เรื่องที่เล่ามานี้ ดีจังครับ ผมมันคนประเภทชอบสรุป จัดหมวดหมู่ และรวบยอดให้เนื้อหาเป็นข้อๆ ก็ขออนุญาตนำเรื่องที่คุณ Karn เล่ามานี้ สรุปรวบยอดดังนี้ :-
(1) การเป็น "แชมเปี้ยน" หรือ "มือหนึ่ง" (ไม่ว่าเรื่องใดๆ) ก็นับว่ายากแล้ว แต่การรักษามันไว้ให้ยาวนานนั้น ยากยิ่งกว่า
(2) คนในระดับ "สุดยอด" นั้น เขามุ่งเน้น "การสร้างสรรค์ตนเองสู่ความเป็นเลิศ" (Excellent Creation) เขาไม่ได้หมกมุ่นอยู่แต่กับ "การแข่งขันที่มุ่งชิงความได้เปรียบ มุ่งเอาชนะคะคานผู้อื่น" (Competitive Advantage Focus) เพียงสถานเดียว
(3) คนในระดับสุดยอดนั้น เขายึดเอาคู่แข่งเป็น "เพื่อน" และเขามักคบหาสมาคมกับคนในระดับเดียวกัน เข้าทำนอง "พญาอินทรีย่อมไม่คลุกคลีกับอีแร้ง" เป็นไปตามกฏแห่งการดึงดูดที่ว่า "สิ่งที่เหมือนกันย่อมดึงดูดกัน" / "ความสำเร็จย่อมดึงดูดความสำเร็จ" เล่ากันว่าโธมัส อัลวา เอดิสัน และเฮนรี่ ฟอร์ด รวมถึงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และอีกสองสามคน แม้ดูเหมือนจะอยู่กันคนละปริมณฑลของวงการและงานอาชีพ แต่จริงๆ แล้ว พวกเขาเป็นเพื่อนสนิทกัน อย่างน้อยปีละครั้ง พวกเขาจะนัดกันไปใช้ชีวิตร่วมกันในสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ ใช้เวลาอยู่ร่วมกันราวสี่ถึงห้าวัน คุยกัน พายเรือ ตกปลา เล่นน้ำ เดินเล่น จิบเบียร์ ทำอาหารปิ้งๆ ย่างๆ นั่งๆ นอนๆ ฯลฯ แล้วก็แยกย้ายกันไปเปลี่ยนแปลงโลกตามวิถีทางของตน ผู้รู้บางท่านเรียกว่าพวกเขากำลังรวมกลุ่มกันเป็น "พลังอภิจิต" (Master Mind) พวกเขามาแลกเปลี่ยน "รังสีจิตใจ" กันปีละครั้ง
(4) คนที่อ่าน "เรื่องเล่า" (storytelling) แบบที่คุณ Karn เล่ามานี้ มักจะชอบ และซาบซึ้งใจมากกว่าการนำเสนอเป็นประเด็นเนื้อหาล้วนๆ จำพวก how to ต่างๆ ผู้รู้บางท่านถึงกับสรุปว่า "ทักษะในการเล่าเรื่อง" นั้น เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวดของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว
ขอบคุณนะครับที่ทำให้ผมได้ข้อสรุปอะไรบางอย่างที่อาจเลือนๆไปได้เหมือนกัน ถ้าไม่ได้รับการตอกย้ำจาก "เรื่องเล่า" ดีๆ แบบนี้
|
ชื่อผู้ตอบ :
วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ |
ตอบเมื่อ :
02/09/2008 |