ซอฟแวร์ความคิด...ข้อคิดเพื่อความสุขและความสำเร็จ
ซอฟแวร์ความคิด
1. ทัศนคติ
การมองปัญหา
- จงมองปัญหาหรืออุปสรรค ดังเมฆบนท้องฟ้า ดังคลื่นในมหาสมุทร มาและก็ไปอย่างไม่เคยหมดหรือหยุดยั้ง
การมองโลกในแง่ดี
- การมองโลกในแง่ร้ายไม่ต้องฝึก แต่การมองโลกในแง่ดีต้องฝึกฝน อดทน อดกลั้น เพื่อให้คิดแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์
- ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วน Relative ทั้งสิ้น - ความสวย ความงาม ความรวย ความจน ความสุขหรือความทุกข์
การอยู่ในปัจจุบัน
- ทิฐิธัมมิกถประโยชน์ (จงเป็นคนไม่มีอดีต และไม่ติดยึดในอนาคต)
การมองดูจิต
- หลวงปู่ดุลย์ - จิตที่ส่งออกเป็นทุกข์
การพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล
- ทำอะไรต้องพยายามมองให้เห็นผลของการกระทำนั้น (Consequential outcome) และท่านจะไม่เจ็บใจหรือเสียใจต่อการกระทำนั้น
คุณธรรม
- คุณธรรมหรือความดีความงามทั้งปวง มิใช่เกิดขึ้นโดยปกติ หรือฉับพลัน แต่เกิดจากการขัดเกลาจิตใจและบ่มนิสัย จนมองโลกเข้าใจโลกบนพื้นฐานของคุณธรรมและความถูกต้องที่ได้ปลูกฝังไว้

2. เป้าหมาย
- ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมาย ก็ไม่ต่างอะไรจากขอบไม้ที่ลอยบนพื้นน้ำ ไร้จุดมุ่งหมาย พร้อมผันแปรไปตามทิศทางลม
- ทำอะไรต้องมีเป้าหมาย มีแผนการแต่ละขั้นตอนที่ชัด และมีแผนสำรอง เผื่อตกลงมาจะได้มีพื้นที่สำหรับมือพยุงไม่ให้ตกลงในเหว
- ทรายหยดทีละเม็ด ปฏิบัติงานทีละอย่าง
- Success succeeds success

3. การปฏิบัติตน การปฏิบัติตัว
ความเพียร
- อันของสูงแม้ปองต้องจิต มิคิดปีนป่ายจะได้หรือ
- ว่าวที่จะลอยสูงต้องมีลมมาปะทะแรงเช่นไร คนที่จะประสบความสำเร็จก็จะต้องไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคฉันนั้น
- คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร (วิริเยนา ทุกขะมิจเจติ)
- ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
- There is nothing that perseverance cannot win.
- It’s all right to fall down ; but you have to bounce up immediately
- ป๋ายชือฉี่โถงหนาน
ความอดทน
- ปัญหาและอุปสรรคถึงโถมใส่เรามากและรุนแรงเท่าไร เราต้องหยุดนิ่งและไม่เคลื่อนไหว ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว
ความซื่อสัตย์
- Honesty is the best policy
ความเที่ยงตรง
- คนจะรวยจะต้องมีจิตเที่ยงตรงและแน่วแน่ก่อน จึงจะรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรควรละเว้น ใครควรว่าจ้างหรือใครควรปฏิบัติ อะไรคือโอกาสทางธุรกิจ หรืออะไรคือหลุมพรางแห่งความโลภที่ควรหลีกเลี่ยง
ความยับยั้งชั่งใจ
- อดเปรี้ยวไว้กินหวาน (Delay immediate gratification)
การหัดสังเกต หัดฟัง หัดอ่าน
- ปัญญาในโลกมนุษย์แฝงอยู่ในกิจวัตรประจำวันดี ๆ นี่เอง ขอให้เรารู้จักสังเกต ตั้งใจฟัง ตั้งใจมอง เมื่อนั้นความจริงทั้งปวงในโลกก็จะเปิดเผยออกมาต่อหน้าท่าน
- พหูสูตเกิดจากการอ่านและการฟัง
ความไม่ประมาท
- อัปมาเทนา สัมปาเตถะ
ความรอบคอบ
- เป็นการง่ายที่จะตัดเสื้อผ้าผ้าชุดใหม่ดีกว่าการแก้ไขชุดปัจจุบัน
ความโลภ
- ความโลภของมนุษย์ดั่งน้ำในมหาสมุทร ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด จะให้อะไรใครก็ให้พอประมาณอยู่บนพื้นฐานของมัชฌิมาปฏิปทา
การรักษาสุขภาพ
- A sound mind in a sound body

4. การปฏิบัติต่อผู้อื่น
การคบคน
- ขงจื๊อ - จะคบคนต้องคบคนที่มีคุณธรรมสูงเท่ากับเราหรือสูงกว่าเรา
- ทฤษฎี Infectious viruses
- หลักกัลยาณมิตร
การดูคน
- ดูคนให้ดูที่ตา เพราะตาเป็นเพียงอวัยวะส่วนเดียวของโหงวเฮ้ง หรือวิชานรลักษณ์ที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน
- ภูเขาสามารถถล่มมาเป็นถนน แม่น้ำสามารถเปลี่ยนทางเดิน แต่นิสัยใจคอคนยากแท้ที่จะเปลี่ยน
การไม่มีตัวเขาเราท่าน
- สักแต่รู้ สักแต่เห็น ไม่ต้องสนใจตัวเขาเราท่าน
- รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา รู้สถานที่และรู้บุคคล
การปฏิบัติต่อผู้มีพระคุณ
- นิมิตตัง สาธุรูปะนัง กตัญญูกตเวทิตา
ความเมตตา
- หลักการเมตตา - เมตตาแล้วตัวเราต้องไม่เป็นทุกข์
- เมตตาคือพลังขับเคลื่อนจิต
การพูดจา
- โคตะวาจาหรือวจีพิฆาตไม่ต่างอะไรกับธนูที่ถูกยิงออกไปจากคันศร มันจะไม่หวน กลับมา ยังแต่สร้างความบาดเจ็บในจิตใจคนอื่น สร้างศัตรูที่หลบซ่อนและพร้อมจะทำลายเราทุกเมื่อ
- พูดทีละคำ ฟังทีละเสียง
การขอความช่วยเหลือ
- อยากได้น้ำผึ้ง อย่าแตะรังผึ้ง

ปิดท้าย
- นิสัยเกิดจากการย้ำคิดย้ำทำสิ่งนั้น ๆ จนกลายเป็นพิมพ์เขียวตรึงอยู่ในจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก
- ก้าวเถิดก้าวต่อไปไกลที่สุด มิพึงรั้งยั้งหยุด ณ จุดไหน
แม้นขวากหนามขวางกั้นจะหวั่นใย แสงเรืองไรแห่งหวังสีรังรอง
ชื่อผู้ส่ง : ผู้อ่าน ถามเมื่อ : 22/07/2008
 


ผมได้มาจาก ดร.บุญชัย โกศลธนากุลครับ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 22/07/2008
การจัดความสำคัญก่อนหลัง เพื่อความสำเร็จในชีวิต


การรับมือกับโลกยุคปัจจุบันที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องมีการบริหารชีวิต และการบริหารเวลาอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับสิ่งต่างๆที่ดูเหมือนว่ามีความสำคัญเท่าๆ กันไปหมดทุกเรื่อง การบริหารเวลาให้ถูกต้องมิใช่เรื่องการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือมิใช้เพียงการเน้นความสามารถในการตอบโต้มากขึ้น แต่เป็นเรื่องของการสร้างสมดุลให้กับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ 4 อย่าง นอกจากนั้นหากขาดวิจารณญาณที่ดี (Intuitive wisdom) ก็ไม่สามารถบริหารเวลาให้สมดุลได้ตามต้องการ

ความต้องการพื้นฐาน 4 อย่าง ของมนุษย์
• ปัจจัย 4 (Physical need) ประกอบด้วย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค รวมถึงความแข็งแรงทางกายและทางใจ
• ความต้องการทางสังคม (Social need) คือความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ที่อบอุ่นกับคนรอบข้าง หากความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ดีจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำสิ่งต่างๆลดลง
• ความต้องการทางจิตใจ (Mental need) คือความต้องการความสงบทางใจ
• ความต้องการทางจิตวิญญาณ (Spiritual need) คือความต้องการที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการสร้างอะไรบางอย่างเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อไป
ความต้องการทั้ง 4 อย่าง จะต้องมีความสมดุลกัน จึงจะเกิดพลังชีวิตที่จะทำสิ่งต่างๆอย่างมีความสุข และไม่เกิดความย่อท้อหรือเบื่อหน่าย

การจัดความสำคัญก่อนหลัง เพื่อความสำเร็จในชีวิต
การบริหารเวลา หรือการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำสิ่งต่างๆ เป็นเรื่องของการใช้วิจารณญาณในการรู้แล้วเลือก ดังนั้นการมีวิจารณญาณที่ดีจะช่วยให้เราสามารถเลือกทำสิ่งต่างๆได้อย่างสมดุล
วิจารณญาณในการรู้แล้วเลือกที่ดีประกอบด้วยปัจจัย 4 อย่าง คือ
• Self-awareness หรือการรู้จักตัวเอง คือรู้ว่าตัวเราเองเป็นเช่นไร คิดอะไรอยู่ อยู่ในอิริยาบถไหน และมีอารมณ์กับความรู้สึกต่างๆในแต่ละขณะเป็นอย่างไร รวมทั้งรู้ว่าเป้าหมายของเราคืออะไร และรู้ว่าเราชอบอะไร มีความถนัดทางด้านไหน
• Conscience คือหิริโอตตัปปะ หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่อยู่ภายในจิตสำนึก โดยรู้ได้จากเสียงที่อยู่ภายในตัวเรา (Inner voice) ที่จะเกิดขึ้นเมื่อจิตใจค่อนข้างสงบและมีแต่ความรู้สึกเพียงอย่างเดียว
• Independent will คือการมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ สามารถเลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง จะเกิดขึ้นได้ต้องหัดตั้งเป้าหมายในชีวิตและต้องทำให้ได้ หัดรักษาคำสัญญาต่อตนเองและผู้อื่น และอย่าให้อารมณ์มีความสำคัญกว่าสิ่งที่ทำอยู่
• Creative imagination คือการมีจินตนาการที่กว้างไกล คนที่จะมีจินตนาการได้จะต้องมีความสามารถที่จะมองเห็นภาพจากภายในใจได้ และต้องกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และกล้ายอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้

รากฐานที่สำคัญของการมีชีวิต 4 ประการ
• To live คือการมีชีวิตที่สอดคล้องกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี สอดคล้องกับเข็มทิศที่ติดตัวมาแต่เกิด หรือศักยภาพสูงสุดที่คนอื่นจะมีไม่เหมือนเรา ตราบใดที่ยังไปไม่ถึงจุดหมายมที่เข็มทิศของชีวิตชี้ไว้ชีวิตเราก็จะไม่มีความสุข
• To love คือการใช้ชีวิตอย่างเผื่อแผ่ และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น เพื่อความร่มเย็นและความสงบสุขในสังคม
• To learn คือการเรียนรู้จากการกระทำและการใช้ชีวิตของตัวเองในแต่ละวัน เพื่อให้มีการยกระดับคุณภาพของจิต และคุณภาพของชีวิตให้ดีขึ้นทุกวัน
• To leave a legacy คือการที่เราได้สร้างประโยชน์เพื่อสังคมและคนรุ่นต่อไป

“ พฤษภผกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง ”
โททนเสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา

การบริหารเวลา หรือการบริหารชีวิต จำเป็นต้องมีความสมดุลในทุกๆด้าน มิฉะนั้นทุกอย่างจะจบลงที่ความเครียด และความล้มเหลวในด้านต่างๆ

ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 22/07/2008
มาชุดใหญ่เลยครับ.. ดีจังครับ นี่ย่อยและย่อมาหรือครับ

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 23/07/2008
อันบนสุด คิดว่า อ.เค้าบรรยายจากประสพการณ์รวมๆ

ส่วนอันถัดมา รู้สึกจะย่อมาจากหนังสือ 1 เล่ม ผมก็ว่าน่าจะย่อแล้วนะครับ เพราะ หนังสือ 1 เล่มย่อเหลือแค่หน้าเดียว
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 24/07/2008
คุณ "ผู้อ่าน" ครับ

ทำไมคุณถึงได้ "รู้จด" และ "รู้จำ" อะไรมาได้ละเอียดพิสดาร มากมายมหาศาล มโหฬารมหันต์ลึก ได้ถึงขนาดนี้ (ฮา) ไม่คิดสงสารผู้อาวุโสอย่างคุณนันท์..และ..เอ้อ..ผม (ด้วยคนก็ได้) บ้างเลยหรือ (ฮา) กว่าผมสองคนจะ "รู้จริง" ได้ครบถ้วนกระบวนความทุกข้อ มิต้องปฏิบัติกันชนิดหูห้อย หางงอ ไปตามๆ กันหรอกหรือ (ฮา) แล้วนี่ชาตินี้ เราสองคนจะได้มีโอกาส "รู้แจ้ง" กับเขาบ้างหรือเปล่าล่ะเนี่ย หือม์ คุณนันท์!??! (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 29/07/2008
ผมเคยฟังปรัชญาของ ข่งจื้อที่บอกว่า
"คนเราแบ่งออกเป็น 2พวกคือ
พวกที่รู้เยอะแยะ แต่คิดไม่เป็น เรียกว่า "คนเขลา"(หรือเต่าแบกคัมภีร์)
อีกพวกคือ ไม่รู้อะไรแต่คิดสะเปะสะปะไปเรื่อย เรียกว่าพวก"คนชอบเดา"
ผมว่าคนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้ชอบคิด อยู่แล้ว คิดฟุ้งไปเรื่อย
แต่ส่วนใหญ่คิดอย่างไม่ค่อยมีพื้นความรู้ ผมเลยเป็นคนชอบจดชอบจำ
เพื่อเป็นข้อมูลทางความคิด เหมือนกับที่ อริโตเติลบอกไว้ว่า
"you can start thinking only when you have memory."

หรือจะสรุปก็คือ ผมติดนิสัยมาตั้งแต่เรียนกับอาจารย์แหละครับ(@ Manpower)
อยากเป็นนักพูดที่ดีต้องจดต้องจำ เพื่อจะนำมาถ่ายทอด รวมทั้งคำคมๆเอาไว้ปิดท้าย "ต้นตื่นเต้น กลางกลมกลืน จบจับใจ"
ขอบพระคุณครับ ....(ผมยังรอฟังบรรยายของ อ.วสันต์อยู่นะครับ ถ้ามีอันไหนผมเข้าได้บอกผมหน่อยนะครับ ...อยากคัรบ)
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 30/07/2008
ประโยค "you can start thinking only when you have memory." นี่เอาไว้เตือนตนได้ดีจริงๆ ครับ ขอขโมยคุณอริสโตเติ้ล เอาไปใช้หน่อยนะครับ (เพราะไม่รู้จะไปบอกแกที่ไหน)
เพราะบางทีเราก็จำเป็นต้อง stop our thinking จะได้เริ่มจากตรง stop our memory

ส่วน "ต้นตื่นเต้น กลางกลมกลืน จบจับใจ" นี่ขอยืมเจ้าของ โดยบอกผ่านตรงนี้เลยนะครับ.. เยี่ยมจริงๆ คิดได้ไงเนี่ย


ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 30/07/2008
ลิขสิทธิ์ อ.วสันต์ครับ ผมเป็นลูกศิษย์ไปจำมาใช้

คำคมๆ อ.วสันต์มีเยอะ ผมก็เอาตะแกรง มารอง เวลาฟัง อ.บรรยาย
ได้เป็บไว้ใช้เยอะเลย
..อยากฟังอ.วสันต์ บรรยายสดอีกครับ (ขออีกแล้ว)
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 30/07/2008
โอ้ๆ ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผมหรอกครับ ครูบาอาจารย์ ปรมาจารย์ทางการพูดรุ่นเก่าๆ ท่านได้สั่งสอนต่อๆ กันมาจนจับปาก..เอ้ย..มือใครดมไม่ได้ไปแล้ว (ฮา) ถ้าจะเอาให้สมบูรณ์นี่เขามีเป็นบทกลอนเชียวนะครับว่า..

"จงพูดดีมีมากล้นคนชื่นชอบ
ตามระบอบต้นตื่นเต้นเห็นเหมาะสม
ให้กลมกลืนลื่นกลางช่างน่าชม
จบให้คมสมรับจับจิตใจ"

ยังไม่มีโอกาสฟัง "บรรยายสด" ก็อ่านความคิด ความเห็น ในเว็บบอร์ดนี้ เป็นเสมือนฟัง "บรรยายผ่อน" ไปก่อนก็แล้วนะครับ คุณผู้อ่าน (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 04/08/2008


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code