BEYOND THE TWELVE STEPS
ได้มีการลงความเห็นกัน ว่านันท์บุ๊คถูกฝากความหวังให้แปลฯเล่มนี้
เห็นด้วยกะความเห็นของอาจารย์วะสันต์ที่ได้จัดกลุ่มผู้เขียนว่าเป็น
นักร้องนำ
หางเครื่อง
สมัยเด็กๆ...เท่าประมาณ..คุณผู้อ่านก็ประเภทตลุยซื้อ/ตลุยอ่าน
ซักพัก...จะรู้สึกว่า...ไม่อยากทำแบบนั้นแล้ว
ตัดสินใจซื้อช้าลง อ่านฟรีมากขึ้น(อ่านเพื่อสแกน)


เลย...อยากรู้จังว่าเค้าทั้งหลาย...ยังมีความหวังอยู่รึเปล่าคะ?
จริงแบบที่ คุณนพรัตน์บอกข้อระวังของการนัดเจอกลุ่มคน มี"โลกส่วนตัว"สูง

แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว มั่นใจว่า....ไม่ทางเหงียบเหงาได้เลย มีแต่จะแย่งกันพูดเนอะ!
ชื่อผู้ส่ง : ทวงถามแทน ถามเมื่อ : 16/07/2008
 


ขอสารภาพว่า เป็นครั้งแรกที่ได้ยินชื่อหนังสือ "Beyond the Twelve Step" ครับ
เลยเข้าไปดูรายละเอียดใน Amazon ถึงได้รู้ว่าเป็นของคุณ Lynn Grabhorn ผู้เขียน "Excuse Me, Your Life Is Waiting" ที่มีแปลเป็นไทยแล้วในชื่อ "พลังแห่งความรู้สึก"
แกเป็นคนโปรดของผม ก็ด้วยหนังสือเล่มนี้นี่แหละครับ
แต่ไม่ได้เคยค้นดูหนังสือที่แกเขียนสักเท่าไหร่

จากหนังสือเรื่อง "พลังแห่งความรู้สึก" แกน่าจะเป็นคนแรกๆ ที่เขียนเรื่องการใช้ "กฎแห่งแรงดึงดูด" (ที่พูดถึงกันอยู่ในตอนนี้) ไว้อย่างชัดเจนว่า key ของมันคือ "ความรู้สึก"
ผมว่าแกเขียนสนุกดี อ่านค่อนข้างง่าย ไม่หลักการเกินไป ผมว่าคนแปลเก่งด้วยครับ ถ้าจำไม่ผิดคือ คุณพรรณี ชูจิรวงศ์

สำหรับหนังสือ "Beyond the Twelve Step" นั้น ผมยังไม่รู้ถึงรายละเอียดด้านเนื้อหา ได้แต่อ่านจากคำวิจารณ์ และตัวอย่างเนื้อหาเท่าที่เห็นใน Amazon มีท่านหนึ่งเขียนบอกว่าเนื้อหาหลัก เหมาะกับบุคคลที่ต้องการเลิกจากเหล้า เลิกจากยาเสพติด อะไรทำนองนั้น
ผมเดาว่าคุณ Lynn คงเขียนจากประสบการณ์ของแก เพราะจำได้ว่าแกเคยบอกว่าแกเคยมีชีวิตช่วงหนึ่ง ติดเหล้าอยู่ แล้วผ่านมาได้ด้วยการใช้กฎแรงดึงดูด ทำนองนั้น

ขอออกตัวว่ายังไม่กล้าอาสา หรือรับปาก แต่หากมีโอกาสจะหาต้นฉบับมาอ่านดูครับ
ถ้าคุณทวงถามแทน เคยอ่านแล้ว เล่าสู่กันบ้างก่อนก็ดีนะครับ

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 17/07/2008
เอื้ยยยย!!!
ถ้าอ่านต้นฉบับได้
ก้อไม่มาทวงถามที่นี่หรอกค่ะ
เห็นเขียนถึงเล่มนี้ในกระทู้แรกๆนะค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : ทวงถามแทน ตอบเมื่อ : 17/07/2008
ผมมีส่วนทำให้คุณ "ทวงถามแทน" เกิดความหวัง และมีส่วนทำให้คุณนันท์เกิดความลำบากใจ ก็ต้องขอสารภาพเช่นกันว่ายังไม่ได้อ่าน "Beyond The Twelve Steps" เช่นเดียวกัน เพียงแต่รู้สึกนิยมผู้เขียน และคิดว่างานเขียนชิ้นสุดท้ายของชีวิตผู้เขียน น่าจะมีทีเด็ดอะไรบ้าง ทว่ามาคิดอีกที ก็อาจเป็นไปได้ว่า หนังสือ "Excuse me,your life is waiting" ก็คงจะเป็นงาน Masterpiece ของ ลีนน์ แกร็บฮอร์น แล้วละกระมัง และถ้าแนวเนื้อหาของหนังสือที่คุณนันท์อ่านจากอะเมซอน ด็อทคอม เป็นอย่างที่ว่า โดยส่วนตัวผมก็ชักไม่อยากอ่านแล้วละครับ

แต่ผมมีข่าวดีแจ้งให้คุณ "ทวงถามแทน" หายหงุดหงิด โดยขอแจ้งให้ทราบว่า มีหนังสือที่เขียนต่อเนื่องจากหนังสือของคุณลีนน์ แกร็บฮอร์น แล้วอยู่เล่มหนึ่ง และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วด้วย ในทัศนะของผมแล้วเห็นว่าผู้เขียน เขียนได้กระจ่าง และละเอียดละออมากกว่าของลีนน์ แกร็บฮอร์นเสียด้วยซ้ำไป

หนังสือเล่มนี้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Excuse me,your life is now!" เขียนโดย Doreen Banaszak (หรือในชื่อภาษาไทยว่า "ขอโทษ ชีวิตคุณ คือเดี๋ยวนี้!") จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นไม้ (เจ้าเก่า) ผมว่ามันดีจริงๆ แม้จะอ่านงานของลีนน์ มาแล้ว มาอ่านเล่มนี้ ก็รู้สึกว่าเหมือนกับการได้รับการเติมเต็มมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ในฉบับภษาไทยนั้น เราอาจต้องทนหงุดหงิดบ้างเล็กน้อยกับสำนวนแปลที่ไม่เอาไหนเลยจริงๆ นี่คือเหตุผลที่ผมไม่ได้บอกชื่อผู้แปลไว้ด้วย (ฮา)
ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 17/07/2008
อาจารย์ไม่ยอมบอกชื่อ
ก็อยากบอกอาจารย์ วะสันต์ว่า ก็คนเดียวกันนี้แหละที่ยิงคำถามเป้าหมายชีวิตแล้วทำให้คุณ"แฟนพันธุ์แท้" ต้องอึดอัดน่ะ

เล่มนี้อ่านแล้วค่ะ
เป็นแบบที่อาจารย์ว่าแหละ...ต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที

แต่เล่มอื่นๆ(ผู้แปลฯ)...เค้าก็แปลฯของเค้าได้ดีนะคะ....ไม่รู้เล่มนี้เป็นไง????
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 18/07/2008
ผมว่าผมเห็นอยู่แวบๆ เหมือนกันครับท่านอาจารย์ครับ เข้าใจว่าในงานสัปดาห์หนังสือ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หรือที่ไหนสักแห่ง
แต่ไม่ได้ซื้อ.. นั่นสิ ทำไมวันนั้นผมไม่ซื้อ จำไม่ได้.. งงตัวเองเหมือนกัน
เดี๋ยวลองไปหาตามแผงดู อีกที ขอบคุณครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 18/07/2008
เพราะฉะนั้นคุณนันท์จึงอย่าได้แปลกใจว่าเหตุใดบรรดาแฟนานุแฟนของหนังสือ The 7 Spiritual Laws of Success จึงได้ปลื้มผู้แปลนักหนา ดีพัค โชปรา นั้นผมว่าก็เขียนหนังสืออ่านยากอยู่เหมือนกัน ถ้าผู้แปลไม่เจ๋งจริง ก็คงยากที่จะทำให้อ่านได้เข้าใจพร้อมกับได้อารมณ์ซาบซึ้งไปด้วย

บอกตามตรงว่าเดี๋ยวนี้ผมต้องพึ่งบริการหนังสือแปลเป็นหลัก เพราะภาษาอังกฤษนั้นแค่พออ่านออกเขียนได้ ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์หรือแมกกาซีนนี่ไม่เท่าไหร่ พอเอาได้อยู่ แต่ถ้าเป็นหนังสือที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว ก็ต้องอ่านสองเที่ยวอยู่ดี คืออ่านภาษาอังกฤษแล้วก็ยังมึนงงอยู่เป็นอันมาก ต้องไปหาฉบับแปลมาทำความเข้าใจในรายละเอียดซ้ำอีก สองสามปีมานี่ชักจะขี้เกียจแล้ว อยากจะอ่านเอาเรื่องเลย หมดเวลาฝึกภาษาแล้ว อยากเอาเวลาไว้ใคร่ครวญคิดตามเนื้อหาในหนังสือมากกว่า เข้าทำนองชักจะติดนิสัย Fast Food หรือ "แดกด่วน" ไปเสียแล้ว

ดังนั้น ผู้แปลที่แปลได้ดีนั้น จึงนับว่าได้ก่อคุณูปการแก่ผมและคนแบบผม (ซึ่งก็น่าจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก) อย่างมหาศาล

ผู้แปลของสำนักพิมพ์ต้นไม้ที่ผมต้องยกให้เป็นมือวางอันดับหนึ่งเลยก็คือ คุณพรรณี ชูจิรวงศ์ เธอแปลได้ยอดเยี่ยมทุกเล่ม แต่ที่ผมว่าสุดยอดที่สุด คืองานแปลหนังสือ "The Power of Now" (หรือในชื่อภาษาไทยว่า "พลังแห่งจิตปัจจุบัน") ของ Eckhart Tolle ใครที่อ่านแล้วจะรู้ว่าถ้าผู้แปลไม่รอบรู้เรื่องราวทางจิตวิญญาณ ทางอภิปรัชญา ทางศาสนาต่างๆ อย่างที่เรียกว่าน่าจะกว้างขวาง และอาจหมายรวมถึงอย่างลึกซึ้งแล้ว จะไม่มีทางแปลงานของ Tolle ออกมาได้ขนาดนี้เลย ดูจากวงเล็บหมายเหตุผู้แปลที่ขยายความให้ผู้อ่านได้เข้าใจเพิ่มเติม ซึ่งมีเป็นระยะๆ ตลอดหนังสือเล่มนี้แล้ว ต้องโขกศีรษะคำนับสักสามครั้งให้เลยจริงๆ

คุณอัญชลี วิทยะ ก็แปลใช้ได้ครับ นี่ก็แปลงานหินอยู่ชิ้นหนึ่ง คืองานของดีพัค โชปรา (The Spontaneous Fulfillment of Desire หรือ "โชค ดวง ความบังเอิญ คุณกำหนดเองได้") อ่านแล้วก็พอเข้าใจเนื้อหาดีพอสมควรครับ

คุณกานต์สิริ โรจนสุวรรณ ผู้แปลงานของ Esther & Jerry Hicks (Ask and It is Given หรือ "คัมภีร์สมใจนึก") ผมว่าก็โอเคนะครับ (เห็นต่างกับคุณ "คนขอนแก่น" เล็กน้อย)

ส่วนผู้แปลที่เคยทำให้คุณ "แฟนพันธุ์แท้" ต้องอึดอัดนั้น ผมมีความเห็นว่าต้องดูเป็นเล่มๆ ไป (อย่างที่คุณแฟนพันธุ์แท้ตั้งข้อสังเกตว่า..แต่เล่มอื่นๆ เค้าก็แปลของเค้าดีนะคะ..นั่นแหละครับ) ถ้าจะเอาละเอียดและเฉพาะเจาะจง ผมคิดว่างานแปลหนังสือของ Brian Tracy นั้น ท่านก็แปลใช้ได้ทีเดียว แต่ถ้าเป็นหนังสือของ Anthony Robbins แล้ว..แหะๆ..ผมทนอ่านไม่เคยจบเลยสักเล่มหนึ่ง (ท่านแปลงานของสองท่านนี้หลายต่อหลายเล่มเลยละครับ)

เที่ยวนี้อภิปรายเรื่องผู้แปลหนังสือมากสักหน่อย เพราะทุกท่านล้วนมีบุญคุณกับผมอย่างหาที่สุดมิได้ นี่เราน่าจะมารวมกลุ่มกันจัดงาน "วันไหว้ผู้แปล" (นอกเหนือจาก "วันไหว้ครู") กันดีไหมครับ (ฮา)



ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 19/07/2008
กราบขอบคุณสำหรับคำชมจากท่านอาจารย์ครับ บอกตามตรงว่าชื่นใจจริงๆ
ถ้าเป็นในหนังจีน ก็คงต้องทำเสียงหล่อๆ แล้วบอกว่า "ท่านผู้อาวุโส ให้เกียรติกับข้า.. ผู้น้อยเสียเหลือเกิน"
ได้ผู้อ่านที่รอบรู้และเข้าใจในงาน เข้าใจในสิ่งที่กำลังสื่อสาร อย่างท่านอาจารย์ และผู้อ่านท่านอื่นๆ ที่สื่อมาถึง มันทำให้ตัวผมทั้งชื่นใจและดีใจ มีกำลังใจว่า สิ่งที่ตั้งใจมีคนรับเราได้
ความดีของการแปลจะแค่ไหนผมขอเรียนว่าผมไม่อาจรู้ได้ รู้ว่าแปลสุดกำลังสติปัญญาที่มีครับ

แต่ในมุมนึง.. ผมเป็นเหมือนท่านอาจารย์เลยครับ
อยากให้มีคนแปลออกมาเยอะๆ จะได้ขออาศัยอ่านด้วยคน เพราะลำบากจริงๆ เวลาต้องอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ มันแค่พอจะจับความ แต่ไม่ลึก จะให้ลึกพอ ต้องเปิดดิกชันนารี เมื่อยเลยแหละครับ

ผมเห็นด้วยครับ ว่าเท่าที่ติดตาม คุณพรรณี ชูจิรวงศ์ เป็นผู้แปลที่ได้ความลึก และได้มาตรฐานสม่ำเสมอ แต่หลังๆ หายไปไม่มีงานออกมา
การแปลดีหรือไม่ น่าจะสัมพันธ์กับแนวเนื้อหาที่ตนถนัด เป็นไปได้ว่าบางคนบังเอิญไปแปลที่ไม่ใช่ที่ตนเองถนัดเข้า

จะอย่างไรเสีย.. ผมก็เป็นบุคคลหนึ่ง ที่เกิดความรู้สึกขึ้นมา อย่างที่ท่านอาจารย์บอกว่า ผู้แปลทุกท่านนั้นมีบุญคุณ ที่ได้ช่วยสร้างสติปัญญาความรู้ให้กับเราอย่างมาก เมื่อเราอยู่ในฐานะผู้อ่าน

แต่ขอพูดในอีกฐานะคือ ผู้แปล
ตาม "กฎแห่งการให้" ผมได้รับสิ่งดีๆ ที่ย้อนกลับมาสู่ผม อย่างที่ผมพึ่งได้รับจากท่านอาจารย์และผู้อ่าน ไม่ได้น้อยไปกว่ากันเลยครับ


ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 20/07/2008
จากบท การสนทนา ของคุณนันท์ กับ อาจารย์วะสันต์ เรื่องเนื้อหาการแปล และความถนัดของผู้แปล...รวมประสบการณ์ที่เป็น"ฝันร้าย" ของตัวเอง .. ทำให้นึกถึงบทความของStephen R.Covey ในหนังสือ The 7 habit ที่บอกว่า หนังสือแนวการพัฒนาตนเองช่วง 150 ปีแรก(จากการค้นค้วาของตัวเค้าเองย้อนไป 200ปี) เน้นการมีชีวิตเรียบง่าย ไม่หรูหราและการปฎิบัติต่อผู้อื่นเสมือนต่อตนเอง
ในขณะช่วง 50ปีหลัง เน้นเรื่อง การสร้างความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยเน้นการสร้างบุคลิคภาพและภาพลักษณ์ทางสังคมด้วยเทคนิคต่างๆ(...ซึงส่วนใหญ่จะผิดหลักคำสอนของพุทธที่บอก...ทิฎฐุชุกัมม์..แสดงความเห็นให้ตรงและถูกต้อง.....ซึ่งต่อมาก็เคยอ่าเจองานเขียนคุณดังตฤณว่าข้อนี้สำคัญสุดในบรรดา....10ข้อวิธีทำบุญ)ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งร่องรอยของปํญหาที่จะตามมาภายหลัง
เป็นไปได้อย่างที่สุดเลยว่าการแปล... เนื้อหากับคนแปล ควรถูกโฉลกกันอย่างยิ่ง

ทราบข่าวจากสำนักพิมพ์ต้นไม้ว่า มีอีก~2เล่ม ที่ออกแนวจิตวิญญาณ อยู่ในมือผู้แปล(นิรนาม) คงต้องลุ้นกันหน่อยเนาะ....
เขาควรอยู่ในแนว....เนื้อหา....ชีวิตคือการต่อสู้....ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณจะไปที่ไหน คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าไปถึงที่นั่นแล้ว.....เวลามีค่าดุจทอง และทรัพย์สินเงินทองคือทุกๆ อย่าง......ถ้าฉันไม่ได้ในสิ่งที่ฉันต้องการ คนอื่นก็จะได้มันไปแทน.....อะไรประมาณเนี่ยะ!!!!!

แต่ก็ขอเขียนจากหลัก...ทิฎฐุชุกัมม์...ว่า
คุณนันท์ เหมาะที่จะแปลฯ แนวจิตวิญญาณมากกกกกกก
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/07/2008
นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมผู้แปลนิรนามท่านนี้จึงได้เป็นปลื้มกับ Joe Vitale (หนึ่งในผู้อยู่ในกระแส Law of Attraction) มากเป็นพิเศษ ความจริง Joe Vitale ก็เขียนหนังสือได้หวือหวา เร้าใจดี แต่ในหัวใจของผมมันมีเสียงเล็กๆ กระซิบว่า "เขายังไม่ใช่ตัวจริง!"

คุณบัณฑิต อึ้งรังษี (วาทยกรระดับโลก ชาวไทย) ก็ค่อนข้างปลื้มกับ Joe Vitale เช่นเดียวกัน ถึงขนาดแนะนำผู้ที่อ่านหนังสือของเขาว่า ถ้าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง "กฎแห่งการดึงดูด" แล้วละก็ ให้อ่านหนังสือ (เล่มหนึ่ง ซึ่งผมขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อ) ของ Joe

ที่ว่ามานี้ไม่ใช่เรื่องใครดีกว่าใคร แต่เป็นข้อสังเกตว่า "สิ่งเหมือนกันก็จะดึงดูดกัน" / "จะดูว่าเขาเป็นอย่างไร ดูเพื่อนของเขาก็พอจะรู้"/ "อยากรู้ว่าเขามีนิสัยเช่นไร ดูจากหนังสือที่เขาชอบอ่านก็พอจะเดาได้!" / ฯลฯ

ก็ต้องขอยอมรับอย่างน่าชื่นตาบานว่าผมเองก็ยังหนีไม่พ้นไปจากวังวนของการชอบจัดกลุ่ม แบ่งประเภท ฯลฯ แต่ก็เอาน่า คนเรามันก็ต้องมีความชั่วเป็นของตัวเองบ้าง (ฮา)
ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 21/07/2008
เห็นด้วย! เห็นด้วย! เห็นด้วยกะอาจารย์จริงๆ
น่าแปลกมาก..ถูกแนะนำหนังสือของ วาทยกรระดับโลก อยู่ไม่ต่ำกว่า10รอบ....จับขึ้นมาอ่านอยู่หลายรอบ ความรู้สึกคือ..มันไม่ใช่ จนปานนี้ก็ยังไม่ซื้อ ก็ทึ่งในความทะเยอทะยานของเค้านะ แต่มี"อัตตา" อยู่เยอะมาก เลยรู้สึกถ้าซื้ออ่านเหมือนถอยหลังเข้าคลองน่ะ เป็นการบอกเล่าภาคสนามมากกว่า
ถ้าอ่านประมาณ ดีพัค โชปรา เวย์น ไดเออร์ มันไม่อยากอ่านประมาณนี้อีกแล้ว
โจ วิเทล เค้าก็ประมาณภาคสนามนะคะ เช่นว่า มีบางช่วงติดนักบำบัด(อ่อนไหว/เศร้าใจ ) แต่ก็มี เดอะคีย์ เค้าแนะนำแฟนคลับของเค้าให้อ่าน ดีพัค โชปรา ที่น่าสนใจข้อระวังของเค้าคือ.....แม้ว่าหนังสือ ของโชปรา จะอ่านยากซักหน่อยก็ตาม

ก็แสดงว่าแม้แต่ฝรั่งด้วยกันเอง ยังรู้สึกว่ามันเป็นภาษาที่ยากกกกกก
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/07/2008
ทว่าผมเองก็ชอบอ่านงาน "ภาคสนาม" นี่อยู่เหมือนกันครับ กลุ่มภาคสนามนี้ก็อาจมีทั้ง "ตัวจริง" และ "หางเครื่อง" ได้เช่นกัน ลีนน์ แกล็บฮอร์นนั้น ถึงที่สุดแล้วผมก็ว่าอยู่ในกลุ่มภาคสนามนี้ด้วยเช่นกัน แต่เธอเป็นพวกภาคสนาม "ตัวจริง"

การศึกษางานของพวกภาคสนาม ก็เป็นประโยชน์ไม่น้อย อาทิเช่น

(1) ทำให้เราได้เทคนิควิธีปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมขึ้น สามารถนำมาใช้ได้เลย เพราะบางทีการรู้แต่หลักการ ก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่าแล้วไง แล้วจะให้ไปไหนต่อ
(2) ทำให้เราสามารถตรวจสอบตัวเองได้ว่าเราแม่นยำในหลักการนั้นๆ หรือไม่ เราเข้าใจในหลักการนั้นๆ ลึกซึ้งจริงแค่ไหน งานภาคสนามอาจช่วยทำให้เราเข้าใจได้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ถ้ามันทำให้เราสับสน (เพราะเราก็ไม่ค่อยแม่นในหลักการ) ก็จะทำให้เราดิ้นรนขนขวายกลับไปค้นคว้าเพื่อหาคำตอบเพื่อมาสนับสนุนหรือหักล้างได้ในที่สุด

นอกจากนี้ ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า หนังสือบางเล่มจากผู้เขียนบางท่าน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขาย การบริการ การบริหาร การจัดการ ฯลฯ นั้น บางครั้งอ่านแล้วสามารถค้นพบสัจธรรมความจริงทางด้านจิตวิญญาณ ได้มากกว่าหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องจิตวิญญาณล้วนๆ เสียด้วยซ้ำไป

ถ้าไม่กลัวเปลืองสตางค์ งานของ Joe Vitale หรือแม้แต่บัณฑิต อึ้งรังษี ก็ยังถือว่ามีประโยชน์ตามสมควรครับ ใครจะหาว่า "เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง เกลียดของแพงชอบของฟรี" (ฮา) ก็ไม่มีอันใดต้องไปใส่ใจครับ
ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 29/07/2008
ขอบคุณค่ะอาจารย์
ปัญหาจริงๆ....น่าจะเป็นเรื่องเวลา...ที่จะอ่านให้ทันการซื้อมากกว่าค่ะ
ยั่งของ Tolleทั้งคุณนันท์และอาจารย์ แนะนำตั้งหลายรอบ มาดูที่ซื้อไว้ 4เล่ม ทั้งฉบับเต็มฉบับย่อ และอีก2เล่มคือ เสียงแห่งความสงบ, โลกใบใหม่(เล่มหลังสำนักพิมพ์ดีเอ็มจี 3เล่มแรกสำนักพิมพ์ต้นไม้) 4เล่ม อ่านเสียงแห่งความสงบไปเพียงเล่มเดียว...เพราะบางสุด....นี่ก็ซื้อมาจะครบ 3ปีแล้วน่ะ

ซื้องานเขียนของท่าน ติช นัท ฮันท์ และพระ ไพศาล วิสาโลไว้เกือบครบชุด ยังไม่ได้แตะเลยค่ะ

กลุ่มงานเขียนภาคสนามถ้ามีคนอ่าน(ตามจริตที่เค้าชอบ) แล้วสรุปให้ฟังก็จะดีมากๆๆๆๆ..อิอิ
ถ้าจะให้อ่านเองมีความรู้สึกว่า อัตตาของต้วเองเนี่ยะต้องการ การพึ่งพาขัดเกลา...อ่านแนวนี้น่าจะเอาตัวเองไม่รอด
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 29/07/2008
เรื่อง "อ่านไม่ทันการซื้อ" เป็นข้อขัดข้องร่วมกันในหมู่ผู้หิวกระหายความรู้ ซึ่งรวมทั้งผมด้วยครับ นี่คือเหตุผลว่าทำไมความสามารถในการอ่านหนังสือหนักๆ ภาคภาษาอังกฤษของผมจึงได้ถดถอยลงไปทุกวัน (เรื่องโทษสิ่งอื่นนอกตัวนี่ผมก็ถนัดนัก..ฮา) ตอนนี้ทนอ่านได้แค่พวกหนังสือพิมพ์หรือแมกกาซีน ซึ่งแค่อ่านเก็บใจความสำคัญๆ เท่านั้นก็ใช้ได้แล้ว

ถ้างั้นเอาอย่างนี้ดีไหมครับ เลือกอ่านเฉพาะงานที่เป็น "ชิ้นโบว์แดง" (Masterpiece) จริงๆ ของผู้รู้ท่านนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเราอาจต้องอ่านเพียงเล่มเดียวก็พอ งานอื่นๆ เอาไว้มีเวลาซึ่งเราไม่มีวันมีพอ (ฮา) แล้วค่อยตามมาเก็บ

อย่างกรณีงานเขียนของ Eckhart Tolle นั้น กัดฟันอ่าน "The Power of Now" ให้ได้ (ต้องใช้คำว่า "กัดฟัน" เพราะผมเอง อ่านไปก็แทบถอดใจ ร่ำๆ จะเลิกอ่านอยู่หลายที คนอื่นอาจไม่มีปัญหาแบบผม แต่ผมรู้สึกต้องใช้สมาธิเยอะมาก ต้องใช้ความอดทนมากกว่าจะอ่านได้จบเล่ม แต่ผมรับรองว่ามันคุ้มค่ากับความเหนื่อยยากในการอ่านจริงๆ ครับ) อ่านเล่มนี้ของเขาแล้ว แม้ไม่ได้อ่านเล่มอื่นก็ไม่เสียใจอะไรเลย

งานของท่านติช นัท ฮันท์ นั้น ไม่ทราบว่าคุณ "แฟนพันธุ์แท้" มีเรื่อง "The Miracle of Being Awake" (หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า "ปาฏิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ") ของท่านอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ามี อ่านเล่มนี้ก่อนเพื่อนเลย ผมคิดว่านี่เป็นงานชิ้นเอกที่สุดของท่าน ถ้าคุณได้อ่านแล้ว ก็แทบไม่ต้องเสียใจเลยที่ยังไม่ได้อ่านงานเล่มอื่นของท่าน

สองเล่มนี้มีประเด็นหลักเหมือนกัน คือ เน้นให้เรามีสติอยู่กับ "ปัจจุบันขณะ" แต่งานของ Tolle ละเอียด ลึกซึ้งมากกว่าสักหน่อย

อย่ากังวลเลยนะครับกับการ "อ่านไม่ทันการซื้อ" ผู้รู้ท่านหนึ่ง ยังเคยพูดเอาไว้ว่า "จงซื้อหนังสือที่เราชอบ แม้ว่าเราจะไม่ได้อ่านมันเลยก็ตาม"

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 29/07/2008
ประโยคสุดท้ายนี่คุ้นๆ ความหมายน่าจะคล้ายๆ บทกวี แสนโปรดของเจ้าของเวปนี้นะคะ
จดหมายที่ไม่ได้เปิดซอง....เอ้ย!..ไม่ได้รับการอ่านเนี่ย ถูกคัดลอกอยู่ในนี้ 2ครั้ง
อ่านครั้งแรก....คิดว่าตัวเองมีความเข้าใจอยู่ประมาณ 1%
อ่านรอบ 2 หลัง พูดเรื่อง .......ความสามารถในการมองเห็นความ มหัศจรรย์รอบๆตัว.........คิดว่าเข้าอยู่ที่ 70-80%
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 30/07/2008
จริงหรือเปล่าครับ ผมจำไม่ได้ว่าเคยคัดลอกมาถึง 2 ครั้ง อาจจะเป็นการยืนยันว่าจิตใต้สำนึกของผมชอบมันจริงๆ ..

ผมถูกจัดอยู่ในหมวดเดียวกับที่ท่านอาจารย์ได้แนะนำ คือมีเฉพาะที่โปรดปราน และอ่านอยู่ไม่กี่ชิ้นงานหรือกี่เล่ม อาจจะมองว่าแคบได้เหมือนกัน เพราะผมเลือกเฉพาะที่คิดว่าโดนใจจริงๆ เป็นหลัก เนื่องจากธรรมชาติในการอ่านของผมนั้นเป็นคนอ่านหนังสือช้าๆ ชอบอ่านแบบมีสมาธิเพื่อหยั่งถึงความคิดหรือสภาวะของผู้เขียน จึงต้องใช้เวลาพอสมควร

งานของ Eckhart Tolle ผมก็พึ่งเลือกอ่านแค่ 2 เล่มคือ "The Power of Now" ซึ่งเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ว่าเป็นเล่มที่ควรค่าแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง และต้องใช้สมาธิต่อเนื่องยาวนานพอสมควร กับอีกเล่มที่เป็นฉบับย่อเพื่อปฏิบัติ คือ "Practicing the Power of Now : การฝึกปฏิบัติพลังแห่งจิตปัจจุบัน" ซึ่งผมมักหยิบมาพลิกอ่านเสมอๆ เนื่องจากย่อกระทัดรัดดี

ส่วน "ปาฏิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" นี่คือ เล่มแรกสุด ที่ผมอ่านงานของท่านติช นัท ฮันท์ ตั้งแต่สมัยยังเป็นหนุ่มอ่อนๆ เลยละครับ ถือว่าได้ทำตามคำแนะนำของท่านอาจารย์ไปโดยไม่รู้ตัว และพิสูจน์ทราบแล้วด้วยเช่นกันว่า แม้ไม่ได้อ่านเล่มอื่นๆ ของท่านติช ก็ไม่ต้องเสียดายเพราะเพียงพอแล้ว

นอกจากนี้ผมยังเป็นโรคที่ท่านอาจารย์บอกว่า "จงซื้อหนังสือที่เราชอบ แม้ว่าเราจะไม่ได้อ่านมันเลยก็ตาม" แถมมีอาการข้างเคียงด้วยว่า ถ้ายิ่งเป็นเล่มที่ชอบ เห็นทีไรต้องพยายามตัดใจไม่ให้ซื้ออีก ไม่รู้ว่ามีใครมีอาการอย่างผมบ้างหรือเปล่า
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 30/07/2008
หลักฐานมีอยู่ในกระทู้ "เหมาะกับคุณนันท์มาก" กับ "กฎแห่งความพยายามให้น้อยที่สุด" ค่ะ
ที่จริงบอกเข้าใจครั้งแรก 1%น่ะ มันปัดเศษมาจาก 0.00001%....ความหมายเกือบไม่เข้าใจอะไรเลย

ตอบแบบรักษาน้ำใจน่ะ!

พอดีว่าคนที่เขียนให้....มีประวัติขี้ใจน้อยนิ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 30/07/2008
ยอมจำนนต่อหลักฐานครับ เฮ้อ.. สงสัยผมจะอายุมากแล้วจริงๆ
แล้วอันนี้เคยหรือยังครับ ความหมายเดียวกัน
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ช่างบริสุทธ์ และสดชื่น
ดอกไม้ที่ประดับด้วยหยาดน้ำค้าง
ช่างไพเราะเสนาะใส
บทเพลงของหมู่วิหค
เมฆขาวสงบ ธารน้ำส่องประกายสีคราม
ใครเลยที่อาจขีดเขียน
ด้วยถ้อยคำที่แท้ อันปราศจากอักษร

ขุนเขาสูงตระหง่าน แมกไม้เขียวขจี
หุบเหวล้ำลึก ธารน้ำสะอาดใส
สายลมบางเบา ดวงจันทร์สวยล้ำ
อย่างสงบงัน ข้าพเจ้าอ่าน
ถ้อยคำที่แท้ ซึ่งไร้อักษร

คัมภีร์ไร้อักษร
เชนไค ชิบายะ
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

คัดลอกมาจากหนังสือ "เซน" ชื่อ
"ดอกไม้ไม่จำนรรจ์ ( A Flower Does Not Talk )"
เขียนโดย เซนไค ชิบายามะ
เป็นอีกหนึ่งในดวงใจของผมครับ
ฉบับที่ผมมีเก่ามาก แต่ลองค้นดูทราบว่ายังมีพิมพ์อยู่โดย
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
หากว่าสนใจ "เซน" อยากแนะนำเล่มนี้ เล่มเดียวก็น่าจะพอครับ

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 31/07/2008
ตัวเองน่าจะอยู่ในกลุ่มคนค่อนข้างมืดบอดในบทกวีค่ะ
ต้องเจอกับเหตุการณ์อะไรบางอย่าง...แล้วกลับมาอ่านอีกที่ ถึงจะสัมผัสได้ใกล้ๆเรื่องราว ที่ผู้เขียนเค้าอยากจะสื่อออกมา นะค่ะ

หยั่งบทนี้คุณนันท์บอก..ความหมายเดียวกัน..ยังไม่สามารถมองได้มุมเดียวกันเลยค่ะ

อ่านแล้วทำให้นึกถึง...บ้านดิน..รีสอธ์ทสวยงาม..น้ำตก..ไปโน่นเลย
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 01/08/2008
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

"เมื่อราตรีสงัดเข้า และดวงดาว .. ค่อยปรากฏขึ้นทีละดวง
ฉันจะกางมันบนหน้าตัก .. และนิ่งเงียบ
ใบไม้ที่เสียดสีกันอยู่ .. จะอ่านให้ฉันฟังดัง ๆ
ธารน้ำไหล .. จะร้องเป็นทำนองสวด
และดาวฤกษ์ทั้งเจ็ด .. จะร้องเพลงจากฟากฟ้า
อย่างสงบงัน .. ข้าพเจ้าอ่าน
ถ้อยคำที่แท้ .. ซึ่งไร้อักษร"
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

"ความหมายเดียวกัน" หรือยังครับ
ความจริงผมต้องใช้คำว่า "หมายความถึงสิ่งเดียว(กัน)"
จึงจะตรงเป้ามากกว่า ครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 01/08/2008
แม้จะผ่านเวลามายาวนาน .. เมื่อได้มาแอบอ่านก็ได้รู้แจ้งว่ามีผู้รู้เกี่ยวกับหนังสืออยู่ ณ ที่แห่งนี้
บทสนทนาและข้อคิดเห็ฯของ อ.วสันต์ ราวกับจอมยุทธ์กระบี่ไร้เทียม...ฟันขาด ชัวะชัวะ
โดยเฉพาะข้อความที่ว่า "จะดูว่าเขาเป็นอย่างไร ดูเพื่อนของเขาก็พอจะรู้"...หือ โดนใจที่สุดของที่สุดค่ะ อิอิ
ชื่อผู้ตอบ : ปุ้ย ตอบเมื่อ : 27/09/2010
อยากติดต่อ คุณ พรรณี ชูจิรวงศ์ นะครับ
จะปรึกษาเกี่ยวกับงานแปลนะครับ ต้องการให้ท่านแปลหนังสือ ให้
ไม่ทราบท่านใดพอมีช่องทางในการประสานงานหรือติดต่อกับคุณพรรณีบ้างไหมครับ ติดต่อได้ที่เบอร์ 0848675015 นะครับ หรือคุณพรรณีแวะเข้ามาเอง ก็ฝากด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ชื่อผู้ตอบ : Kittisak ตอบเมื่อ : 25/08/2012


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code