
· ทนทำงานที่ไม่ชอบ เนื่องจากต้องการความมั่นคงปลอดภัยมากเกินไป
· ระมัดระวังในเรื่องเวลามาก เนื่องจากเป็นนักวางแผนละเอียดจนเกินไป
· ยึดติดวัตถุทั้ง ๆ ที่ตัวเองอาจไม่ชอบ แต่เพื่อสร้างภาพให้ตัวเองดูดี ต้องการให้ทุกอย่างออกมาสมบูรณ์แบบ
· รับแนวความคิดใหม่ ๆ ไม่ได้, กลัวการมีเพื่อนใหม่, ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิธีแก้ ให้บอกกับตัวเอง ดังนี้
· ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ : ค่อย ๆ ลองทำอะไรใหม่ ๆ ทีละนิด
· ไม่ต้องกลัวความล้มเหลว หรือกลัวเสียหน้า : หัดคุยกับคนที่มีโลกทัศน์ต่างจากตัวเอง
· ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล ให้รางวัลตัวเองบ้าง

7. สภาพจิตที่กลัวการแหวกกรอบประเพณี
อาการ
· พูดและแสดงพฤติกรรมตามสังคมเพราะต้องการการยอมรับจากผู้อื่นและตำหนิผู้ที่ไม่ทำตามกรอบสังคม
· เป็นคนที่ตัดสินใจอะไรไม่ได้ มีความลังเล เพราะเป็นคนมองโลกไม่ตรงตามความจริง
· เป็นพวกที่ว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังผู้ใหญ่จนขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดการพิจารณาด้วยตนเอง
วิธีแก้
· เขียนกรอบประเพณีที่เราไม่เห็นด้วยออกมา และบอกตัวเอง "พยายามอย่าทำ"
· เลิกจับผิดผู้อื่น เพราะเป็นการบังคับให้ผู้อื่นทำตามเรา
· เมื่อต้องตัดสินใจ พยายามพิจารณาแต่ละทางเลือกอย่างละเอียดรอบคอบ ซ้าย ขวา หน้า หลัง

8. สภาพจิตที่คิดว่าโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม
อาการ
· เป็นพวกช่างบ่น ต้องการความเห็นใจ
· มีพฤติกรรม 50 / 50 คือ ใครดีกับเราต้องตอบแทนกลับทันที
· ต้องการหนีปัญหา โทษผู้อื่น เช่น โทษระบบเส้นสาย
· ต้องการแก้แค้นผู้อื่นที่เอาเปรียบตัวเอง เมื่อคนนั้นได้ดีกว่าตน
วิธีแก้
· เลิกตอบโต้ในทางลบกับผู้ที่คิดไม่เหมือนเรา
· ให้พูด " มันไม่น่าเกิดขึ้นเลย " แทนการพูดว่า " มันไม่ยุติธรรม "
· เลิกคิดแบบ 50 / 50 แต่ให้พิจารณาตามโอกาสและความเหมาะสม

9. สภาพจิตที่ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง
ให้ถามตัวเองก่อนว่า ผลจากการที่คุณผลัดวันประกันพรุ่ง ทำให้คุณรู้สึกอึดอัด กระวนกระวายใจหรือไม่
อาการ
· คนที่ทนทำงานในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ
· หนีปัญหา : ไม่อยากเจอผู้คน, รู้สึกเหนื่อย ไม่อยากทำอะไร คอยให้เวลาช่วยให้ปัญหาผ่านไป
· พวกที่แกล้งอุทิศแรงกายแรงใจ เพื่อผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่งานของตนยังไม่เสร็จ
· ผู้ที่รักการวิจารณ์ผู้อื่นตลอดเวลา ส่งผลให้ตัวเองไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวออกมาไม่ดี
ทางแก้
· ถามตัวเองว่า " อีก 5 นาทีข้างหน้า จะทำอะไร "
· ถามตัวเองว่า คุณจะทนรับสภาพอึดอัดกระวนกระวาย,ความรู้สึกผิดหรือความรู้สึกต่ำต้อยได้หรือเปล่า
· ก่อนจะทำอะไรให้มองถึงผลลัพธ์ แล้วถามตัวเองว่ายอมรับผลที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่
· สร้างสถานการณ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างพลังบวก เช่น ใกล้กับคนที่เราชอบ เป็นต้น

10. สภาวะจิตที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

สาเหตุ ในวัยเด็กได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่ใช้อำนาจกับลูกมากเกินไป
อาการ
· คนที่ชอบพูดขู่ว่า " ถ้าทำอีกครั้งจะตัดญาติ " หรือ พวกที่ชอบทำลายข้าวของ
· จะทำอะไรต้องขออนุญาต หรือถามความเห็นจากผู้อื่นตลอดเวลา
· สอดรู้สอดเห็นเรื่องชาวบ้าน เป็นคนอยู่สันโดษไม่ได้
ทางแก้
· ต้องหาให้เจอว่าใครคือผู้ที่ครอบงำอำนาจเรา : แสดงให้เขาเห็นว่าเราเป็นคนทำอะไรมีหลักการ
· พยายามปลีกตัวอยู่สันโดษบ้าง เช่น วันละ 1 - 2 ชั่วโมง ทบทวนเรื่องต่าง ๆ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น
· บอกตัวเองว่า " ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องทำให้ทุกคนมีความสุข"

11. สภาพจิตที่โกรธแล้วต้องแสดงออก

อาการ
· ต้องการบังคับโลกให้เป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ
· รู้สึกว่าโลกขาดความยุติธรรม
· แกล้งโกรธเพื่อให้อีกฝ่ายจำยอม
· แกล้งโกรธเพื่อไม่ให้ตัวเองเสียหน้า
· การจราจรติดขัด
ทางแก้
· พยายามปรับทัศนะในการมองโลกว่า โลกนี้จริง ๆ แล้วเราไม่สามารถควบคุมบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา
· ใช้ " ใจ " พิจารณา โดยการถามตัวเองว่า " โกรธแล้วได้อะไร "
· พยายามรู้เท่าทันความโกรธ : สังเกตว่าอะไรคือตัวกระตุ้นให้เราเกิดความโกรธ
· ในสถานการณ์ที่แก้ไขอะไรไม่ได้ เช่น รถติด ให้หาเทปที่มีประโยชน์มาฟังเพื่อให้จิตใจสบาย
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 05/10/2008
ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดีดีนะครับ คุณผู้อ่าน
ชื่อผู้ตอบ : พีระพงศ์ ตอบเมื่อ : 05/10/2008
ขอบคุณคุณผู้อ่านครับ มีประโยชน์มาก ถามต่อนิดครับ หนังสือฉบับเต็มชื่ออะไรครับ ผมว่าผมโดนหลายข้ออยู่ อยากซื้อมาอ่านดูครับ ขอบคุณ
ชื่อผู้ตอบ : คนผ่านมา ตอบเมื่อ : 06/10/2008
เล่มนี้หมายถึงเล่มไหนครับ ถ้าเป็นเรือ่ง negative ผมเอามาจากเว็บ www.drboonchai.com ซึ่ง อ.บุญชัย รวบรวมจากหนังสือหลายเล่มครับ แต่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งผมสมัครแล้ว ผมไม่สามารถบอกpasswordตรงนี้ได้ ถ้าอยากได้ก็เมลล์มานะครับ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 06/10/2008
คุณนีโอครับ คำแปลครับ
เคล็ดลับ 10 ประการ เพื่อช่วยให้เริ่มต้นนับถือตนเอง โดย จูลี่ เพล็นที่

ถ้าคุณเบื่อหน่ายจากการรู้สึกตนว่า “ด้อยค่า” ถ้าคุณกลัวการสร้างและกลัวการบรรลุซึ่งความปรารถนาและจุดหมายของตัวเอง หรือรู้สึกว่า ไม่ว่าคุณจะทำอะไร มันก็ไม่เคย “ดีพอ” ถ้าเป็นเช่นนั้น มันก็ถึงเวลาที่คุณต้องเสริมสร้างการนับถือตนเองแล้วล่ะ!

การที่เรานับถือตนเองต่ำ เหตุใหญ่ใจความ มันมาจากระดับคุณภาพชีวิตของคุณเอง คุณยอมปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงน้อยไป ซึ่งมันเป็นการจำกัดโอกาสของตัวเอง ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องอาชีพการงาน คุณกระอักกระอ่วนใจ ที่จะบอกหรือรับรู้ความต้องการของตัวเอง ซึ่งบางทีอาจเป็นไปได้ว่า คุณโดนความผิดที่เคยทำในอดีตตามหลอนอยู่ แถมยังกำลังจะทำความผิดนั้นอีกในอนาคต

มันไม่ต้องเป็นเช่นว่านี้หรอก เครื่องมือที่คุณเคยใช้ลดความนับถือตนเองให้ต่ำลง(โดยไม่รู้สึกตัว)นั้น เป็นเครื่องมือชนิดเดียวกันกับที่คุณจะใช้ยกระดับมันขึ้นมาได้ บทความต่อไปนี้ จะบอกถึงเคล็ดลับสิบประการที่จะยกระดับความนับถือตนเองและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคุณ

1.จงหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น ถ้าคุณลงมาเล่นเกมนี้ เป็นไปได้ว่าคุณเปรียบเทียบตนเองในทางลบ และจัดให้ตัวเองมีความนับถือตนเองในระดับต่ำๆ อย่างนั้นต่อไป คุณจะเล่นเกมที่คุณสร้างกติกาไว้ต่อต้านตัวคุณเองอย่างนี้ต่อไปทำไม คุณแทบจะไม่มีทางเอาชนะมันได้เลย!

2.จงอย่าดูถูกตัวเอง! คุณพัฒนาความนับถือตนเองให้มันเพิ่มสูงขึ้นไม่ได้หรอก ถ้าคุณมัวแต่วิพากษ์วิจารณ์ ทักษะและความสามารถของตัวเองในทางลบอยู่เรื่อยๆ คนอื่นเขาก็จะพลอยวิจารณ์คุณแบบนั้น และรับเอาคำวิจารณ์ที่คุณเห็นตัวเองในทางลบนั้นไว้เป็นข้อมูล ลองคิดดูว่า แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติตัวกับคุณอย่างไรหรือ? จงอย่ามัวแต่ทำร้ายตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพราะความผิดที่คุณได้ทำไปแล้ว จงเรียนรู้ที่จะประกอบมันขึ้นในรูปใหม่ ให้มันเกิดผลดีต่อตัวคุณเอง

3.การยอมรับความจริง เป็นหนทางเยี่ยมยอดที่ใช้ยกระดับความนับถือตนเอง สิ่งนี้ตรงกันข้ามกับที่กล่าวไว้ในข้อ 1 ถ้าคุณตั้งโปรแกรมให้ความคิดในหัวคุณเอาแต่พูดย้ำซ้ำทวนวลีเกี่ยวกับตัวเองในทางลบ (ซึ่งคุณก็เห็นแล้วใช่ไหมว่ามันมีประสิทธิภาพเพียงใด?!) แน่นอนว่าคุณก็ต้องสามารถสร้างนิสัยให้ตัวเองคิดคำพูดเกี่ยวกับตัวเองเชิงบวกได้เช่นกัน(และให้พูดออกมากับตัวเองจริงๆ) เมื่อคุณทำเช่นนั้นได้ ก็ย่อมทำให้ตัวเองได้พบความรู้สึกดีๆ ที่ได้จากคำพูดเหล่านั้น รวมทั้งคุณอาจใช้คำคมที่ใช้สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อช่วยในการนี้ด้วยก็ได้

4.จงยอมรับคำชมไว้อย่างสง่างาม อย่าเห็นว่ามันไม่สำคัญหรืออย่าเพิกเฉยต่อมัน เพราะถ้าคุณทำเช่นนั้น จะเป็นการส่งสารไปสู่ตัวเองว่าคุณไม่สมควรจะได้รับคำชมเชยหรือคุณไม่มีมีค่าเพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความนับถือตนเองของคุณนั้นว่าอยู่ในระดับต่ำ แล้วมันยังหมายความว่าคนอื่นๆ ก็จะยิ่งอึดอัดใจในการจะชมเชยหรือยอมรับในความสามารถของคุณ เพราะคุณเองก็ยังไม่เห็นว่ามันสำคัญ

5.จงสรรหาพวกคู่มือหลักการใช้ชีวิต การอบรมเชิงปฏิบัติการ หนังสือที่มีเนื้อหาวิธีเพิ่มความนับถือให้ตนเองและพัฒนาทัศนคติเชิงบวกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าวัสดุที่คุณเห็นหรืออ่านจะมาในรูปแบบใดก็ตาม มันจะทำหน้าที่เป็นเหมือนการเรียนรู้ผ่านใต้จิตสำนึกให้คุณ นั่นก็หมายความว่ามันจะฝังตัวในความคิดและครอบงำพฤติกรรมของคุณ จงพูดถึงอาหารความคิด อาหารประเภทไหนที่ความคิดคุณกิน? มันเป็นอาหารดีมีประโยชน์หรือเปล่า?

6.จงไปรวมอยู่ในกลุ่มกับคนที่คิดเชิงบวกและรู้จักให้การสนับสนุนคน คนที่คุณไปเกี่ยวไปข้องด้วยมีอิทธิพลต่อความคิดอ่าน การกระทำ และพฤติกรรมของคุณ สิ่งนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ผ่านใต้จิตสำนึก คนที่คิดเชิงลบจะทำให้ตัวคุณท้อแท้ และทำให้ความคิดของคุณตกต่ำ และจะทำให้การนับถือตนเองต่ำตาม ในทางกลับกัน ถ้าคุณแวดล้อมตนเองด้วยคนที่สนับสนุนคุณ ความรู้สึกต่อตนเองของคุณจะดีขี้น ซึ่งช่วยยกระดับความนับถือตนเองให้สูงขึ้นตาม จงเรียนรู้ที่จะพัฒนาเครือข่ายที่สร้างแรงสนับสนุนเชิงบวกแก่ตัวคุณเอง

7.จงยอมรับคุณสมบัติและทักษะที่ดีของตัวเอง มีคนที่นับถือตนเองต่ำจำนวนมากมายเกินไปชอบดูถูกตัวเองอยู่เรื่อยๆ (กลับไปดูเคล็ดลับประการที่ 1 อีกครั้ง!) และไม่เห็นคุณค่าของคุณลักษณะเชิงบวกที่มีตั้งมากมายหลายอย่างในตัวเขาเอง จงเรียนรู้ที่จะยอมรับความจริงแท้และเห็นค่าของคุณลักษณะอันเยี่ยมยอดต่างๆ นั้นในตัวเอง ถ้าคุณพบว่ามันยากที่จะหาเจอได้ จงเอ่ยปากถาม ให้คนอื่นเป็นผู้บอกคุณ พวกเขาเหล่านั้นจะบอกสิ่งต่างๆ ที่เขาพบแต่คุณเองกลับไม่เคยนึกถึง!

8.จงเลิกทนต่อสิ่งต่างๆ! การไม่ยอมพูดถึงหรือไม่ยอมรับรู้ความต้องการของตนเอง หมายความว่า คุณจำต้องทนมากเกินไปแล้ว จงหาสิ่งที่คุณต้องจำทนกับมันให้เจอและทำลายมันให้สิ้นซาก ถ้าทำได้อย่างนั้น คุณกำลังส่งสารให้ตัวคุณเองรู้ว่าคุณนั้นก็มีค่า

9.จงทำเพื่อผู้อื่นด้วยความเอื้อเฟื้อ นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องกระทำเพื่อผู้อื่น ในสิ่งที่เขาทำได้ด้วยตัวเขาเองอยู่แล้ว แต่เมื่อใดที่คุณเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น คุณจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากขึ้น และมันจะไปช่วยเพิ่มสำนึกในคุณค่าของตนเองและยกระดับความนับถือตนเองขึ้นมา

10.จงนำพาตัวเองไปร่วมงาน และกิจกรรมที่คุณรัก ผู้คนมากมายที่นับถือตนเองต่ำหยุดทำกิจกรรมที่เขาสนุกกับมันมากที่สุด แม้ว่าคุณไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะเปลี่ยนอาชีพอย่างปัจจุบันทันด่วนได้ คุณยังคงสามารถอุทิศเวลาว่างของคุณเองให้กับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนุกๆ ได้อยู่ดี

และ... เริ่มลงมือทำได้แล้ว! จักรวาลให้รางวัลแก่การกระทำเสมอ การถอยหลังและหลีกเลี่ยงสิ่งท้าทายหมายความว่ากล้ามเนื้อแห่งความนับถือตัวเองของคุณอ่อนปวกเปียกและหย่อนยาน เมื่อใดที่คุณเริ่มลงมือทำ โดยไม่ต้องไปสนใจผลที่ตามมา เมื่อนั้น ความรู้สึกดีๆ ต่อตัวเองของคุณจะเริ่มเพิ่มขึ้น ความมั่นใจในตนเองของคุณจะเริ่มพัฒนา และความนับถือตัวเองของคุณก็จะเริ่มยกระดับให้สูงขึ้นไปได้

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 06/10/2008
ขอขอบพระคุณ คุณนันท์มากครับสำหรับคำแปล ของคุณนันท์นี่ฉบับมืออาชีพจริงๆ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 07/10/2008
ดีมากมากค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 07/10/2008
ยอดเยี่ยม! บ่อยครั้งที่เราก็ต้องการให้มีการตอกย้ำในสิ่งที่เราก็รู้กันอยู่แล้ว แต่มันคอยจะหลุดอยู่เรื่อย

ขอบคุณคุณผู้อ่าน ที่เปิดประเด็นนี้ขึ้นมา ขอบคุณคุณนันท์ ที่ทำให้มันง่ายขึ้น

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 07/10/2008
คุณนันท์ควรอ่านข้อ 4.เพื่อเป็นการตอกย้ำ ตามคำแนะนำ
ของอาจารย์วสันต์ค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 08/10/2008
เย้ ๆ สุดยอด ถูกต้อง ขอบคุณค้าบ...
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 08/10/2008
เล่นมุขนี้ ผมไปไม่ถูกเลยจริงๆ ครับ

ตกลงว่าต่อไปผมจะพยายามยืดอกอย่างสง่างาม (ถ้าหากว่ายังพอมีคำชมหลงเหลืออยู่) แต่ถึงอย่างไรก็อย่าชมมาก จนผมเหลิงก็แล้วกันครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 08/10/2008
เห็นชื่อหนังสือ "ลิขิตโชคดีให้ชีวิต" อยู่ในธรรมเนียบ 50-self -help classics ด้วย ในฐานะอ่านมาแล้ว.........และเป็นชื่อหลักสูตรที่อยู่ในจินตนาการส่วนตัว......อยากแชร์ดังนี้ค่ะ

ทั้งเล่มจะเป็นการทดลองซ้ำไปซ้ำมาเพื่อได้ข้อสรุปความแตกต่าง
ของคนที่มักโชคดี และโชคร้าย
ลักษณะของผู้โชคดี
*เปิดโอกาสใหม่ๆให้ตัวเองเสมอ
*ไม่ชอบให้วันนี้เหมือนเมื่อวานนี้ และไม่อยากให้พรุ่งนี้เป็นแบบวันนี้
*มีความผ่อนคลายสูง....สนุกสนานกับกระบวนการมากกว่า ผลลัพท์หรือจุดหมายปลายทาง

สรุปหลักการ"ลิขิตโชค"
1.เพิ่มโอกาสพบโชคให้ตนเอง
2.ฟังเสียงภายในให้เป็น(โดยการฝึกสมาธิ)
3.คาดหวังแต่เรื่องดีดี
4.ปรับเปลี่ยนโชคร้ายให้กลายเป็นดี
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 08/10/2008
รบกวนครับ ใครเป็นผู้แต่งและผู้แปลครับ จะได้ไปตามหามาซื้อได้ถูก
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 10/10/2008
ผู้แต่ง ดร.ริชาร์ด ไวส์แมน
ผู้แปล ถนอมจิต พานิชรัตน์ สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งแรก ปี2546 ตอนงานสัปดาห์หนังสือของมหา'ลัยเชียงใหม่ครั้งก่อน อยู่ในกองลดราคา50-70%

คุณนีโอค่ะ
ถ้าได้หนังสือสวดมนต์มา...ว่าจะส่งให้แบบลงทะเบียนน่ะ ไม่ทราบว่าที่อยู่ใหม่ที่ให้ จะมีคนเซนต์รับรึเปล่า?
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 10/10/2008
มี ครับ มีคนรับตลอดครับ ขอบคุณครับ
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 11/10/2008
ทำไมเรียกว่าส้มตำ? อันที่จริงไม่ใช่ชื่อของคนทำหรืออะไรหรอกค่ะ ที่ชื่อส้มตำก็เพราะเป็นการนำคำสองคำมาผสมกันนั่นเอง ก่อนอื่นต้องแยกคำก่อนนะครับ royal1688 คำแรก ?ส้ม? มาจากภาษาท้องถิ่น ที่หมายความว่า รสเปรี้ยว ส่วนคำที่สองคือ ?ตำ? หมายความว่า การใช้สากหรือสิ่งของอื่นที่คล้ายคลึงทิ่มลงไปอย่างแรงเรื่อยๆ เมื่อจับทั้งสองคำมารวมร่างกันก็จะได้ความหมายคือ อาหารรสเปรี้ยวที่ทำโดยการตำ นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ ส้มตำยังมีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ตำบักหุ่ง, ตำมะละกอ
ชื่อผู้ตอบ : kawinha ตอบเมื่อ : 07/03/2018


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code