รวบรวม
ปิ๊งกับประโยค

ห่วงโซ่ของการดึงดูดเรื่องราวลบๆ
สถานการณ์ร่วมสร้างที่น่าเศร้า

และต้องการเปลี่ยนเป็น

ห่วงโซ่ของการดึงดูดเรื่องราวดีๆ
สถานการณ์ร่วมสร้างที่แสนสุข

แฟนพันธ์แท้ได้พูดคุยกับพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องสาวของตัวเอง
ที่มีลูกสาว/ลูกชาย และมีความพร้อมที่จะ"ทดลอง" เรื่อง
การคิดบวก ได้ copy เรื่องราวในหนังสือ "คิกบวก" ของ
นอร์แมน วีลเซนต์ พิว ให้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ คุณลูก ให้อ่านกัน
เวลาผ่านไป 2สัปดาห์ มีเรื่องราวที่น่าพอใจ
ที่น่าจะส่งผลให้เกิด...
ห่วงโซ่ของการดึงดูดเรื่องราวดีๆ ค่ะ


และเนื่องจากสถานที่ตรงนี้ เข้าใจว่าทำขึ้นมาเพื่อรองรับผู้คน
ที่อ่านหนังสือ 7กฏฯ แล้วเกิด..ห่วงโซ่ของการดึงดูดเรื่องราวดีๆ
หลังปฏิบัติตามกฏฯ ต่างๆ
แฟนพันธ์แท้ยอมเป็นหน้าม้า...มาก็หลายปี
แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใคร ออกมาบริจาคประสบการณ์กันแบบ...ซักที

มีเหตุให้ไปอ่านเจอเรื่องนี้มาค่ะ

pawpiang.com
ขอบคุณโลกใบนี้ที่มีหนังสือดี ๆ ให้อ่านมากมาย
7 กฎด้านจิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จ (The Seven Spiritual Laws of Success)
มิถุนายน 16th, 2010
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดเรา ย่อมส่งผลต่อชีวิตของเรา
มีหนังสือเล่มหนึ่งที่อิทธิพลต่อความคิด และส่งผลต่อชีวิตผม (อย่างมาก) คือหนังสือที่ชื่อว่า
7 กฎด้านจิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จ ดีพัค โชปรา
เขียน นันท์ วิทยดำรง แปล สำนักพิมพ์นันท์บุ๊ค

ที่ว่าหนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อความคิดและส่งผลต่อชีวิตนั่น
ก็คือ มันเปลี่ยนการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำเร็จ
ของผม ถึงขนาดที่ว่าต้องเปลี่ยน “คำนิยาม” คำว่า “ความสำเร็จ” ใหม่ไปเลย

ขอยกข้อความจากหนังสือ 7 กฎฯ ตรงคำนิยามความสำเร็จใน
บทคำนำที่ว่านั้น
“…องค์ประกอบของความสำเร็จนั้นมีหลายด้าน ความมั่งคั่ง
ทางวัตถุเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญ
ความสำเร็จ คือ วิถีแห่งการเดินทาง มันไม่ใช่จุดหมาย
ปลายทาง ประโยชน์ของการปรากฏมีขึ้นของความมั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ทางวัตถุ เป็นหนึ่งในหลาย ๆ องค์ประกอบ ที่ช่วย
ทำให้วิถีแห่งการเดินทางนั้นมีความสนุกสนานเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ความสำเร็จ ยังหมายรวมถึง การมีสุขภาพที่ดี
การเต็มไปด้วยพลังและความกระตือรือร้นในชีวิต การมี
สัมพันธภาพที่สมบูรณ์ การมีอิสระในการสรรค์สร้างสิ่งต่าง ๆ
การมีความมั่งคงทางอารมณ์และทางจิต การมีความรู้สึกที่ดี
และการความสงบสุขภายในใจ…”
ตอนที่ผมได้อ่านนิยามความสำเร็จข้างต้น ผมถึงกับ
อึ้งไปเลย

โห… ที่ผ่านมาเราวิ่งไล่ไขว่คว้าเป้าหมายมาโดยตลอด

เราไม่เคยใส่ใจสนใจระหว่างการเดินทางของเราเลย เราพลาด
ไปจริง ๆ แต่ก็ถือว่าตัวเองโชคดีที่มาเจอหนังสือเล่มนี้ ทำให้ไม่ต้องพลาดไปมากกว่านี้ ก็นึกอยู่เหมือนกันนะ หนังสือดี ๆ มีคุณค่า
ยิ่งแบบนี้ ทำไมเราเพิ่งได้มาอ่าน ไปอยู่ที่ไหนมานะเราเนี่ย
กฎแต่ละข้อมีอิทธิพลต่อความคิด และส่งผลต่อชีวิต
ของผมจริงๆ ต่อไปผมจะมาเล่าให้ฟังไปเป็นข้อ ๆ แบบว่าชี้ชัดกันไปเลย



The Four Agreements ข้อตกลงสี่ประการ การฝึกปฏิบัติเพื่อชีวิตอิสระ
มิถุนายน 15th, 2010
The Four Agreements ข้อตกลงสี่ประการ การฝึกปฏิบัติเพื่อชีวิตอิสระ

ผมเกือบจะพลาดหนังสือดีๆ เล่มนี้ไป เพราะการตัดสินล่วงหน้าของตัวเอง

ทีแรกที่เห็นหนังสือเล่มนี้ และเปิดอ่านคร่าว ๆ แล้ว รู้สึกว่าเนื้อหานั้น ธรรมดามาก ๆ
นี่แหละครับที่เป็นความผิดพลาดจากการตัดสินไว้ก่อน

แต่ก็ไม่รู้มีอะไรมาดลจิตดลใจให้กลับไปอ่านอีกครั้ง (อ่านค่อนข้างละเอียด) เมื่อได้ไปร้านหนังสือร้านประจำ
และในที่สุดก็ได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ในความธรรมดาและความเรียบง่ายนั้นแฝงความลึกซึ้งเอาไว้ เรียกว่า “โดน” เข้าอย่างแรง
จนต้องบอกกับตัวเองว่า “ไม่ซื้อไม่ได้แล้ว”

ข้อตกลงสี่ประการ The Four Agreements เขียนโดย ดอน มิคเวล รูอิซ
แปลโดย ดร.วรัญญา สะอาดเอี่ยม ริเท็นนิส สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์
หนังสือเล่มเล็ก ๆ นี้ บอกเล่าข้อตกลงสี่ประการ ได้แก่........


ชื่อผู้ส่ง : แฟนพันธ์แท้ ถามเมื่อ : 14/04/2011
 


ขอบคุณครับ .. ตามไปอ่านในเว็บไซด์ pawpiang.com แต่เข้าไม่ได้ ไม่ทราบว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไรเหรอครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 15/04/2011
อ่านเจอโดยบังเอิญ
ชอบมุมมองของเค้าเลย Copy เก็บไว้ นานซักพักใหญ่ๆ แล้วค่ะ
พอเข้าไปดูอีกที ก้อเข้าไม่ได้เหมือนกัน
อยากติดตามมุมมอง....ในกฏอื่นๆของเค้าอยู่นะ

มีอยู่แค่นี้ค่ะ...


กฎแห่งศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน (The Law of Pure Potentiality)
มิถุนายน 27th, 2010
ตอนที่แล้ว ผมได้เล่าว่า มีหนังสือที่เปลี่ยนความคิดของ
ตัวเองเกี่ยวกับความสำเร็จ ชื่อหนังสือ ” 7 กฎด้านจิตวิญญาณ
เพื่อความสำเร็จ (ทั้งทางโลกและทางธรรม)” และก็บอกว่าจะ
มาเล่าประสบการณ์และความคิดเห็น เกี่ยวกับกฎทั้ง 7 ข้อ
โดยเรียงไปทีละข้อเลย
ก่อนอื่นขออธิบายเรื่องกฎก่อนนะครับ ความเข้าใจของผม
“กฎ” คือ ความแน่นอนและเป็นจริงเสมอ เช่น ถ้าเราทำอะไร
ตามกฎ เราก็สามารถคาดการณ์ได้เลยว่า ผลที่ออกมามันจะ
เป็นไปตามกฎที่ว่าไว้ มันแน่นอนและเป็นจริงไปตามนั้น
กฎข้อแรกนี้ ตามหนังสือ 7 กฎฯ ชื่อว่า
“กฎแห่งศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน (The Law of Pure Potentiality)”
กฎข้อนี้ บอกว่า เราคือสภาวะจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ ซึ่งสภาวะจิต
อันบริสุทธิ์นี้ เป็นศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่เร้นอยู่ภายใน
(น่าจะหมายถึง ภายในตัวเราเอง ตามความคิดของผม) ซึ่ง
เป็นที่ที่อะไรก็เป็นไปได้ ไม่สิ้นสุด ไม่มีข้อจำกัด เราจะ
เข้าถึงสภาวะนี้ได้ ก็ต่อเมื่อเรามีความตระหนักรู้
เมื่อเราเข้าถึงสภาวะจิตสำนึกอันบริสุทธิ์นี้ได้ เราก็สามารถ
ทำความฝันของเราให้เป็นจริง ๆ (ความสุข ความสำเร็จ ที่แท้จริงแบบยั้งยืน)
วิธีการนำกฎข้อนี้ไปใช้ (การเข้าถึงสภาวะจิตสำนึกอันบริสุทธิ์)
มี 3 วิธีคือ
1. การอยู่ในสภาวะการเงียบที่แท้
2. การสัมผัสกับธรรมชาติและมีความสุขกับธรรมชาติอย่างแท้จริง
3. การไม่ตัดสินอะไร
กฎข้อนี้ บอกให้เรากลับเข้าสู่ภายใน ตัวตนที่แท้ของเรา
โดยไม่ยึดมั่นกับสิ่งภายนอก (วัตถุ สิ่งของ ผู้คน ชื่อเสียง ฯลฯ) ผมเห็นว่าจริงครับจากประสบการณ์ เพราะถ้าเรายึดติดหรือ
แสวงหาแต่สิ่งภายนอก มันจะไม่เป็นตัวของตัวเอง มันจะ
ไม่มีความสุขที่แท้จริงครับ
ในหนังสือบอกว่า
“….สิ่งที่ตรงกันข้ามกับการดำรงอยู่ด้วยสภาวะแห่งตัวตนที่แท้
คือ การดำรงอยู่โดยมุ่งยึดถือในวัตถุภายนอกเป็นหลัก ซึ่งใน
การดำรงอยู่โดยมุ่งยึดถือในวัตถุนั้น จะทำให้เราถูกครอบงำ
โดยสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ผู้คน และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว”
เมื่อเราแสวงหาสิ่งภายนอก เราก็ต้องแสวงหาการยอมรับจาก
คนอื่นด้วย ซึ่งมันก็เหนื่อยนะครับ เพราะเราต้องแสวงหามัน
อยู่เรื่อยไป แล้วมันก็ไม่ได้ดังใจเราด้วย เพราะมันมีทั้งคนที่
ยอมรับและไม่ยอมรับ ถ้ามีคนยอมรับเราก็จะรู้สึกดี ถ้าคน ๆ นั้น
ไม่ยอมรับ เราก็จะรู้สึกไม่ดี มันทำให้เราอยู่ด้วยความกลัว
ที่สำคัญมันทำให้เราต้องการควบคุมบงการสิ่งต่าง ๆ ให้
เป็นไปตามที่เราต้องการอีกด้วย ซึ่งมันผิดหลักความเป็นจริงเอามากๆ
“นอกจากนี้ การดำรงอยู่โดยมุ่งยึดถือวัตถุภายนอก ยังจะทำให้
เรามีความรู้สึกต้องการอย่างแรงกล้าที่จะควบคุมสิ่งต่าง ๆ และ
มีความรู้สึกต้องการที่จะได้พลังอำนาจจากภายนอก
ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับ ความต้องการที่จะควบคุม
สิ่งต่าง ๆ และความต้องการต่อพลังอำนาจจากภายนอก
เหล่านี้ คือ ความต้องการที่ล้วนมีพื้นฐานมาจากความกลัวทั้งสิ้น”
ความกลัวนี้แหละครับ เป็นอารมณ์ที่มีอิทธิพล
(หรืออาจจะเรียกว่ามีอำนาจ) ต่อชีวิตเรามาก ๆ
การมีชีวิตอยู่กับความกลัวนั้น มันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ดี ๆ นี่เอง
มันเป็นอารมณ์ลบที่จะทำลายชีวิตเราทุกด้านเลยก็ว่าได้
ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ผมเพิ่งได้รู้ คือ เรื่องอัตตา
ว่าการที่เรายึดติดกับวัตถุ มันเป็นการอ้างอิงจากภายนอก ซึ่งก็คือ อัตตา นั่นเอง และเจ้าอัตตานี่แหละที่สร้างทุกข์ให้กับเรา
เพราะสิ่งภายในนอกมันควบคุมไม่ได้ แต่อัตตามันต้องการ
ควบคุมบงการ มันต้องการการยอมรับจากผู้อื่น มันใช้พลังจาก
ภายนอก เพราะมันมีชีวิตอยู่ภายใต้ความกลัว
กฎข้อนี้จะไปเกี่ยวข้องกับกฎข้อที่ 5 คือ กฎแห่งความ
มุ่งมั่นและความปรารถนา (the Law of Intention and Desire) ซึ่งจะบอกว่าเราจะเอาความมุ่งมันและความปรารถนาไปใส่
ในศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่เร้นอยู่ภายใน เพื่อทำให้ความมุ่งมั่น
และปรารถนาของเราเป็นจริงอย่างเป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างเปรียบเทียบอันหนึ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมาก
การที่นำเอาความมุ่งมั่นและปรารถนาของเราเข้าไปใน
ศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่เร้นอยู่ภายใน จะต้องมีความสงบนิ่ง
เปรียบเทียบ ตอนที่เราโยนก้อนหินก้อนหนึ่งลงไปในสระน้ำที่
สงบนิ่ง แล้วดูระลอกคลื่นที่เกิดขึ้น (สระน้ำสามารถรับรู้ถึง
ก้อนหิน (เล็ก ๆ) จนเกิดระลอกคลื่นแผ่ออกไปเป็นวงกว้าง)
รอสักครู่ให้คลื่นหมดไป แล้วโยนก้อนหินก้อนใหม่ลงไป เ
ราสามารถสังเกตุเห็นระลอกคลื่นได้ แต่ถ้าเกิดเราไม่มีความ
สงบนิ่งล่ะ มันก็เหมือนกับทะเลที่มีคลื่นลมบ้าคลั่ง ต่อให้
โยนตึกเอ็มไพร์สเตทลงไป ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทะเลที่บ้าคลั่ง
ไม่สามารถรับรู้ได้ถึงตึกเอ็มไพร์สเตทที่โยนลงไปได้ และเราก็
ไม่เห็นคลื่นที่เกิดจากการโยนตึกลงไปได้เช่นกัน
เล่ามาตั้งนาน ลืมบอกไป ผู้แปลหนังสือเล่มนี้ ได้จัดทำเว็บ
ซึ่งมีเนื้อหาของหนังสือ 7 กฎฯ ทั้งหมด และยังมีพื้นที่สำหรับ
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย สามารถเข้าไปดูเข้าไปชมได้ที่ www.nantbook.com ครับ


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 16/04/2011
และเนื่องจากตัวเราเป็นแฟนพันธ์แท้ของ เวย์น ไดเออร์ ด้วย
และเห็นว่าทั้ง 2กูรู เค้าเขียน เกือบเหมือนกันแบบ "เป๊ะ!"
เพียงแค่ว่าโชปรา เขียนได้กระชับ กว่า

แต่บางเรื่องราว การขยายความมากขึ้นของ เวย์น ไดเออร์
ก็ช่วยทำให้เห็นรายละเอียดที่จะเชื่อมโยงการปฏิบัติมากขึ้น

ดังเช่นข้อความนี้ค่ะ

ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมากๆ โดยเฉพาะในแนวธรรม และการพัฒนาตนเอง

จริงๆแล้วอยากแนะนำหลายๆเล่นมที่คิดว่าดี แต่ขอแนะนำหนังสือนี้ก่อนครับ

เป็นของนักเขียนชื่อ Wayne .W. Dyer
ชื่อ The Real Magic
และ The Power of Intention

เนื้อหาโดยรวมของหนังสือ จะเน้นถึงการตระหนักถึง
จิตวิญญาณอันสูงส่งของเรา ที่มีเจตนารมณ์ในการกระทำ
ภารกิจต่างๆในฃีวิตนี้ โดยผ่านรูปกายและจิตสำนึกของเรา
แต่เราหลงลืมไปถึงเจตนารมณ์ของตนเอง และไปยึดติด
อัตตา เราจึงใฃ้ชีวิตเพื่อสนองอัตตาตนเอง เช่น ต้องการ
ร่ำรวยด้วยการหาประโบชน์จากคนอื่น และแยกตนเอง
ออกจากสรรพสิ่ง เราจึงรู้สึกหวาดกลัว และกังวลกับสิ่งที่เราดำเนินชีวิต

นักเขียนเขาอธิบายว่า เหมือน เราเป็น จุด A และ สิ่งที่เรา
ปรารถนาต่างๆเป้น B ,C , D ไปเรื่อยๆ เมื่ออัตตาเราจะแยก
เราออกจากสิ่งอื่น เราจึงต้องการสิ่งต่างๆด้วยการวิ่งเข้าหา
B , C ,D เราจึงต้องเหน็ดเหนื่อย เช่น เราอยากทำธุรกิจ
เราต้องวิ่งหาคน หาเงินทุน ซึ่งก็คือ B ,C , D และกว่าที่เรา
จะสำเร็จแต่ละอย่างต้องเสียเวลากับชีวิตไปมาก เพราะเรา
แยกส่วน ระหว่าง เราผู้กระทำ การกระทำ และ สิ่งที่ถูกกระทำ
แต่ถ้าเราเข้าถึง เจตนารมณ์ของจิตวิญญาณ จะ ไม่มี
A, B ,C เพราะทุกอย่างมีอยู่ในเราแล้ว ทั้งผู้คน เงินทุน
เราเพียงแค่รักษาอารมณ์ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์นี้ด้วย
ความเชื่อมั่นแล้วจินตนาการว่าสิ่งที่เราปารถนาได้เกิดขึ้น
กับเราแล้ว แล้วปล่อยภาระต่างๆให้เเป็นหน้าที่ของจักรวาล
จะจัดสรรมาให้เราเอง เพราะจิตวิญญาณเป็นสากล
จะปรับคลื่นความถี่ระดับสูงเพื่อน้อมนำคลื่นความคิดสิ่งต่างๆ
ที่เราต้องการมาให้เอง เราไม่ต้องวิ่งหาตามมิติของกาลเวลาทางวัตถุเลย

เพื่อนๆลองหามาอ่านดูนะครับ แล้วจะทึ่งสุดๆ


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 16/04/2011
อีกเรื่องที่ทึ่งในความเหมือน(ปิ๊งเหมือนกัน) ในคุณคนนี้ค่ะ

..และยังมีบทอื่นอีกมากมาย เช่น ที่จำได้ก็ เราไม่ใด้มีชีวิตอยู่
เพื่อการคาดหวังของคนอื่นให้เราเป็นสิ่งที่เขาอยากให้เป็น
แต่เราเหมือนเป็นผู้อำนวยการสร้างหนัง ผู้กำกับ และ
นักแสดงนำที่เราสามารถเลือกบทละครต่างๆตามที่เราต้องการ
ให้เกิดขึ้นได้ตามปรารถนา แต่ความปรารถนานี้ ต้องเป็นไป
ตามคุณสมบัติของเจตนารมณ์ด้วยนะ ไม่ใช่ โลภ โกรธ หลง ของอัตตา
และ หน้าที่ของเราหลังจากเข้าถึง เจตนารมณ์นี้มี สองอย่าง
1 เราเพียงผู้เชื่อมโยงระหว่างเจนารมณ์ของเรา ผ่านทางเรา
ไปยัง คนทั้งหลาย ด้วยคุณสมบัติทั้ง 7 นี้ ดังนั้นจักรวาลจะจัด
การทุกอย่างให้เราเอง เราเพียงแค่ทำตามเจตนารมณ์ของ
จิตวิญญาณก้อพอ เหมือนเป็นเตรื่องรับส่งสัญญาณ และสิ่งต่างๆทั้ง 7 จะมาสู่ตัวเราเอง
2 งุนงงกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะทุกสิ่งจะไหลเข้ามาหาชัวิต
เราเองอย่างน่าประหลาด เพราะเราไม่ได้แยกตัวเองออกจาก
สรรพสิ่ง เราได้เชื่อมโยงด้วยความรักของเรา เจตนารมณ์ และ
คนอื่นไว้เป็นหนึ่งเดียว คลื่นความถี่สูงจะปรับให้ทุกอย่างไหล
ผ่านชีวิตเรา ซึ่งไม่ใช่อัตตา และความโลภของเราที่จะคอยกัก
เก็บเป็นของเราและแบ่งแยกเหมือนที่ผ่านมา


*เราเป็นเพียงผู้เชื่อมโยง....และ...งุนงงกับสิ่งที่เกิดขึ้น*

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 16/04/2011
:O) ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณ
ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 16/04/2011
เยี่ยมเลยครับ .. ไม่รู้ว่าเป็นใคร .. สงสัยเว็บจะปิดไปแล้ว .. น่าเสียดาย
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 17/04/2011
หนังสือเล่มเดียวกันคนอ่านจะจับประเด็นได้ไม่เหมือนกัน
ส่วนตัวได้เหมือนคำนำ "สิ่งที่ดีๆ จะเกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง
เข้ามาหาคุณ" แล้วมีมากพอจะไหลสู่ผู้อื่นด้วย
ต้องลองอ่านดูแล้วมาแบ่งปันกันนะคะ

WaaWow

ในมุมมองส่วนตัว เชื่อ และ ศรัทธา ในเรื่อง
การแชร์ และ การรวม(ที่ไม่มีแอบแฝงใดๆในส่วนที่เป็นอัตตา)

แม้ในเรื่องการทำสมาธิ ท่าน ติช นัท ฮันน์
ได้พูดไว้แบบยืนยัน(ในภาคสนาม)ว่า
การทำแบบเดี่ยว และ ทำรวมกันนั้น
ให้ผลลัพท์ที่เห็นเป็นรูปธรรมแบบสัมผัสได้(ณ บัดเดี๋ยวนั้น)
ต่างกัน.....มหาศาล!

เอาอีกแล้ว....Build สู่ สมาธิสลายภัย อีกแล้ววว!

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 17/04/2011
ดีวีดีทำมาจากหนังสือเบสต์ เซลเลอร์ที่เขียนโดยคนอินเดียชื่อว่า Deepak Chopra

ตะแรกคิดว่าจะเป็นหนังน่าเบื่อ ปรากฏว่า ดูเพลินและให้
ไอเดียเยอะพอควร

เมนไอเดียก็ประมาณว่า

การที่เราจะได้สิ่งที่เราหวังและอยากได้น่ะ ประกอบด้วย
ปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งความตั้งใจ การลงมือทำ และการฝึกฝน
แต่มีอยู่เจ็ดอย่างที่มีความสำคัญมากกับความสำเร็จในชีวิตของเรานั่นคือ

- Law of pure potentails

เค้าแนะนำให้ทำสมาธิ15 นาทีตอนเช้า และ 15 นาทีก่อนนอน
ทำจนเป็นสิ่งที่ต้องทำเหมือนกับล้างหน้าแปรงฟัน หัดเชื่อม
ความคิดกับธรรมชาติ ออกไปเดินอยู่ในสวน หรือทะเลจะทำให้
เราทำสมาธิได้ง่ายขึ้นและเกิดปัญญา

- Law of least effort
ปล่อยวางกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ยึดติดกับ..สิ่งที่ต้องเป็น..สิ่งที่
เกิดขึ้น แม้จะไม่ถูกใจเรา แต่มันต้องมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้
เกิดขึ้น เช่นคนส่วนใหญ่โกรธและอารมณ์เสียเพื่อเครื่องบิน
ดีเลย์ แต่ถ้าเราสามารถฝึกข้อนี้ได้ เราจะเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้น
มันมีกลไกในธรรมชาติที่ทำงานอยู่ให้เป็นเช่นนั้นเอง

เมื่อเกิดปัญหา อย่าโทษคนอื่นหรืออย่างอื่น ให้หยุดคิดและ
โทษตัวเองไว้ก่อน เดินออกมาจากปัญหา แล้วหยุดคิด
ปมจะเริ่มคลี่คลาย และเกิดปัญญาที่จะเเก้ปัญหานั้นๆอย่างง่ายๆ


- Law of Giving and Receiving

การให้และรับ เป็นเรื่องปกติ ยิ่งให้มาก ก็จะได้รับมาก เพราะการ
ให้และรับเป็นกฏธรรมชาติ

- Law of Intention and desire
เริ่มจากการอยู่กับตัวเองและความเงียบแล้วค้นหาให้เจอว่า
สิ่งที่คุณต้องการในชีวิตคืออะไร คนมักจะได้สิ่งที่ตัวเองมี
ความต้องการอย่างรุนแรงจากภายในเสมอ เพราะการ โฟกัสสิ่ง
ที่เราอยากได้มักก่อให้เกิดพลังที่รุนแรงที่จะทำให้เราได้สิ่งๆนั้น

- Law of detachment

เข้าใจความไม่แน่นอนและฝึกที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นอย่างมีสติและปัญญา ไม่ล็อคความคิดของตัวเองว่า
ต้องได้สิ่งที่เราคิดว่าเราจะได้เท่าน้น ไม่งั้นเราจะเสียใจ
อย่างมาก.....ความจะปล่อยให้ตัวเองคิดว่า เราจะทำให้ดีที่สุด
ถ้ามันไม่เกิดขึ้น ก็ปล่อยวาง แล้วลองใหม่อีกที

- Law of Karma ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราอย่างมีสติและ
วางเฉย ไม่โศกเศร้า หรือ โกรธ ฟูมฟาย เพราะมันคือสิ่งที่เรา
ได้รับ จากสิ่งที่เราเคยกระทำ
ทุกครั้งที่คุณตัดสินใจทำอะไร ถ้าข้างในใจเราบอกว่าไม่ชอบ
สิ่งที่กำลังอยู่เลย แสดงว่าสิ่งที่กำลังทำนั่นอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ผิด


- Law of Dharma
คือ หน้าที่ของเราในชีวิต

คือการฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ดีขึ้น มีปัญญาขึ้น ค้นหาสิ่งที่เรา
มีความสามารถทำได้ดี และใช้ความสามารถนั้นในการช่วยเหลือ
ผู้อื่น หรือ ช่วยสังคม



คุ้นๆมั้ยคะ ดูไปดูมา มันคือบางอย่างในพุทธศาสนาของเรา
นี่เอง เพียงแต่ฝรั่งไม่เคยได้มีไอเดียนี้มากนัก เลยตื่นเต้น
เพราะศาสนาของเค้าไม่ได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้ได้ลึกพอ
(แต่เค้ามีในไบเบิ้ลนะคะ เรื่องการให้ การรัก การรับ และอื่นๆ)




ถึงแม้เราจะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ในศาสนาของเรามา
ตั้งแต่เกิด บางครั้งบางหน เราก็ลืมๆมันไปเหมือนกัน

ให้คนอินตะระเดียมาย้ำเตือน ....ในดีวีดีก็มีการยกตัวอย่างที่
เข้าใจง่ายของชีวิตคนจริงๆมากมาย ทำให้เราหันกลับมามองตัวเองอีกซักที

ว่าสิ่งที่เราต้องการในชีวิตคืออะไร และจะทำยังไงถึงจะ
ประสพความสำเร็จถึงจุดนั้นได้ อย่างมีความสุข


.....คุณไม่ยอมลงชื่อ


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 17/04/2011
ใครที่ชอบใช้วิทยาศาสตร์ในการอธิบายเรื่องราวก่อนที่จะมีความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และสนใจธรรมะอย่างต่อเนื่องจะชอบเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อ
ไม่ให้เกิดความผิดหวังในการซื้อหนังสือเล่มนี้ซึ่งไม่ใช่หนังสือใหม่
ต้องสั่งซื้อผ่านร้านหนังสือ
หมอจึงได้สั่งหนังสือมาให้พวกเราได้ทดลองอ่านที่มุมสุนทรียสนทนา ของห้องสมุด จำนวน 2 เล่ม การจะเข้าใจ 7 กฎ ด้าน
จิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จ ในหนังสือเล่มนี้คงต้องอ่านเนื้อหาทุกหน้า อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น.......

สุนทรียสนทนา



ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 19/04/2011
สนทนาแนวธรรมะ
แนะนำหนังสือครับ เหมือน คำสอนศาสนาพุทธเลย

7 กฎด้านจิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จ (THE SEVEN SPIRITUAL LAWS OF SUCCESS)

หนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนกับ how to ทั่ว ๆ ไปที่บอกว่าต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ แล้วจะประสบความสำเร็จเห็นผล เสียทีเดียว หรือจะว่าเป็นหนังสือธรรมะ ก็ไม่เชิงอีกนั่นแหละ
แต่เสน่ห์ ของมันอยู่ที่ บันได เจ็ดขั้น มีความเกี่ยวข้องกับการค้นหา ความสุข และตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ที่ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด จึงจะได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนและมั่นคง

ก็คือ

1.The Law of Pure Potentiality หรือ กฎแห่งการเค้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
2. The Law of Giving กฎแห่งการให้
3. The Law of Karma or Cause and Effect คือ กฎแห่งกรรมหรือเหตุและผล
4. The Law of the Least Effort คือ กฎแห่งการพยายามให้น้อยที่สุด
5. The Law of Intention and Desire กฎแห่งความมุ่งมั่นและความปรารถนา
6. The Law of Detachment คือ กฎแห่งการปล่อยวาง
7. The Law of Dharma or Purpose in Life คือ กฎแห่งธรรมะ และเป้าหมายในชีวิต

ด้วย ความที่ผู้แต่งคือ Deepak Chopra มีเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน และเป็นผุ้ใฝ่รู้ทางด้านศาสนา พุทธ คริสต์หรือแม้กระทั่งฮินดู เขาจึงสามารถนำศาสตร์หลาย ๆ แขนง มาอธิบายได้อย่างน่าสนใจ

อ่านแล้วนึกถึงงานของ ทันตแพทย์ สม รุจิรา ที่มีกลิ่นอาย ของ กฤษณมูรติอยู่อย่างไรอย่างนั้น

หรือ หากจะเทียบกับ หนังสือเรื่อง Siete Poderes เจ็ดพลังอำนาจสู่ความสำเร็จ ของ นักเขียนชาวสเปน อย่าง Alex Rovira Celma แล้ว ก็มีความเหมือน และความต่างอยู่บ้างบางจุด

จากการตีความ โดยส่วนตัวของเรา จุดต่างที่น่าสนใจ ที่แนวคิดของ Deepak Chopra ต่างจากทั้ง Alex R. Celma และหนังสือ How To แบบตะวันตกเล่มอื่น ๆ ก็คงจะเป็นในข้อ 4 ที่ว่าด้วย "ความพยายามให้น้อยที่สุด"

ตอนแรก ที่เราอ่าน แล้วเราก็สงสัย ว่า ถ้าให้พยายามให้น้อยที่สุด แล้ว จะประสบผลสำเร็จได้อย่างไร

แต่ พออ่าน ไปหนึ่งรอบ จบ เท่าที่พยายามตีความก็เริ่มพอจะเข้าใจ เหมือนกับ Chopra กำลังจะบอกว่า ความพยายามนี้ ถ้าแสดงออกชัดเจนเกินไปอาจจะ มีผลเสียมากกว่าผลดี

และความพยายามให้ "น้อย" ที่สุดนี้ ไม่ได้หมายความว่า ไม่พยายาม เลย

แต่ ควรจะหลีกเลี่ยง ความตั้งใจจนเกินไป เพราะ มันจะขาด ความเป็นธรรมชาติ

เมื่อขาดความเป็นธรรมชาติ ยิ่งพยายาม มากเราก็ยิ่งสุ่มเสี่ยง กับการที่จะผิดหวังแล้วเจ็บมาก

หรือถึงแม้จะประสบความสำเร็จ ดังใจหวัง สิ่งที่ได้มา นั้นก็อาจจะไม่มั่นคงยั่งยืน เท่ากับ การพยายามให้น้อยที่สุด

มัน ก็คงจะคล้าย ๆ กับ สิ่งที่ Robert Greene ได้ระบุไว้ในหนังสือ The Art of Power ว่า หากเมื่อใด ที่เราแสดงให้ผู้อื่นเห็นถึงความพยายาม ของเรา จนมากเกินไป เมื่อนั้น เราจะกลายเป็นคนที่แลดู ไม่มี "อำนาจ" ในทันที
เอาเป็นว่าสติเท่านั้นที่ช่วยได้


กระดานสนทนา Managerroom.com

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 19/04/2011
ตรง สุนทรียสนทนา เอามาจากไหนเหรอครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 19/04/2011
อ่านเจอใน เนท เมื่อเดือนที่แล้วนี่เองนะคะ
อ่านแบบรีบๆ แต่ก็รู้ว่าหมอคนนี้เค้า expert เรื่องการสื่อสาร
แนวจิตวิญญาณ ก้อไว้วางใจจักรวาลว่า เว็บนี้น่าจะถาวร
(เหมือนๆ เป็นโรงพยาบาลชุมชน และมีกลุ่มคนที่เรียกได้ว่า"อภิจิต")
หรือสามารถกลับไปอ่านซ้ำได้อีก ก้อเลยไม่ได้ copy ไว้น่ะ
copy เฉพาะที่นำไปแซวใครๆ สั้นๆตามที่เห็นนั่นแหละค่ะ

กลับเข้าไปดูอีกทีก็หาไม่เจอ อีกแล้ววว


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 19/04/2011
"หัวใจสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือ การทำความเข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง ของความสำเร็จ โดยเฉพาะสิ่งที่
ดีพัค โชปรา ได้บอกว่า "ความมั่งคั่งทางวัตถุ เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญ ความสำเร็จคือวิถีแห่งการเดินทาง มันมิใช่จุดหมายปลายทาง ประโยชน์ของการปรากฏมีขึ้น ของความมั่งคั่งสมบูรณ์ทางวัตถุ เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ องค์ประกอบที่ช่วยทำให้วิถีแห่งการเดินทางนั้น มีความสนุกสนานเพิ่มขึ้น " และกฏด้านจิตวิญญาณทั้งเจ็ดข้อนี้ คือกระบวนการหรือขั้นตอนปฏิบัติ ที่จะทำให้เราอยู่บนวิถีแห่งการเดินทางนั้น
Views: 1277

http://www.wongnamcha.com/index.php?

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/04/2011
The Seven Spiritual Laws of Success
Posted on September 24, 2008 by admin
หนังสือประเภทนี้ อ่านชื่อแล้วเหมือนหนังสือ How-to ซึ่งจัดอยู่ในประเภทที่ฉันไม่ค่อยหยิบ ไม่ค่อยซื้อ เวลาที่ไปร้านหนังสือ เพราะฉันมีความรู้สึกว่า คนเราแต่ละคนมีความเฉพาะตัวที่ต่างกัน วิธีการ 1-2-3 ที่ทำแล้วเวิร์คของใครสักคน ไม่มีทางที่เราจะก้าวตามแบบวัดรอยเท้าแล้วเวิร์คได้ 100% เราต่างต้องหาหนทางของตัวเอง การศึกษาชีวิตคนอื่นก็เป็นไปเพื่อสอนใจมิใช่เพื่อทำตาม

น้องชายส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ “7 กฎด้านจิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม” แค่อ่านชื่อก็วางทิ้งไว้บนโต๊ะอย่างนั้นนานหลายสัปดาห์ แล้วก็คิดได้ว่ามันเป็นหนังสือส่งต่อ ต้องอ่านแล้วส่งต่อให้คนอื่น น้องชายส่งมาให้ทั้งทีคงมีอะไรดี เลยตั้งใจอ่านจนจบแล้วลงทะเบียนส่งต่อให้เพื่อนทางอินเทอร์เน็ต

ฉันพบว่า … อ่านยาก เข้าใจยาก และใช้เวลามาก … แต่คุ้มค่านะ

สำหรับฉันหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือ How-to อย่างที่คิดไว้ครั้งแรก แต่ควรจัดอยู่ในกลุ่ม หนังสือธรรมะเชิงวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายเรื่องทางโลกและทางธรรมได้อย่างสมเหตุสมผลอย่างที่เขาตั้งชื่อเรื่องไว้นั่นหละ

เนื่องจากต้องส่งหนังสือต่อ จึงอยากสรุปข้อคิดสะกิดใจไว้ตรงนี้

■ความนึกคิดและพฤติกรมของเรา มักเกิดจากความคาดหวังที่จะได้รับการตอบรับจากคนอื่น เพราะฉะนั้นมันจึงมีพื้นฐานมาจากความกลัว

■ความตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังการให้และการรับ คือ สิ่งที่สำคัญที่สุด จงเรียนรู้ที่จะตั้งจิตอวยพรให้คนอื่นๆ ได้รับแต่สิ่งที่ดีในชีวิต

■เรากำลังดำรงอยู่ในอาณาจักรแห่งความเป็นไปได้ในทุกๆ สิ่ง เราได้เข้าสู่การเลือกอันไม่มีที่สิ้นสุด มีเพียงหัวใจเท่านั้นที่รู้คำตอบที่ถูกต้อง จงเลือกอย่างมีสติ

■คุณสามารถที่จะมีความปรารถนาถึงสิ่งต่างๆ ในอนาคต ที่แตกต่างไปกว่าที่กำลังเป็นอยู่ได้ แต่ ณ ช่วงขณะเวลานี้ คุณจะต้องรู้สึกยอมรับสิ่งต่างๆ อย่างที่มันกำลังเป็นอยู่เสียก่อน

■ในทุกๆ ปัญหา ย่อมมีเมล็ดพันธุ์ของโอกาสประกอบอยู่ด้วยเสมอ

■ทุกสรรพสิ่งทั่วทั้งจักรวาล คือ สภาวะการเคลื่อนไหวของพลังงานและข้อมูล

■สิ่งใดก็ตามที่คุณต้องการมันพร้อมรอคุณอยู่แล้วในทุกๆ เมื่อ ที่คุณต้องการมัน เพียงแค่ประกาศความมุ่งมั่น

■ความมุ่งมั่นคือสิ่งที่เป็นอนาคต แต่ความสนใจคือสิ่งที่อยู่ในปัจจุบัน อะไรที่คุณสนใจ มันจะยิ่งเติบโตแข็งแรงมากขึ้นในชีวิตของคุณ อะไรก็ตามที่คุณไม่ให้ความสนใจ มันจะอ่อนกำลัง สลายตัว และหายไป (note: เพราะแบบนี้รึเปล่าความรักของเราถึงหายไป)

■อดีต คือ เรื่องราวในความทรงจำ / อนาคต คือ ความคาดหวัง / ปัจจุบัน คือ การตระหนักรู้ / เพราะฉะนั้น เวลา ก็คือ ความเคลื่อนไหวของความคิด ทั้งอดีตและอนาคต ล้วนเกิดจากภาพในความคิดหรือจินตนาการ มีเพียงปัจจุบันขณะซึ่งเป็นสภาวะแห่งการตระหนักรู้เท่านั้น ที่เป็นความจริงและไม่มีความสิ้นสุดอย่างแท้จริง

■คุณไม่จำเป็นต้องละทิ้งความมุ่งมั่น และคุณไม่จำเป็นต้องละความปรารถนาของคุณ คุณเพียงแต่ละทิ้งความยึดติดต่อผลของมันเท่านั้น

■ความยึดติดตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความกลัวและความรู้สึกไม่มั่นคง ทุกๆ สิ่ง เป็นเพียงแค่รูปสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ บ้าน เงินตรา เสื้อผ้า ฯลฯ ล้วนเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว มันผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านไป ก่อให้เกิดความทุกข์กังวล และผลสุดท้ายมันกลับทำให้เรารู้สึกกลวงไร้แก่นสาร

■ความรู้สึกมั่นคงที่ได้มาจากการแสวงหานั้น ไม่เคยเป็นสิ่งที่ยั่งยืนหรือถาวรเลย คนที่แสวงหาความรู้สึกมั่นคง จะวิ่งไล่ตามหาสิ่งนี้ตลอดทั้งชีวิต โดยไม่เคยได้พบมันจริงๆ เลย

■ความไม่แน่นอนคือพลังแห่งการสร้างสรรค์ ถ้าปราศจากความไม่แน่นอน ชีวิตก็จะเป็นแค่เหตุการณ์ที่ถูกทำให้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจากความทรงจำเก่าๆ คุณจะตกเป็นเหยื่อของอดีตอยู่ตลอดเวลา และผู้ี่กลับมาทำร้ายคุณในวันนี้ ก็คือ ตัวคุณที่มาจากเืมื่อวานนี้นั่นเอง

■เมื่อใดที่คุณประสบกับความไม่แน่นอน โปรดจงรู้ไว้ว่า คุณกำลังอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง ดังนั้น จงอย่าเพิ่งท้อหรือหยุด

■การดำรงอยู่ในปัญญาที่หยั่งถึงความไม่แน่นอน เมื่อความรู้ตัวทั่วพร้อมต่อปัจจุบัณขณะและโอกาสได้มาพบกัน เมื่อนั้นหนทางก็จะปรากฏขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจากสิ่งนี้ มักถูกเรียกว่า “ความโชคดี”

■เราได้ปรากฏขึ้นเป็นรูปทางกายภาพนี้ ก็เพื่อทำเป้าหมายบางอย่างให้บรรลุผลโดยสมบูรณ์ ค้นหาความสามารถเฉพาะของตนเอง แล้วแสดงความสามารถออกมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

■พูดว่า “ฉันจะช่วยได้อย่างไร” ออกมาจากจิตวิญญาณ

■สมมติว่าคุณมีทั้งเวลาและมีเงินมากมาย คุณจะทำอะไร ถ้าคุณยังคงทำในสิ่งทีุ่คุณทำอยู่ในปัจจุบัน นั่นแสดงว่าคุณอยู่ในธรรมะ เพราะว่า คุณรักในสิ่งที่คุณทำ และคุณกำลังแสดงความสามารถเฉพาะตนของคุณออกมา

http://ayishere.com/living-room-story/the-seven-spiritual-laws-of-success/

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/04/2011

*มีเพียงหัวใจเท่านั้นที่รู้คำตอบที่ถูกต้อง จงเลือกอย่างมีสติ*

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/04/2011
ตั้งแต่อ่านมาทั้งหมด
อยากรู้จัก คุณผู้หญิงคนนี้ มากที่ซู๊ดดดดด
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/04/2011
อ่านของใครต่อใคร ไปมากมายเนี่ยเพียงเพื่อค้นหาคนที่ ..ตกหลุมรัก
....กฏแห่งการปล่อยวางผลลัพท์....

เพราะเข้าใจว่า เกือบทุกองค์กร มีวัฒนธรรมบอกกล่าวให้ผู้คน
เข้าใจความหมายในกฏนี้ผิดเพี้ยน มากที่สุด

โดยเฉพาะวงการที่ต้องใช้การแข่งขันผลลัพท์ของงาน
ในการพิจารณาความดีความชอบ/ตำแหน่ง
และสำคัญนักพูดที่สร้างแรงบันบาลใจทั้งหลาย
จะเชียร์และให้ครดิต ใครก็ตาม ที่ยึดมั่นแนวทาง

....ต้องมีให้ได้
ต้องได้ให้ดี
ไม่มีไม่ได้!...

อะไรแบบนี้จึงทำให้ผู้คนที่เข้าถึงเป้าหมาย(โดยแนวทางนี้)
มักมีอะไรๆ ที่ หล่นหายไประหว่างเป็นประจำ(อย่างสม่ำเสมอ)

......แต่ก็ยังไม่เจอใครที่เค้าปิ๊ง และขยายความแบบ "โดน"
เข้ากับ กฏแห่งการปล่อยวางผลลัพท์....

มีแต่พูดโดยรวมๆ....ประมาณนี้

จนวันหนึ่งมีหนังสือส่งมาที่บ้านหนึ่งเล่มโดยที่ผมไม่ได้
สั่งมันมา (เดาว่าน่าจะเป็นพี่สาวซึ่งก็ใช่จริงๆ) ชื่อว่า
เจ็ดกฏด้านจิตวิญญาณสู่ความสำเร็จ
หรือ The Seven Laws Spiritual Of Success ของ
ดีพัค โชปรานั่นล่ะ มันเป็นหนังสือเล่มเล็กๆแต่อัดแน่นไป
ด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเจ็ดกฏของจักรวาลที่ทุกคน
สามารถนำไปใช้ให้ประสบควมสำเร็จได้ มันวิเศษมาก
(ควรไปหามาอ่าน เล่มเล็ก ปกสีส้ม) มันทำให้ผมได้รู้จัก
ดีพัค โชปรา ทำให้ผมรู้ถึงแนวทางในการดำเนินชีวิต
และผมเชื่อว่ามันจะเปลี่ยนชีวิตของผม
จักรยานกับสายลม : แรงบันดาลใจ


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/04/2011
แก้คำค่ะ

มักมีอะไรๆ ที่ หล่นหายไประหว่างเป็นประจำ(อย่างสม่ำเสมอ)

เป็น
มักมีอะไรๆ ที่ หล่นหายไประหว่างทาง(วิถีแห่งการเดิน)
เป็นประจำ(อย่างสม่ำเสมอ)

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/04/2011
ช่างไปสรรหามา ดีจริงๆ ขอบคุณครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 21/04/2011
เวลา ก็คือ ความเคลื่อนไหวของความคิด
ทั้งอดีตและอนาคต ล้วนเกิดจากภาพในความคิดหรือจินตนาการ
มีเพียงปัจจุบันขณะซึ่งเป็นสภาวะแห่งการตระหนักรู้เท่านั้น
ที่เป็นความจริงและไม่มีความสิ้นสุดอย่างแท้จริง

ทำไมคนที่
พบว่า … อ่านยาก เข้าใจยาก และใช้เวลามาก … แต่คุ้มค่านะ
จึงเห็นและเข้าใจได้...ตรงนี้

จำได้ว่าตอนอ่านไม่รู้สึกว่าอ่านยาก
แต่ไม่เกท ตรงนี้เลยน่ะ

อันนี้คือประโยชน์อย่างยิ่งของคำว่า

แชร์!


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 22/04/2011
ทั้ง 7 กฎไม่เพียงนำเสนอในแง่งามของความคิด
การดำเนินชีวิต ระหว่างจิตวิญญาณที่ถูกสร้างเองจาก
สภาวะแวดล้อมโดยรอบ
หากทั้ง 7 กฎนี้ยังถูกภายในจิตใจสร้างกฎ กติกา ระเบียบ
และการมองโลกอย่างเข้าใจ อย่างมีแก่นสาร
สาระควบคู่กันไปด้วย เพราะดีพัค โชปราเชื่อว่าคุณค่าของจิตใจ
ภายในสำคัญกว่าจิตใจภายนอก และการที่ชีวิตหนึ่งจะดำเนิน
ไปอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง
ภายในต้องเข้มแข็งเสียก่อน
ฉะนั้น เมื่อภายในเข้มแข็งดีพอแล้ว การที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อ
ปกป้องตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องยาก ที่สุดโรคภัยไข้เจ็บก็จะ
ทุเลาลงไป แต่กระนั้นจะต้องใช้หลักธรรมะเข้ามาประกอป
ด้วย เหตุนี้เอง ในแต่ละกฎที่ดีพัค โชปรานำเสนอ จึง
ไม่เพียงอธิบายความให้เห็นถึงคุณค่าและความหมายของกฎ
แต่ละกฎ หากในตอนจบของทุกบทผู้เขียนยังอธิบายความ
ให้ผู้อ่านนำกฎแต่ละกฎไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตด้วย
ซึ่งอ่านได้ทั้งสองแบบ นั่นหมายความว่า ถ้าชอบอ่านแบบเอา
ความก็ต้องอ่านรายละเอียดของกฎแต่ละกฎ แต่ถ้าชอบอ่านแบบสั้นๆ หมายความว่านำไปปรับใช้กับชีวิตได้เลย ก็เลือกอ่าน
ตอนสรุปของทุกบท ซึ่งอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะทั้ง
7 กฎด้านจิตวิญญาณเพื่อความสำเร็จ นำเสนอให้เห็นถึง
Key Success ของมนุษย์อย่างรอบด้านทั้งหมดแล้ว
ยิ่งเฉพาะในช่วงที่ปีใหม่ใกล้จะถึงนี้ ลองหาซื้อหนังสือดีๆ อย่างนี้มาอ่านบ้าง เผื่อบางทีเราอาจค้นพบพลังบางอย่างในตัวตน อย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน


....ไม่ได้บันทึกที่มา.....


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 22/04/2011
25 พ.ย. 2551, 20:20:34

ขอลอกเขามาเล่าต่อ

"บิสิเนสไทย" ย้อนรอยเส้นทางความสำเร็จของ "บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด" ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย กับการได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2546

หากนึกถึง "เครือซิเมนต์ไทย" หลายคนมักจะนึกถึงความมั่นคง , ความแข็งแกร่ง , ความมีธรรมาภิบาล , ผลประกอบการ , รวมถึงการสร้างและพัฒนาผู้นำที่มีความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและด้านการเป็นผู้นำเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพราะที่ผ่านมาเครือซีเมนต์ไทยให้ความสำคัญกับผู้นำในระดับต่าง ๆ โดยพนักงานแต่ละระดับจะมีบาทบาทภาวะผู้นำที่เชื่อมโยงกัน ที่สำคัญเครือซิเมนต์ไทย มีการสรรหาและคัดเลือก "คนเก่ง" และ "คนดี" เข้ามาร่วมงาน ซึ่งจะผ่านกระบวนการประเมิณความสามารถ ผ่านการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์พัฒนาพนักงานของเครือซิเมนท์ไทย

........
องค์กรต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง โดยจะต้องมีการประเมิณผลการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละปี เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของพนักงานโดยทั่วกัน
1.กฎแห่งศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน องค์ประกอบสำคัญคือ การเข้าให้ถึงสภาวะแห่งการมีความสงบนิ่งอันมั่นคง มีบทสวดบทหนึ่งใน A course of Miracles ที่กล่าวว่า วันนี้ ฉันจะไม่ตัดสินสิ่งใดๆที่เกิดขึ้น
2.กฎแห่งการให้และการรับ การฝึกปฏิบัติแบบเรียบง่ายคือ ถ้าคุณต้องการความสุข ก็จงให้ความสุขกับคนอื่นๆ ถ้าคุณต้องการความเอาใจใส่และชื่นชม คุณจงเรียนรู้ที่จะใส่ใจและชื่นชม ความตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังการให้และการรับคือสิ่งสำคัญที่สุด ความสุขชนิดนี้คือสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนและรักษาพลังชีวิต ให้เพิ่มพูนขึ้น
3.กฎแห่งกรรม หรือ เหตุและผล ในทุกๆการกระทำ ย่อมก่อให้เกิดแรงของพลังงานที่ย้อนกลับมาสู่เราในแบบเดียวกัน เราหว่านสิ่งใด ก็ย่อมได้ผลในสิ่งนั้น และเมื่อเราเลือกที่จะทำในสิ่งที่นำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จของผู้อื่น ผลลัพท์แห่งกรรมของเรา ก็คือ ความสุขและความสำเร็จ เช่นกัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเลือกที่จะเหยียดหยาม มีอคติและนำมาซึ่งความทุกข์ให้ผู้อื่น ผลลัพท์แห่งกรรมนั้นก็จะเกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามเช่นกัน
4.กฎแห่งการพยายามให้น้อยที่สุด พลังสติปัญญาของธรรมชาติ กระทำโดยไม่พยายาม ไม่วิตกกังวล ด้วยความกลมกลืนและความรัก
5.กฎแห่งความมุ่งมั่นและความปรารถนา คือกลไกสู่การบรรลุผลโดยสมบูรณ์ของตัวมันเอง
6..กฎแห่งการปล่อยวาง สิ่งที่ทรงพลังอย่างมากที่ควรทำ ในขณะที่คุณปล่อยวางความยึดติดกับผลที่จะได้รับ ขอให้คุณจงนำเอาความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของคุณรวมเข้ากับการปล่อยวางไปพร้อมๆกัน แล้วคุณจะได้ในสิ่งที่คุณปรารถนา
7.กฎแห่งธรรมะ หรือเป้าหมายในชีวิต ตามหลักการของกฎข้อนี้ คุณมีความสามารถบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร และมีวิธีการเฉพาะตนในการแสดงออกมา นั้นคือ คุณมีบางอย่างที่สามารถทำได้ดีกว่าใครทั้งหมดในโลก และแต่ละคนในโลกนี้ก็มีพรสวรรค์นั้น


*ส่วนหนึงของเนื้อหา การพัฒนาองค์กร "เครือซีเมนต์ไทย"
กฎแห่งการปล่อยวาง ....สิ่งที่ทรงพลังอย่างมากที่ควรทำ .....
ในขณะที่คุณปล่อยวางความยึดติดกับผลที่จะได้รับ
ขอให้คุณจงนำเอาความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของคุณรวมเข้า
กับการปล่อยวางไปพร้อมๆกัน แล้วคุณจะได้ในสิ่งที่คุณปรารถนา
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 23/04/2011
อันนี้ไปเอามาจากไหนเหรอครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 23/04/2011
"เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมากเป็นอันดับ 1"
กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปูนซีเมนต์ไทย
บอกไว้เช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าธุรกิจจะเดินไปข้างหน้า
ได้อย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพส่วนหนึ่งอยู่ที่ "คน"
นั่นก็คือ "บุคลากร" ของบริษัท โดยปัจจุบันเครือซีเมนต์ไทย
มีพนักงานอยู่ประมาณ 24,000 คน ใน 80 บริษัท 5 ธุรกิจในเครือ

"ตอนนี้คนของเราเก่งอยู่แล้ว แต่เราต้องการที่ให้พวกเขาเก่ง
และดี ๆ ขึ้นไปอีก เราจึงต้องมีการเทรนนิ้งอยู่เสมอ" กานต์ กล่าว



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3b59cce3306c0575
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 23/04/2011
ผมเฝ้าต้งคำถามนะ ก็คนเราหลายต่อหลายคน ต้องหลีกหนี
จากการทำงาน เพื่อไป "ปฏิบัติธรรม" แล้วไหงคำที่ท่าน
พุทธทาสเทศนาไว้มันฟังดูแล้วเหมือนลูกศรย้อนกลับ ว่า
การทำงานเป็นการปฏิบัติธรรมไปเสียนี่

ทำไปทำมา แต่พอเวลาผ่านไป เมื่ออ่านมากขึ้น ฟังมากขึ้น
ผมก็พบว่า ท่านหลวงพ่อพระยอม ก็คิดสงสัยคล้าย ๆ กันกับผมนี่แหละ

ผมเลยได้แต่หมั่นคิดขบทบทวนทำความบ่อยขึ้น หลังจากนั้น
ภาพแห่งการ "ปฏิบัติธรรม" ที่มาจาก "การทำงาน" ก็ค่อย ๆ เป็นรูปเป็นร่าง

จนยิ่งมาได้อ่านหนังสือธรรมเรื่อง "คนสำราญงานสำเร็จ"
ของหลวงพี่ ว.วชิรเมธี ก็ยิ่งเข้าใจชัดขึ้นมาอีก

ว.วชิรเมธี ท่านบอกว่า การปฏิบัติธรรม มีหลายระดับ
และการทำงานสุจริตในแต่ละประเภทจนประสบความสำเร็จได้ เ
ราก็ต้องพัฒนากาย วาจา ใจ ของเรา ให้มีประสิทธิภาพ ในระดับหนึ่ง

เอาง่าย ๆ อย่างน้อย ๆ เอาเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด
หากจะทำงานให้ลุล่วงได้ด้วยความสุข เราก็ต้องมีความเพียร
และขันติ และ เจ้าความเพียร และขันติ นี้น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่จะสามารถใช้ขัดเกลา กิเลส คือความเห็นแก่ตัว ไปได้ระดับหนึ่งเช่นกัน

ประเด็นเรื่องความเพียรนี่ ผมสงสัยมาตั้งแต่อ่านงานเรื่อง
The Seven Laws of Spiritual Success ของ Depak Chopra แล้ว

คือผู้เขียนบอกว่า หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ
ก็คือ "การพยายามให้น้อยที่สุด" (The Law of the Least Attempt)

ไอ้ผมก็งง ว่าถ้าจะให้พยายามให้น้อย แล้วเราจะประสบความสำเร็จในเรื่องที่เราต้องการ ได้อย่างไร

ก็เข้าอีหรอบเดิม ที่ผมต้องนั่งใคร่ครวญครุ่นคิดอยู่หลายอาทิตย์ คิดอย่างไร ก็ขบไม่แตก

แล้วพอมาอ่านงาน The Top Secret ของ ทพ. สม สุจิรา ที่
บอกว่า ถ้าคนเราจะประสบความสำเร็จ เขาจะต้อง "เชื่อ"
ว่าสำเร็จและ ห้าม "อยาก" สำเร็จ อันมีพื้นฐานมาจากตัณหาอย่างเด็ดขาด

ผมก็เลยเริ่มจะพอ วาดเค้าร่างได้ ราง ๆ ได้หลังจากอ่าน
หนังสือเรื่องคนสำราญงานสำเร็จเล่มนี้ว่า ไอ้กฎแห่ง
ความพยายามให้น้อยที่สุด นี่มันน่าจะหมายถึงว่า
ให้ตั้งจิตอธิษฐานได้ด้วยความเพียร แต่อย่า พยายาม ด้วยความ "อยาก" ในกิริยาลักษณะที่ท่านนายกใช้คำว่า "กระเหี้ยนกระหือรือ" นั่นแหละ

เพราะฉะนั้น ผม จึงเดาว่า ไอ้คำว่า
The Law of the Least Attempt น่าจะแปลว่า
"กฎแห่งการกระเหี้ยนกระหือรือให้น้อยที่สุด" น่าจะชัดเจน และตรงประเด็นกว่า

คือพยายามได้ แต่ อย่ามีพื้นฐานมาจากตัณหา
แต่ต้องเป็น มาจาก เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

แล้วความพยายามในความทำงานนั้นก็จะไม่เป็นของ "ร้อน"

หากแต่จะเต็มเปี่ยวมไปด้วยฉันทาคติ และความเป็นสมาธิ ที่สงบเย็น เมื่อได้ทำงานที่ตนมีใจรักนั่นเอง

จากความเข้าใจของผมนั้น การทำงาน สามารถเป็นการ
ปฏิบัติธรรมได้ก็ต่อเมื่อ เราทำงาน จน จิตเป็นสมาธิ
ไม่พะวงถึงอดีต หรืออนาคต หากแต่ อยู่แต่กับปัจจุบัน
ที่ท่านว.วชิรเมธี เรียกว่า "ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน"

เมื่อนั้นแหละ คือสภาวะ แห่งความสุขก็จะเกิดขึ้น ความปีติ ก็จะตามมา
อย่างนี้กระมัง ทีเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า มันคือ อาการ "อิ่มทิพย์" ใน หนังสือ เรื่อง "อาวุธกวี"

เพราะฉะนั้นแล้ว สมาธิ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยขัดเกลา
ความพะวงหน้าพะวงหลัง ฟุ้งซ่าน

ความทุกข์ก็ลดน้อยลง และก็เท่ากับว่าความสุขนั้นเกิด
จากสมาธิ ที่เราได้จากการทำงาน

เมื่อนั้น ก็สามารถโยง การทำงานเข้ากับการปฏิบัติธรรมได้ไม่ยาก

www.oknation.net/blog/print.php?id=272318 - Im Cache


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 24/04/2011
กฏแห่งความพยายามให้น้อยที่สุด-Law of The Least Effort

สำหรับคนขี้เกียจแบบหมาเขียวแล้ว นี่คือกฏที่โดยส่วนตัวแล้ว ชอบมากที่สุด ฮาๆ

กฏนี้มีคำอธิบายไว้มากมายในหลายรูปแบบ บางคราวก็ถูกแทรกในหัวข้อที่แตกต่างกันไป แต่ในที่นี้ขอเรียกว่า "กฏแห่งความพยายามให้น้อยที่สุด"ก็แล้วกัน

สาระสำคัญของกฏนี้คือ ทุกอย่างในจักรวาลมีพลังงานที่เชื่อมโยงถึงกันหมด และแค่เพียงเรากำจัดตัวกั้น ที่ขวางกั้นตัวเรากับแหล่งพลังงานของจักรวาลได้ เมื่อนั้นความมั่งคั่งแห่งจักรวาลก็จะตกเป็นของเรา

เมล็ดพันธุ์ด้วยตัวมันเองไม่สามารถเติบโตได้ แต่เมื่อมันได้หลอมรวมกับผืนดิน น้ำและความอบอุ่น พลังงานที่เชื่อมโยงถึงกันนี้ ทำให้เมล็ดเล็กๆสามารถเติบโตเป็นต้นสนที่สูงลิบลิ่วได้ โดยไม่ได้ต้องอาศัยความพยายามใดๆเลย

สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด คือ สิ่งที่เราทำโดยไม่รู้สึกว่ายากลำบาก ฉันใดก็ฉันนั้น หากเราคำนึงถึงความร่ำรวยด้วยความสบายๆผ่อนคลาย โดยที่ทุกการกระทำของเราเป็นไปโดยลื่นไหลไปกับสิ่งต่างๆและไม่มีการต่อต้าน เมื่อนั้นเราย่อมมั่งคั่งได้โดยง่าย ดุจเดียวกับที่เราเดินไปไหนมาไหนด้วย2ขา โดยไม่ต้องอาศัยความพยายามใดๆ

...................................................................

เราถูกสอนสั่งมาโดยคนรุ่นก่อนๆ และความเชื่อ"เกือบทั้งหมด"ในหัวของเรา ทั้งดีและไม่ดี คือ ตัวขวางกั้นเราจากพลังงานของจักรวาลทั้งสิ้น

ทั้งๆที่แรกเริ่มเดิมที เราคือส่วนหนึ่งของพลังงานนั้น และเชื่อมต่อกันอย่างไร้ขีดจำกัด

ประเด็นการเข้าถึงกฏข้อนี้ จึงทำได้โดยทำตัว"เสมือนว่าไม่มีตัวเรา"

ไม่ได้ถึงขั้นล่องหนหรือสาบสูญ แต่หมายถึงการไม่ต่อต้านสิ่งนอกตัวและไม่ยึดถือสิ่งที่ตัวเองเป็น จงดำเนินไปด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล

เริ่มจากการยอมรับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างไม่มีเงื่อนไข มันเกิดขึ้นของมันด้วยปัจจัยต่างๆมากมาย มันเป็นของมัน"เช่นนั้นเอง"

เมื่อยอมรับได้แล้ว ก็ให้รับเอาเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเราเสีย และจบลงด้วยการไม่กล่าวโทษใครรวมถึงตัวเราด้วย

และที่สำคัญ ต้องไม่มีความคิดที่จะปกป้อง"ความคิดของตัวเอง" .... ไม่ไปเชิญชวนให้ใครต่อใครมาเห็นด้วยกับเรา และไม่ต้องแก้ตัวแก้ต่างเวลาที่มีคนอื่นคิดต่างกับเรา

การยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเงื่อนไข การรับรู้ว่าทั้งหมดคือเรา ...นี่คือการขจัดตัวขวางกั้นเรากับแหล่งพลังงานของจักรวาล ที่อุดมสมบูรณ์และมั่งคั่ง

ส่วนการกระทำที่ใช้ความพยายามน้อยที่สุดนั้นคือเช่นไร

คือ การทำด้วยใจที่เปี่ยมด้วยรัก นั่นเองครับ

หากว่าเราต้องวิ่งขึ้นภูเขา10ลูกใน1วัน หากทำด้วยความรัก เราย่อมไม่รู้สึกว่าลำบาก ไม่รู้สึกว่าต้องฝืนทำ

นี่แหละคือหัวใจสำคัญ ทำด้วยใจที่รื่นรมย์ ไม่มีการฝืนทำ หากเราไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ จงอย่าฝืน ยอมรับมัน และรักมัน แล้วสิ่งดีๆจะมาเอง

...................................................

ว่าแล้ว ใครที่ยังบ่นเรื่องานของตัวเองจงรีบหยุดบ่นซะนะครับ ยอมรับ รับรู้มัน และรักมัน

ไม่ได้บอกให้ชอบนะครับ ของไม่ดีไม่ต้องไปชอบมันหรอก

แต่ต้องยอมรับมัน รับผิดชอบมัน และรักมัน ก็พอแล้ว

แค่กฏข้อนี้ ใครทำได้100% หมาเขียวมั่นใจว่า สิ่งดีๆต้องเกิดขึ้นอย่างทันทีแน่นอน

...................................................

ขอให้ความมั่งคั่งจงมีแด่ทุกๆคนนะครับ
Create Date : 20 กรกฎาคม 2553
อาจฝึกยากหน่อย แต่ถ้ามันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นและมีความสุขขึ้น ก็ไม่น่าเกินความพยายาม คับ
Yohan IP: 113.53.145.179 วันที่: 10 มีนาคม 2554 เวลา:9:10:44 น.
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 24/04/2011
อันหลังสุดนี่ใครครับ มาจากไหน สรุปความได้แจ๋วจริงๆ
อ่านแล้วชวนให้อยากรู้จัก
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 24/04/2011
ดูอันนี้ดีกว่าค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=IHjMk4OECfM
อิอิ
กำลังหัดฟังภาษา
และกำลังเก็บตังค์ เพื่อไปเข้า เวิร์คชอป
Syncro destiny
ที่ โชปรา เซนต์เตอร์
นันท์บุ๊ค สนใจเป็นออแกนไนซ์จัดทัวร์มั้ย?


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 24/04/2011
แก้คำ Syncro destiny เป็น Synchro destiny ค่ะ


2.หลักแห่ง"ความพยายาม" ที่เน้นพยายามน้อยที่สุด

ธรรมชาติดำรงไว้ซึ่งสติปัญญาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีอยู่และเป็นไปในแบบอย่างที่มิต้องใช้ความพยายามใดๆ เลย ต้นหญ้าไม่ต้องดิ้นรนที่จะงอกงาม มันแค่เติบโตของมันเอง ปลาก็ไม่ต้องดิ้นรนที่จะแหวกว่าย มันว่ายไปอย่างง่ายดาย และเช่นกันพวกนกก็เหินบินไปบนฟ้าอย่างสบายที่สุด ล้วนเป็นธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนของมัน และคือธรรมชาติที่โลกใบนี้ต้องหมุนรอบตัวเอง 1,000 ไมล์ต่อชั่วโมงพร้อมกับที่พุ่งผ่านไปในห้วงอวกาศด้วยความเร็วเกือบ 70,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นไปโดยไร้ความพยายามเช่นกัน

นี่คือหลักแห่งความพยายามที่จะเน้นพยายามน้อยที่สุด ปราศจากการขัดขืนใดๆ นี่คือหลักแห่งความสอดคล้องกลมกลืน และเมื่อใดก็ตามที่เราได้เรียนบทเรียนนี้จากธรรมชาติพวกเราก็จะเติมเต็มความปรารถนาของเราได้ไม่ยาก จนกลายเป็นธรรมชาติของมนุษย์เราที่จะทำให้ความฝันของตนเป็นจริงขึ้นมาอย่างง่ายดายไร้ความพยายาม

หลักการนี้มาจากศาสตร์แห่งพระเวทตามปรัชญาอินเดียโบราณ ซึ่งขั้นสูงสุดของหลักการนี้คือสภาวะที่เราไม่ต้องทำสิ่งใดเลย แต่สามารถที่จะทำสำเร็จได้ในทุกสิ่ง หรือในอีกความหมายหนึ่ง คุณสามารถเปลี่ยนสิ่งที่คิดให้ปรากฏเป็นจริงอย่างง่ายดาย สิ่งที่เราเรียกว่า ปาฏิหาริย์ หรือเหตุบังเอิญอย่างน่าประหลาดนั้นแท้จริงแล้วคือการแสดงให้เห็นของกฎแห่งความยากลำบากน้อยที่สุด และเมื่อได้เป็นส่วนหนึ่งร่วมกับธรรมชาติ เมื่อนั้นจะเริ่มเข้าใจในตัวตนที่แท้จริงของคุณ และก็สามารถเริ่มที่จะใช้ประโยชน์จากหลักแห่งความพยายามที่เน้นพยายามให้น้อยที่สุดนี้ได้

ความพยายามที่น้อยที่สุดจะมีได้ก็ต่อเมื่อการกระทำของคุณมีแรงจูงใจจากความรัก เมื่อใดที่คุณแสวงหาอำนาจและการควบคุมเหนือผู้อื่น หรือขอความเห็นชอบจากผู้อื่น เมื่อนั้นคุณกำลังสูญเสียแรงไปโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อใดที่คุณแสวงหาเงินตราหรืออำนาจอัตตา เมื่อนั้นคุณได้เสียพลังงานวิ่งไล่ตามภาพลวงตาของความสุขแทนที่จะมีความสุขได้เลยในเวลานี้ทันที และเมื่อคุณแสวงหาเงินตราแค่เพื่อประโยชน์ส่วนตน ก็เท่ากับว่าตัดขาดจากพลังงานที่ไหลเวียนมาสู่ตัวคุณ แต่เมื่อได้ทำ ทุกสิ่งด้วยใจรัก พลังงานในตัวก็จะเพิ่มทวีคูณและสั่งสม พลังที่มีเหลือล้นนี้ก็อาจจะนำไปสร้างสิ่งที่คุณต้องการ รวมกระทั่งความมั่งคั่งอย่างไม่สิ้นสุด

ในหนังสือเรื่อง The Art of Dreaming ตัวดอน ฮวน เล่าให้คาร์ลอส แคสตาเนดา ฟังว่า "...ส่วนใหญ่แล้วพลังของเราจะนำไปค้ำจุนกับการให้ความสำคัญแค่ตัวเราเอง...ถ้าเราสามารถที่จะละทิ้งความสำคัญตัวเหล่านี้ได้ 2 สิ่งจะเกิดขึ้นกับเรา 1.ก็คือเราจะปลดปล่อยพลังของเราให้เป็นอิสระจากความพยายามที่จะคงไว้ซึ่งแนวคิดลวงตาเรื่องความยิ่งใหญ่ของตนเอง และ 2.เราอาจจะมีพลังมากพอที่จะสามารถสัมผัสถึงเศษเสี้ยวแห่งความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของจักรวาล"

หลักแห่งความพยายามที่เน้นพยายามน้อยที่สุดมี 3 ส่วนประกอบสำคัญ สิ่งแรกคือการยอมรับ ยอมรับผู้คน สถานการณ์ และเหตุการณ์ต่างๆ ตามแบบที่มันเป็นไป ยอมรับชั่วขณะนี้ดังที่มันควรจะเป็น เหตุเพราะว่าจักรวาลทั้งหมดก็ดำรงอยู่เฉกเช่นที่มันควรจะเป็นเช่นกัน เมื่อใดที่คุณขัดขืนดิ้นรนต่อความเป็นไปของสิ่งต่างๆ นั่นก็เหมือนกับคุณกำลังขัดขืนดิ้นรนต่อจักรวาลทั้งหมด เราอาจหวังให้ในอนาคตเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้ แต่ในขณะนี้คุณต้องยอมรับสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นไป เมื่อใดที่รู้สึกคับข้องใจหรือหงุดหงิดโดยบุคคลหรือเหตุการณ์ใด ปฏิกิริยาที่เรามีตอบมิได้มุ่งไปที่บุคคลหรือเหตุการณ์นั้น แต่กลับเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีต่อบุคคลหรือ เหตุการณ์นั้นๆ และความรู้สึกนั้นจะตกกับ ตัวคุณเอง และมิได้เป็นความผิดพลาดของ คนอื่นเลย

ส่วนประกอบที่ 2 ของหลักแห่งความพยายามที่เน้นพยายามน้อยที่สุด คือ ความรับผิดชอบ นี่หมายถึงการไม่กล่าวโทษต่อใคร หรือสิ่งใดรวมทั้งตัวคุณเองในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากได้ยอมรับเหตุการณ์ในแบบที่มันเป็นไปแล้ว ความรับผิดชอบของเราก็คือความสามารถในการแสวงหาการตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ต่อสถานการณ์ตามที่เป็นไปในขณะปัจจุบันนั้น ทุกๆ เหตุการณ์ที่น่าหงุดหงิดใจนั้นอันที่จริงแล้วกลับคือโอกาสใหม่ที่จะสร้างสิ่งดีๆ ขึ้นมา หรือแม้แต่เรื่องราวที่ทำให้เราทุกข์ทนแท้จริงแล้วก็คืออาจารย์ที่จะสอนชีวิตเรานั่นเอง มีความหมายซ่อนแฝงอยู่เสมอในทุกเหตุการณ์ของชีวิตคุณ และต่างแสดงถึงโอกาสหลากหลายเพื่อให้วิญญาณของคุณได้เติบโตและพัฒนาสู่ศักยภาพสูงสุด

ส่วนประกอบที่ 3 ละเว้นจากการแก้ต่างให้ตนเองนั่นคือ สละความต้องการที่จะจูงใจหรือชักชวนให้ผู้อื่นเชื่อในความเห็นของคุณ ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้ความพยายามและทุ่มเทอย่างมากในการปกป้องความคิดเห็นของตน ถ้าสามารถสละทิ้งความต้องการนี้คุณก็จะสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานมหาศาลที่ก่อนหน้านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าเปลือง เมื่อใดที่คุณปกป้องตนเองและกล่าวโทษผู้อื่น รวมทั้งไม่ยอบรับในจังหวะชีวิตนั้นอย่างที่เป็นไป จะพบกับแรงต้านซึ่งจะเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณบังคับสถานการณ์ให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ การขัดขืนนี้กินแรงมหาศาลทั้งกายและใจซึ่งทำให้สิ้นแรงและอ่อนล้า เมื่อใดที่แก้ต่างให้ตนเองไม่ได้อีกต่อไปคุณจะไม่ยอมให้มีข้อโต้แย้งใดๆ เกิดขึ้นเลย ในทางกลับกัน เมื่อใดที่คุณละเว้นการแก้ต่างให้ตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่นนี้แล้วคุณจะสามารถปล่อยวางภาระหนักอึ้งของความชิงชังและเจ็บปวดแล้วจะเข้าถึงความปีติยินดีและมหัศจรรย์ ซึ่งในขั้นนี้คุณจะตระหนักรู้โดยปราศจากข้อกังขาว่าสิ่งที่ปรารถนานั้นสามารถพบได้ในทุกเมื่อที่เราต้องการ เหตุเพราะความปรารถนาของคุณนั้นจะมาจากระดับของความรักและสุข มิใช่เกิดจากเหตุกังวลหรือหวาดกลัว

ตราบใดที่คุณยังเปิดรับต่อทุกๆ ความเห็น มิได้แข็งขืนยึดติดต่อความเห็นด้านเดียว ความฝันและความปรารถนาของคุณจะไหลไปตามธรรมชาติ เมื่อนั้นก็จะสามารถที่จะปลดปล่อยเจตจำนงเดิม ไร้การยึดติด เพียงแค่รอช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ความปรารถนาของคุณได้เป็นจริงขึ้นมาในที่สุด นี่ล่ะคือหลักแห่งความพยายามที่เน้นพยายามน้อยที่สุด

จะนำหลักแห่งความพยายามที่เน้นพยายามน้อยที่สุดมาปฏิบัติให้เกิดผล จะต้องมุ่งมั่นตามขั้นตอนต่อไปนี้

- ฉันจะฝึกฝนทักษะแห่งการยอมรับ จะยอมรับว่าช่วงเวลานี้ได้เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น เหตุเพราะทั้งห้วงจักรวาลนั้นก็เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นเช่นกัน ฉันจะไม่ขัดขืนดิ้นรนต่อจักรวาลทั้งมวลด้วยการขัดขืนต่อช่วงเวลาในขณะนี้ ฉันจะยอมรับทุกสรรพสิ่งในแบบที่เป็นไป มิใช่ในแบบที่ฉันอยากให้เป็น

- ฉันจะรับผิดชอบกับทุกสถานการณ์ที่ประสบและทุกสิ่งที่มองว่าคือปัญหา

- ฉันจะไม่กล่าวโทษผู้อื่นหรือตัวเองในปัญหาที่เกิดขึ้นกับตน

- ฉันได้รับรู้ว่าทุกๆ ปัญหาจะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งโอกาส และในความตื่นตัวที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยทำให้เรายึดกุมช่วงเวลานี้ และเปลี่ยนผ่านไปสู่ประโยชน์อื่นที่เหนือกว่า

- ฉันขอสละความคิดที่จะปกป้องความเห็นของตน พร้อมที่จะละวางเปิดกว้างต่อทุกความเห็น และมิได้แข็งขืนยึดติดกับความเห็นหนึ่งใดเพียงด้านเดียว ด้วยทัศนคติเช่นนี้ล่ะ ฉันจะให้โอกาสตนเองในการเรียนรู้และปล่อยให้จิตวิญญาณได้พัฒนาไปสู่ศักยภาพที่แท้จริง


-------------------------------
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
http://www.matichon.co.th/prachachat...day=2006/11/20



ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 25/04/2011
ขอบอกว่าที่คุณแฟนฯ คัดลอกมาจากเว็บไซต์ pawpiang.com
เป็น blog ที่ผมเขียนขึ้นเองครับ
ไม่ได้เขียนต่อเพราะรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ชัดเจน เลยหยุดทำไป
ตอนนี้เว็บปิดไปแล้วครับ
ไม่ทราบว่าอะไรมาดลจิตดลใจให้คุณแฟนฯ รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับ 7 กฎฯ
ผมอ่านแล้วรู้สึก “อึ้ง” นึกถึงคำที่คุณแฟนฯ พูดไว้บ่อย ๆ เรื่อง“การเชื่อมโยง”

ขอขยายความตรง “ความสำเร็จ คือ วิถีแห่งการเดินทาง มันไม่ใช่จุดหมายปลายทาง”
ที่บอกว่ามันทำให้ผมต้องเปลี่ยนนิยามของความสำเร็จไปเลย
จากเดิมที่เคยคิดว่าจะต้องมีอะไรบางอย่าง ทำอะไรบางอย่าง เป็นอะไรบางอย่างก่อน แล้วถึงจะมีความสุข กล่าวคือ เน้นไปที่จุดหมายปลายทาง เปลี่ยนมาเป็นการมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน กับสิ่งที่มี กับสิ่งที่เป็น กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในตอนนี้ ก็คือการมีความสุขในทุก ๆขณะที่เรากำลังเดินทางไปสู่เป้าหมายนั่นเอง

ที่ผ่านมา (ก่อนที่จะได้อ่านหนังสือ 7 กฎฯ) ผมมีชีวิตอยู่กับ “การรอ” เพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางมาตลอด
ตอนที่เรียน ก็เรียนแบบเคร่งเครียด เรียนเพื่อให้ได้เกรดดี ๆ คิดไว้ว่า เมื่อไรจะเรียนจบสักทีนะ จะได้เป็นอิสระได้ทำงานและมีเงินเดือน พอเรียนจบแล้วทุกอย่างก็ไม่เป็นอย่างทีคิดที่หวัง ตกงานสักอยู่สักพัก แล้วก็เครียดไม่มีความสุข ต่อมาก็ได้งานป็นลูกจ้างรู้สึกว่า เหนื่อย ทำงานหลายอย่างแต่ เงินเดือนน้อย ก็มีความคิดว่าจะต้องสอบบรรจุให้ได้ พอสอบบรรจุได้แล้ว ก็ไม่พอใจอีก ไม่ชอบระบบการทำงาน ไม่ชอบที่ทำงานตัวเอง ฯลฯ
และก็ยังเกิดคำถามกับชีวิตมากมาย เลยทำให้ผมต้องหาคำตอบให้กับคำถามเหล่านั้น

พอผมได้อ่านหนังสือ 7 กฎฯ และได้เข้ามาอ่านข้อความในเว็บ nantbook.com ของคุณนันท์
มันทำให้ผมได้คำตอบและเข้าใจชีวิตของตัวเองมากขึ้น (หลายเรื่องมากๆ) รวมทั้งเรื่องของความสำเร็จด้วยครับ ซึ่งมันก็สอดคล้องกับกฎทั้ง 7 ข้อทั้งหมดเลยนะครับ

กฎแห่งการพยายามให้น้อยที่สุด ผมนึกถึงคำพูดที่ว่า “รักในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่รัก” ซึ่งก็คือเราไม่ต้องใช้ความพยายามใด ๆ (ถึงแม้จะพยายาม แต่ก็ดูเหมือนไม่พยายามอะไร) เลย เพราะเรารัก เราพอใจที่จะทำในสิ่งนั้นอยู่แล้ว ผมนึกถึงพวกศิลปิน นักดนตรีที่เก่ง ๆ หรือพวกอัจฉริยะ ที่ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลยและก็ทำอย่างเป็นธรรมชาติกับเรื่องที่คนธรรมดาทั่วไปคิดว่าเป็นงานหรือเป็นเรื่องที่ยาก

ชื่อผู้ตอบ : tik ตอบเมื่อ : 25/04/2011
อ้าววว!
งี้คุณนันท์ ก็ไม่ต้องไปตามตัวที่ไหนแล้วละสิ
คุณ tik ตกผลึกได้ ชวนน่าติดตามมากเลยค่ะ

จุดที่มาสนใจเรื่องราว ทางจิตวิญญาณก็เริ่มต้นคล้ายๆคุณ tik น่ะ
คือมีคำถามมากมาย(ที่ไม่มีคำตอบ)

แต่ว่าอาจแตกต่างจาก คุณคนนี้...
หนังสือประเภทนี้ อ่านชื่อแล้วเหมือนหนังสือ How-to ซึ่งจัดอยู่
ในประเภทที่ฉันไม่ค่อยหยิบ ไม่ค่อยซื้อ เวลาที่ไปร้านหนังสือ...

ตรงกันข้ามคือ อ่านแบบมากมาย และซื้อ แบบมากมาย
แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบ....ที่สำคัญๆ ที่เรียก กันว่า หลักๆ น่ะ
กฏฯ แห่งความพยายามให้น้อย ทำมาแบบไม่รู้เรื่อง ตั้งแต่อายุ
13-14 ปี แต่ก้อไม่สามารถแสดงความเห็นให้ตรงและถูกต้องได้
เพราะไม่มีความมั่นใจว่า"ทำถูก" และสำคัญเดี๋ยวถูกประนามว่า
"ขี้เกียจ"

กฏแห่งการปล่อยวางผลลัพท์ ต้องบอกว่าตลอดชีวิตที่เกิดมา
ยังไม่เคยรู้จัก(แบบที่เป็น สัจธรรม) รู้จักการปล่อยวางในแบบ
ที่......ตัวเราเข้าใจว่ามันเป็นการยอมแพ้ง่ะ(ยอมไม่ด้ายยยย)

มีอะไรอีกมากมายที่.....
เป็นแบบคุณคนนี้บอกค่ะ

ความเชื่อ"เกือบทั้งหมด" ที่เราถูกสอนสั่งมาโดยคนรุ่นก่อนๆ และ ทั้งดีและไม่ดี คือ ตัวขวางกั้นเราจากพลังงานของจักรวาลทั้งสิ้น

มีเรื่องราวและข้อความจริงนึง ที่อยากให้คุณ tik หรือคุณนันท์
และคนอื่นๆ ได้มีโอกาสอ่าน คือเรื่องที่โชปราเคยบอกไว้ว่า
เราจะต้องกระทำต่อทุกจิตวิญญาณแบบ....equally

ซึ่งเรื่องนี้ได้ฟังจาก"พลังไร้รูป" ที่ตัวเองเรียกบ่อยๆว่า
เทพไท้เทวา ท่านจะบอกว่า ทุกจิตญาณที่มาเกิดเป็นมนุษย์
ไม่ว่าจะมี ยศฐาบรรดาศักดิ์ยังไง ในโลกของวิญญาณแล้ว
เท่าเทียมกัน ท่านจะรู้ได้ไงว่า คนที่พิการทางสมองพูดไม่ได้
อาจเคยเป็นคนสูงศักดิ์ระดับเจ้าฟ้า หรืออาจเคยเป็นอภิมหาเศรษฐี
กลับมาเกิดเพื่อชดใช้อะไรบางอย่าง หากเราเข้าใจการเชื่อมโยง
ข้ามภพได้ขนาดนั้น จะช่วยให้เราระมัดระวังในการ"ตัดสินผู้อื่น"
และมองข้ามเรื่องการแบ่งชนชั้น

ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ฟังจากเทพไท้เทวา
มันเป็นเรื่องที่ ไอสไตล์ ได้เคยพูดหรือเขียนไว้แล้วดังในข้อความเว็บนี้ค่ะ

www.electron.rmutphysics.com/.../index.php?

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 25/04/2011
หากนึกถึง "เครือซิเมนต์ไทย" หลายคนมักจะนึกถึงความมั่นคง ..
..........เพราะที่ผ่านมาเครือซีเมนต์ไทยให้ความสำคัญกับผู้นำ
ในระดับต่าง ๆ โดยพนักงานแต่ละระดับจะมีบาทบาทภาวะผู้นำที่
เชื่อมโยงกัน

*ภาวะผู้นำที่เชื่อมโยงกัน *

คำ คำนี้ทำให้นึกถึง การแบ่งชนชั้น
ที่เราถูกสอนสั่งมาโดยคนรุ่นก่อนๆ รวมทั้งสั่งสมในตัวตนแต่ละบุคคล

นึกเปรียบเทียบกับ

เมื่อเหตุการณ์ก่อนไปฟังการบรรยาย ดีพัค โชปรา มาเมืองไทยที่
โรงแรม HORSESHOE POINT พัทยาเหนือ
ก่อนไปเราก็ ตื่นเต้นหาข้อมูลกันมากมาย สถานที่จัดเป็นยังไง,
เพราะจะได้แต่งตัวให้ถูกกาลเทศะ,มีแปลไทยมั้ย?,การเดินทาง
และอีก ฯลฯ
จำได้ว่ามี เพื่อน/พี่ ที่ส่งข่าวสาร กัน ไป-มา ช่วงนั้น
เน้น และ ย้ำ ข้อมูลบางส่วนที่สำคัญๆ (ที่เราจดจ่อ)ว่า

*แต่ข้อมูลนี้มาจากผู้บริหารในระดับล่างๆนะ ไม่ได้มาจากผู้บริหารระดับสูง*

บอกตรงๆ ฟังแล้วความรู้สึกมันต้านมาก
(ก็ไม่รู้ว่าต้านอะไร )
เพราะในตอนนั้นกำลัง อ่านงานเขียนของ แจค เวลช์
(บุคคลผู้เปลี่ยนแปลงบริษัท อย่างขนานใหญ่ที่สุดใน
ประวัติศาสตร์ เป็นประธานGE ที่ผลิกฟื้น GE จากผลงาน
no name มาอยู่ในอันดับ Top 10 โดยวิธีการสื่อสารองค์กรแบบ
ทุกคนนั้นเท่าเทียมกัน)

และกำลังอยู่ใน อารมณ์ ความรู้สึก"ทึ่ง"ว่า ผู้บริหารของ
HORSESHOE POINT ให้ความสนใจ จิตวิญญาณในระดับ
บินข้ามน้ำข้ามทะเล ไปเข้า เวิร์คชอปที่โชปราเซนต์เตอร์
สนิทสนมกับ กูรู จิตวิญญาณ หยั่ง โชปรา สามารถจัดสัมนา
แบบเชิญชวนผู้คนอื่นๆ ฟังฟรี....เนี่ย!

เค้าน่าจะมีการดูแล...........ภาวะผู้นำที่เชื่อมโยงกัน ง่ะ
(ข้อมูลมันน่าจะเชื่อถือได้น่ะ)

พอรู้สึก "ต้านมาก" กับประโยคดังกล่าว จึงต้องเกิด การสังเกตุ
ก็ถือว่า.....ได้รับคำตอบ...ในคำถามในระดับที่น่าพอใจค่ะ


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 26/04/2011
กฎแห่งการปล่อยวาง
ผมนึกถึงกูรู 2 ท่านนี้ ครับ

ลูอิส เฮย์
-การไว้ใจในกระบวนการของชีวิต คล้ายกับเรื่อง การหยั่งถึงซึ่งความไม่แน่นอน สิ่งที่ไม่อาจรู้
ซึ่งมันเป็นการเปิดกว้าง เปิดรับทุกโอกาส ทุกประสบการณ์ (ทั้งดีและไม่ดี) ว่าจะนำเราไปสู่สิ่งที่ดีๆเสมอ แบบไม่ได้ยึดติดตายตัวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามที่เราต้องการ ตามที่กำหนดไว้ หรือวางแผนไว้
-การกลมกลืนไปกับชีวิต คล้ายกับ การยอมรับ การไม่ต่อต้านชีวิต การปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่เป็น การไม่ยึดติด ยึดมั่นถือมั่น

เอ็กค์ฮาร์ท โทลเลอ
การยอมจำนน ซึ่งไม่ใช่การยอมแพ้หรือการไม่ทำอะไรเลย แต่เป็นการทำอะไรก็ตามที่เหมาะสมที่สุดตามที่สถานการณ์ตอนนั้นเรียกร้องหรือต้องการ (โดยไม่ยึดติดกับผลลัพธ์) ซึ่งต้องมีสติมาก ๆ เช่น เรากำลังรีบไปธุระหรือไปประชุม แต่รถติดมาก ซึ่งเรารู้ว่าถึงอย่างไรก็ไปไม่ทัน แทนที่จะเครียดกระวนกระวาน โกรธบ่นที่รถติด โทษตัวเองที่น่าจะวางแผนหรือกะเวลาให้ดีกว่านี้ หรือคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าว่า จะโดนเจ้านายตำหนิยังไง มีความกลัวไปต่าง ๆ นานา เราก็ยอมรับและอยู่กับปัจจุบันซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้เหมาะสมที่สุดในตอนนี้ ส่วนผลหรือเหตุการณ์ต่อไปก็ค่อยว่ากันอีกที ก็คือแทนที่จะต่อต้านเพื่อให้มันเป็นไปอย่างที่เราต้องการซึ่งต้องใช้พลังงานมาก ก็ยอมรับมันซะง่ายกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่า

ชื่อผู้ตอบ : tik ตอบเมื่อ : 26/04/2011
ลืมถามคำถามสำคัญ สำหรับคุณ tik ค่ะว่า
ก่อนปิดเว็บเนี่ย มีเขียนถึงกฏฯอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นมั้ยคะ?
ถ้ามีกรุณานำมาให้ อ่านตรงนี้ด้วยค่ะ

คำถามต่อมาคือ
กฎแห่งการปล่อยวาง
ลูอิส เฮย์
เอามาจากเล่มไหนน่ะ?


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 26/04/2011
สวัสดีครับคุณ tik ชื่นชมครับ เสียดายที่เลิกเขียน blog ไป ขอบคุณและยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนกันนะครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 27/04/2011
ผมไม่ได้เขียนถึงกฎฯ อื่น ๆ ไว้ครับ คุณแฟนฯ
แต่ถ้าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแฟนฯ และคนอื่น ๆ
ก็ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนครับ

ลูอีส เฮย์ ไม่ได้พูดถึงกฎแห่งการปล่อยวางไว้ตรง ๆ หรอกครับ (เท่าที่ผมทราบ)
แต่จากการที่ผมอ่านเรื่อง ชีวิตนี้ลิขิตได้ (You can heal your life)
(ผมได้อ่านหนังสือของท่านเพียงเล่มนี้เล่มเดียวครับ) เนื้อหาหลายส่วนก็มีนัยเกี่ยวกับ
เรื่องการปล่อยวางอยู่นะครับ และจากคำยืนยันซึ่งผมก็ได้นำไปใช้ด้วย

อย่างเรื่องการไว้ใจในกระบวนการของชีวิต
การมองว่าชีวิตเป็นเรื่องง่าย
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นไปด้วยดี
การยอมรับ ปล่อยวาง ไม่ตัดสิน ยึดติด และเป็นอิสระจากอดีตของเราเอง

กฎแห่งกรรม หรือ เหตุและผล
ขออนุญาตยกข้อความในหนังสือมานะครับ
“กรรม คือ การกระทำและผลที่ตามมาของการกระทำนั้น มันมีความหมายรวมทั้ง เหตุ และ ผล ไปพร้อมกัน ๆ กัน เพราะว่าในทุกการกระทำ ย่อมก่อให้เกิดแรงของพลังงาน ที่ย้อนกลับมาสู่เรา ในแบบเดียวกันกับที่เราได้กระทำออกไป
ไม่มีอะไรที่แปลกประหลาดในเรื่องของ กฎแห่งกรรม เราทุกคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “คุณหว่านสิ่งใด ก็ย่อมได้ผลในสิ่งนั้น” ตัวอย่างที่ชัดเจน ก็คือ ถ้าเราต้องการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความสุข ดังนั้น หากจะพิจารณาให้ลึกลงไป กรรม จึงเป็นสิ่งที่มาจาก การตัดสินใจเลือกของจิตสำนึกของเราเอง
...ในการใช้กฎแห่งกรรม ก็คือ การกลับไปมีสติต่อทุกการตัดสินใจเลือกที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ขณะ”

ผลรวมของอดีตทั้งหมด ทุกความคิด ทุกคำพูด ทุกการกระทำของเรา (เหตุ) ก็ส่งผลมาเป็นเราในวันนี้ (ผล)
ผมไม่แปลกใจเลยกับชีวิตตัวเองที่เป็นอยู่ในวันนี้ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต ตั้งแต่เล็กจนโต เมื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมกับ ความคิด (ความเชื่อ) คำพูด และการกระทำที่ได้ทำไป จากการตัดสินใจเลือกของตัวเอง มันเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันจริง ๆ มันมีความหมายบางอย่างซ่อนอยู่ และมันมีเหตุผลที่ต้องเป็นเช่นนั้นด้วย (ซึ่งตอนนั้นผมไม่รู้ไม่เข้าใจหรืออาจไม่ได้ทันได้สังเกตุเพราะไม่มีสติรู้เท่าทันพอ)
อย่างเรื่องที่ผมไม่พอใจกับงานที่ทำ ไม่พอใจกับปัจจุบัน และวิ่งไล่กับเป้าหมายในอนาคต มันมีเหตุที่ผมมีความคิดความเชื่ออะไรบางอย่างอยู่ แล้วผมก็พูด ก็ทำ ไปในทางความคิดนั้น พอผมรู้ว่าชีวิตไม่ใช่การรอ ชีวิตไม่ใช่อนาคต แต่ชีวิตคือปัจจุบัน ชีวิตคือที่นี่และเดี๋ยวนี้ ผมก็(ตัดสินใจเลือก)เปลี่ยนความคิดความเชื่อนั้น แล้วอะไร ๆ มันก็เปลี่ยนไป อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นกันชัด ๆเลย ก็คือ สมมุติว่าผมไม่ได้อ่านหนังสือ 7 กฎฯ ผลในวันนี้จะเป็นอย่างไร?

ลูอิส เฮย์ พูดในทำนองเดียวกับกฎแห่งกรรม ใน 7 กฎฯ ว่า
- what you give out, it’s you get back. (ให้อะไรออกไป ก็ได้รับสิ่งนั้นกลับมา)
- Every thought we think, every words we speak, it’s creating our future.
-ตัวเราในวันนี้ เป็นผลมาจาก สิ่งที่เราคิด เราพูด เมื่อหนึ่งเดือน หนึ่งปี ห้าปี สิบปี ยี่สิบ สามสิบปี หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้เราอายุเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการให้ชีวิตเราดียังไงในอนาคตอีก หนึ่งปี ห้าปี สิบปี ข้างหน้า เราก็ต้องคิด ต้องพูดในสิ่งที่ดีในวันนี้
-การเลือกคิด เลือกพูดแต่สิ่งที่ดี ๆ ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดอนาคตของเรา ที่ลูอิส เน้นย้ำเสมอว่า “อำนาจของเราอยู่ที่ปัจจุบันเสมอ” ก็เหมือนกับที่ดีพัค โชปรา บอกไว้ว่า ให้เราตัดสินใจเลือกในทุก ๆ ขณะอย่างมีสติ
ชื่อผู้ตอบ : tik ตอบเมื่อ : 28/04/2011
ขอบคุณและยินดีเช่นเดียวกันครับ คุณนันท์ ขอออกตัวนิดนึงว่า ผมมีความรู้ไม่ลึกซึ้งและประสบการณ์ไม่มาก (เป็นเหตุผลหนึ่งที่เลิกเขียนบล็อกไป) เพราะเพิ่งมาสนใจศึกษาเรื่องนี้ได้ไม่นาน ถ้ายังไงขอคำชี้แนะจากคุณนันท์ด้วยนะครับ

ชื่อผู้ตอบ : tik ตอบเมื่อ : 28/04/2011
ผมอ่านที่คุณ tik เขียน ทำให้เห็นถึงระดับความเชื่อมโยงที่คุณ tik มี ที่ได้พัฒนาจากความเข้าใจ สู่ระดับการตระหนักรู้ เพื่อเกิดตัวรู้ ทุกสิ่งกำลังดำเนินไปได้สวย (หมายถึงระดับความรู้สึกที่คุณ tik มี) ไม่ต้องกังวลครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 28/04/2011
เคล็ด 7 ประการในการเสริมสร้างพลังชีวิต


บทความนี้สรุปประเด็นจากหนังสือเรื่อง The Seven Spiritual Laws of Success แต่งโดย Deepak Chopra ผู้แต่ง
เป็นนายแพทย์ชาวอินเดียที่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา
มีชื่อเสียงโด่งดังจนได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในร้อยบุคคล
ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกยุคปัจจุบัน ผู้แต่งเชื่อว่า
คำว่า “ความสำเร็จ” ไม่ได้วัดกันที่จำนวนทรัพย์สินเงินทอง
หรือฐานะทางสังคมแต่กลับหมายถึงการมีสุขภาพที่ดี
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง มีอิสระภาพทางด้านจิตใจ
มีอารมณ์ที่มั่นคงไม่แปรปรวน มีจิตใจที่สงบและเป็นสุข และ
รู้สึกว่าตนเองมีค่าที่ได้ทำประโยชน์เพื่อคนรอบข้าง
และสังคม “ความสำเร็จ” ในมุมมองของผู้แต่งนั้นไม่ได้เกิดขึ้น
แค่ตอนที่เราทำงานสัมฤทธิ์ผลเท่านั้น แต่เป็นทุกย่างก้าวที่
เรากำลังเดินไปบนเส้นทางชีวิตต่างหาก ความสำเร็จดังกล่าว
ไม่ได้เกิดจากการทำงานหนัก การวางแผนที่รัดกุม หรือ
ความทะเยอทะยานจนสัมฤทธิ์ผล แต่เกิดจากการเข้าใจ
กฎธรรมชาติและการมีพลังแห่งความรู้สึกเป็นเข็มทิศนำทางชีวิต
ผู้แต่งได้เสนอหลักเจ็ดประการในการสร้างพลังชีวิตดังกล่าว
เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณสูงสุด
มีใจความสำคัญดังต่อไปนี้

1. กฎแห่งการมีความรู้เนื้อรู้ตัวพรั่งพร้อม
การฝึกสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นวิธีการสร้างพลัง
แห่งความรู้สึก ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความสงบ ความ
เข้มแข็งทางจิตใจ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความผ่องใส
เบิกบาน การจะเข้าถึงพลังจิตนี้ได้ต้องเริ่มที่ความสงบใน
จิตใจก่อน วิธีการทำจิตให้สงบเช่น
(1) หยุดสร้างอกุศลจิตในจิตใจได้แก่ ความอาฆาตพยาบาท
ความลังเลสงสัย ความฟุ้งซ่าน ความเบื่อหน่าย และความ
อยากได้อยากมีอยากเป็นในเวลาที่ไม่เหมาะสม
หยุดวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิหรือทับถมผู้อื่น
(2) ฝึกทำสมาธิ หรือ
(3) ไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ดูสุมทุมพุ่มไม้ เที่ยวป่าเขา
ลำเนาไพรชื่นชมธรรมชาติก็ช่วยให้จิตใจสงบได้เช่นเดียวกัน

2. กฎแห่งการให้
ยิ่งเราให้ไปเท่าไรก็จะยิ่งได้รับกลับมาเท่านั้นเพราะมันธรรมชาติ
แห่งการเติมเต็มซึ่งกันและกัน “การให้”ทำได้หลายแบบเช่น
ให้วัตถุ ให้รอยยิ้ม ให้คำชม ให้ความสนใจ ให้เกียรติ
ให้ความรัก ให้ความเอาใจใส่ ให้ความรู้ และให้อภัย เป็นต้น
3. กฎแห่งกรรม
ทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับสิ่งนั้นตอบแทน กรรมจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อผู้กระทำมีเจตนา มีการลงมือกระทำ และเกิดผลตาม
เจตนานั้น ฉะนั้น ถ้าเราอยากให้สิ่งดี ๆ บังเกิดแก่ตัวเรา เราก็ต้อง
หมั่นพูดดี ทำดี คิดดีมีคุณธรรม รักษาศีล ๕ให้ได้เสียก่อน เมื่อ
ปรารถนาสิ่งใดให้สร้างเหตุและปัจจัยเช่น ถ้าเราอยากให้ผู้อื่นพูด
จาดีกับเรา เราก็ต้องพูดจาดีกับเขาก่อน หรือถ้าเราอยากได้คะแนน
ดีก็ต้องขยันและตั้งใจเรียน เป็นต้น
4. กฎแห่งการทำอะไรโดยไม่ฝืน
ผู้แต่งกล่าวว่าเราควรทำในสิ่งที่เรารักและมีความสุข
เมื่อใดก็ตามที่เราเกิดแรงเสียดทานในจิตใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน
เรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต แสดงว่า
เรากำลังบังคับโลกหรือกำลังฝืนธรรมชาติอยู่เช่น เรารู้สึกไม่พอใจ
กับพฤติกรรมของคนรอบข้างแสดงว่าเราเริ่มที่จะบังคับคน ๆ นั้น
ให้เป็นไปตามที่ใจต้องการ อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้หมายความว่า
ให้เรานิ่งดูดายอะไรจะเกิดก็เกิดไป แต่อยากให้ทำใจยอมรับให้รับรู้
ก่อน ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ต้องสร้างเหตุและปัจจัยให้
ผลลัพธ์นั้นเปลี่ยนแปลง ผู้แต่งเชื่อว่าทำการใดต้องใช้ปัญญา
พิจารณาว่าสิ่งใดสำคัญหรือไม่สำคัญสิ่งใดควรทำก่อนหรือหลัง
เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างหรือทำงานมากชิ้น เราควรทำน้อยชิ้นแต่เกิดประโยชน์มหาศาล อย่างไรก็ตามการจะเลือกทำสิ่งใด
สิ่งนั้นจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย
เมื่อใดที่เจอปัญหาหรืออุปสรรคให้ยอมรับกับสิ่งที่เราประสบ ไม่
ต้องตีโพยตีพาย ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่เพราะนอกจากจะไม่
ช่วยให้อะไรดีขึ้นแล้วยังจะเป็นการเสียเวลาและเสียสุขภาพจิต ถ้าเราเผลอทำผิดก็ต้องยอมรับและรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่
กล่าวโทษหรือตำหนิผู้อื่นว่าเป็นสาเหตุเพราะถ้าพิจารณากันอย่าง
ถี่ถ้วนด้วยใจเป็นกลางแล้วจะพบว่า เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้
ปัญหาเกิดขึ้นด้วยเช่น เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความ
ประมาทขาดสติ เป็นต้น
5. กฎแห่งความตั้งใจและใส่ใจ
สิ่งต่าง ๆ ที่เราตั้งเป้าหมายไว้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจาก
ความตั้งใจและความใส่ใจ ฉะนั้น เราต้องตั้งจิตก่อนว่า เราอยาก
จะทำอะไรจริง ๆ ในชีวิต ส่วนความใส่ใจคือการจดจ่ออยู่กับสิ่ง
กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ตัดขาดออกจากความคิดเดิม ๆ ในอดีต
และความคิดกังวลในเรื่องอนาคต
6. กฎแห่งการปล่อยวาง
ตั้งใจลงมือทำเหตุในปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะ
ทำได้ด้วยจิตใจที่สบาย และให้หมั่นถามตนเองว่า เรากำลัง
ทำอะไรอยู่ สิ่งนี้จะก่อให้เกิดผลอะไรตามมาโดยไม่ต้องกังวล
ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

7. กฎแห่งจุดประสงค์แห่งชีวิต
ผู้แต่งเชื่อว่าทุกคนมีพรสวรรค์ด้วยกันทุกคนเพียงแต่จะ
หาเจอแล้วหรือยัง ฉะนั้น เราจะต้องเริ่มค้นหาตนเองว่าเรา
มีพรสวรรค์อะไรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเสียตั้งแต่วันนี้ เมื่อ
ค้นพบแล้วให้ถามตนเองว่าเราจะใช้สิ่งนั้นเพื่อสร้างประโยชน์
แก่สังคมและเพื่อนร่วมโลกได้อย่างไร นั่นเองคือจุดประสงค์ที่
เราเกิดมาบนโลกใบนี้

http://www.drboonchai.com/


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 01/05/2011
พระไพศาล วิสาโล/รินใจ -> ปล่อยวางอย่างรับผิดชอบ

คำสอนทั้งปวงในพุทธศาสนา ถึงที่สุดแล้วมุ่งไปสู่การปล่อยวาง เพราะปล่อยวางได้เมื่อไร ก็หมดทุกข์เมื่อนั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการปล่อยวาง คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจไปว่า หมายถึงถึงอยู่เฉย ๆ งอมืองอเท้า นี่เป็นความเข้าใจผิด

ปล่อยวางแบบพุทธหมายถึงปล่อยวางที่ใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา หรือยึดมั่นให้มันเป็นไปตามใจเราก็จริง
แต่ก็ต้องดูแลเอาใจใส่ด้วยความรับผิดชอบ เช่น ร่างกายนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ตัวเราของเรา จึงควรปล่อยวาง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องดูแลร่างกายไม่ใช่ของเราก็จริง แต่เราต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเราในการทำความดี
เหมือนกับเรือที่จะพาเราข้ามฟาก เราก็ต้องดูแลเอาใจใส่ ถ้ารั่วก็ต้องอุด ถ้าเสียก็ต้องรู้จักซ่อมแซม

เรารู้อยู่ว่าเมื่อถึงฝั่งแล้วเราจะไม่แบกเอาเรือไปด้วย แต่ในขณะที่ยังไม่ถึงฝั่งเราก็ต้องดูแล คอยซ่อมแซมเพื่อนำเราไปถึงจุดหมายให้ได้
เรามีหน้าที่ต้องซ่อมแซมดูแลเรือ ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่ใช่เรือของเราก็เลยปล่อยวางไม่สนใจ ถ้าเช่นนั้นเราจะถึงจุดหมายได้อย่างไร

มีเรื่องเล่าว่า คราวหนึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท เดินไปตรวจตราตามกุฏิพระ เห็นพระรูปหนึ่งนั่งหลบฝน เนื่องจากหลังคารั่ว ฝนจึงหยดลงมา
หลวงพ่อชาก็เลยถามว่า ทำไมไม่ซ่อมหลังคาล่ะ พระรูปนั้นบอกว่าผมปล่อยวางครับ
หลวงพ่อชาก็เลยบอกว่า ปล่อยวางกับวางเฉยแบบงัวแบบควายนั้นไม่เหมือนกัน

ผู้คนมักคิดว่าวางเฉยแบบงัวแบบควายเป็นการปล่อยวางแบบพุทธ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด ปล่อยวางเป็นเรื่องภายในใจ
แต่หน้าที่การงานเราก็ต้องทำตามสมควรแก่เหตุปัจจัย โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่ตัวเราเองและต่อผู้อื่นด้วย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตโต)ได้สรุปสั้นๆ ว่า ปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องการทำ “จิต” ส่วนการทำงานต่าง ๆ ด้วยความรับผิดชอบนั้น
เป็นเรื่องการทำ “กิจ” ในเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนเป็นนิจ ในแง่จิตใจเราจึงควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง
แต่ขณะเดียวกันอะไรที่สมควรทำเราต้องรีบทำ ไม่เฉื่อยแฉะเฉื่อยเนือย เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา
การทำกิจนั้นบางทีท่านก็เรียกว่าความไม่ประมาท

ความไม่ประมาทกับการปล่อยวางเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แม้อากัปกิริยาภายนอกทำงานด้วยความขยันขันแข็ง
แต่ภายในใจไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา พร้อมอยู่เสมอที่จะเผชิญกับความผันผวน พร้อมที่จะเจอความล้มเหลว
เพราะรู้ว่าเหตุปัจจัยต่างๆ มีมากมายที่เราควบคุมไม่ได้ เวลาทำงานก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่านี่มันเป็นงานของเรา
ใครจะมาแตะต้องหรือวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เวลาทำอะไรก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าผลต้องออกมาอย่างนี้อย่างนั้น
ถ้าไม่ออกมาตามที่หวัง ฉันโมโห ฉันโกรธ ฉันท้อแท้ ผิดหวัง ท่าทีเช่นนี้จะทำให้เป็นทุกข์ได้ง่าย

เดี๋ยวนี้เราทำด้วยความยึดมั่นกันมาก ยึดมั่นว่าเป็นของเราก็เลยทำ ถ้าไม่ใช่ของเราก็ไม่ทำ หรือว่ายึดมั่นในผล
เวลาทำอะไรก็ตามก็วาดหวังหรือหมายมั่นว่าผลจะต้องออกมาอย่างนี้จึงจะมีกำลังใจทำ ถ้าทำโดยไม่ต้องพะวงถึงผลข้างหน้า
แต่ทำตามเหตุตามปัจจัยหรือมุ่งประกอบเหตุให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ แบบนี้ทำไม่เป็น ต้องมีแรงจูงใจคือเอารางวัลหรือเอาผลที่สวยงามมาล่อ
ให้มีกำลังใจ นี้ไม่ใช่วิธีการทำงานแบบพุทธ ท่าทีที่ถูกต้องแบบพุทธคือทำงานโดยไม่จำเป็นต้องเอาความสำเร็จหรือรางวัลมาล่อ
แต่ทำเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ มีคุณค่า และน่าทำ ขณะที่ทำจิตก็อยู่กับปัจจุบัน พร้อมเผชิญกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา
ล้มเหลวก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นเอง แต่งานล้มเหลว ก็ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว เพราะว่าเราไม่ได้เอาตัวตนไปผูกติดไว้กับงาน
ใครมาวิจารณ์งานก็ไม่ทุกข์ไม่เสียใจ เพราะไม่ได้ยึดติดว่างานนี้เป็นตัว ของ
ทำงานอะไรก็ตาม พึงทำด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบ โดยไม่ถือว่างานนั้นเป็นตัว ของ ทำเสร็จแล้วก็มอบผลงานให้เป็นของธรรมชาติไป
ไม่ยึดว่าเป็นเราหรือของเรา คำสรรเสริญเยินยอและชื่อเสียงเกียรติยศที่เกิดขึ้นก็มอบให้แก่ธรรมชาติ หรือมอบให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้อง
แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นของเรา ใครสรรเสริญก็ไม่ได้หลงใหลได้ปลื้ม ใครมาตำหนินินทาก็ไม่ได้ทุกข์ร้อน เพราะไม่ได้ยึดว่าเป็นของเราตั้งแต่ต้น
ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเวลาทำงานเรามักคาดหวังผล แถมยังไปยึดติดกับคำสรรเสริญเยินยอและคำนินทาว่ากล่าว
จึงทำงานอย่างไม่มีความสุข

การปล่อยวางหมายถึงว่าเราไม่เข้าไปยึดในผลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบวกหรือลบ แม้ภายนอกอาจจะไม่ได้ปฏิเสธ แต่ภายในใจนั้นไม่รับอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์พุทธทาสทั้งพูดทั้งเขียนมาตลอดว่าสมณศักดิ์เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีความหมายสำหรับท่าน
ท่านขอเป็นทาสของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว แต่ว่าเมื่อท่านทำงานให้พระศาสนา จนเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ
จากพระครู เลื่อนเป็นพระราชาคณะสามัญ แล้วก็เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม สุดที่พระธรรมโกศาจารย์
เคยมีลูกศิษย์มาแนะอาจารย์พุทธทาสว่า สมณศักดิ์เหล่านี้ท่านน่าจะคืนเขาไป ท่านอาจารย์พุทธทาสก็บอกว่า
จะคืนได้อย่างไร ก็เรายังไม่ได้รับมาตั้งแต่แรกจะคืนได้อย่างไร คือแม้ทางราชการจะให้สมณศักดิ์และพัดยศมาแต่ใจท่านไม่ได้รับเลย
จะเป็นชั้นไหนก็ไม่เคยรับมาตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปคืนเขา

ถ้าเราวางใจได้อย่างนี้ เวลาทำงาน ได้รับคำสรรเสริญเราก็ไม่รับมาเป็นของเรา หรืออาจจะถือไว้แต่ไม่ได้เอามาสวมใส่
ทำได้แบบนี้จะรู้สึกสบาย โปร่งเบา เมื่อถึงเวลาที่เขาตำหนิติฉินเราก็ไม่เดือดเนื้อร้อนใจเพราะว่าเราไม่ได้รับตั้งแต่แรก
เมื่อมีคนชมก็ไม่เพลินหรือหลงตัว เมื่อถูกตำหนิก็ไม่เสียใจ สองอย่างนี้ไปด้วยกัน ถ้าเราทำใจด้วยใจที่ปล่อยวางแล้ว
เราจะทำงานด้วยใจที่สบาย อิสระ โปร่งเบา และทำด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ใช่สบายแล้วเฉื่อยชาเฉื่อยแฉะ
ตรงข้าม เราทำเต็มที่ เพราะความสุขคือการอยู่กับปัจจุบัน แม้ทำงานก็มีความสุข สุขอยู่ที่งานไม่ได้อยู่ที่ผลของงาน
ยิ่งมีสติและสมาธิด้วยแล้ว จะทำงานอย่างมีความสุขมาก แม้ผลจะยังไม่ปรากฏก็ตาม ถ้าทำงานด้วยท่าทีเช่นนี้
ผลของงานจะไม่มีอิทธิพลต่อเรามากนัก เราจะทำด้วยความสุข และด้วยสำนึกว่า มันเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่ทำเพราะว่ามันเป็นของเรา

การปล่อยวางและการทำงานด้วยความรับผิดชอบ หรือทำด้วยความไม่ประมาท เป็นสิ่งที่เราต้องเชื่อมให้เป็นอันเดียวกันให้ได้
อย่าไปแยกกัน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการปล่อยวางตามอำนาจของกิเลสหรือความหลง มิใช่ปล่อยวางเพราะมีปัญญา


บทความจาก กรุงเทพธุรกิจ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 02/05/2011
สาธุ .. สาธุ .. สาธุ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 02/05/2011
เรื่อง : ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
ความสดชื่นรื่นเย็นของชีวิต จะเกิดขึ้นก็เฉพาะกับบุคคลผู้มีสติ ซึ่ง “ตื่นอยู่ในปัจจุบันขณะ” เท่านั้น

แก่นคำสอนสำคัญประการหนึ่งที่โดดเด่นมากของพุทธศาสนา ก็คือ การปล่อยวาง

พิจารณาในแง่ของถ้อยคำ คำว่า “การปล่อยวาง” ดูเหมือนไม่น่าจะทำยาก

แต่หากพิจารณาในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ง่ายเลยที่ใครๆ จะทำได้

อุปสรรคของการปล่อยวางที่สำคัญ ก็คือ การยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ อย่างเหนียวแน่น

การยึดติดถือมั่น เกิดจากการที่จิตยังไม่ตื่น ยังไม่รู้ ยังไม่เบิกบาน

ยังไม่ตื่นจากความหลงไปในอดีต หรือในอนาคต ยังไม่รู้ว่า สรรพสิ่งล้วนเป็นเพียงของใช้ ไม่ใช่ของฉัน ยังไม่เบิกบาน เพราะยังจมอยู่ในความทุกข์ที่เกาะกุมจิตใจมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นความเคย ชินที่แยกจิตออกมาจากความทุกข์ไม่ได้

แต่เมื่อใครก็ตาม “ตื่นอยู่เสมอ” เพราะจิตมีสติคอยกำกับอยู่ตลอดเวลา โอกาสที่คนคนนั้นจะเผลอไปยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็เป็นไปได้ยาก ทว่าสำหรับผู้ที่ขาดสติเสียแล้ว แม้ตื่นอยู่ แต่ก็ดูเหมือนจะยังคงหลับใหล

บางคนหลับอยู่เพราะหลงฟุ้งไปในอดีต

บางคนหลับอยู่เพราะหลงฟุ้งไปในอนาคต

เมื่อจิตยังพัวพันอยู่กับอดีต หรืออนาคต จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าความสดชื่นรื่นเย็นของชีวิตจะเกิดมีขึ้นมาได้อย่างไร

ความสดชื่นรื่นเย็นของชีวิต จะเกิดขึ้นก็เฉพาะกับบุคคลผู้มีสติ ซึ่ง “ตื่นอยู่ในปัจจุบันขณะ” เท่านั้น ส่วนผู้ที่ยังถูกกักขังอยู่ในเรือนจำของความคิดในอดีต หรือความกังวลในอนาคต ยากมากที่จะสัมผัสกับชีวิตที่สดชื่น ยากเหลือเกินที่จะปล่อยวาง ยากที่สุดที่จะค้นพบสวรรค์อันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ณ วินาทีนี้

***********************

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 02/05/2011
จะปล่อยวาง ต้องวางละ จิตอกุศล
สร้างจิตตน พ้นโลกีย์ ที่โศกศัลย์
ความกังวล ดับพร้อมจิต เคยติดพัน
ปัจจุบัน สร้างจิตใหม่ ให้เป็นบุญ


เราเป็นสุขในปัจจุบัน ของท่านติช นัท ฮันท์



ไม่อาจแยก ส่วนใดใด ในจิตเดิม
หรือจะเพิ่ม สิ่งใหม่ใหม่ ไปเกื้อหนุน
ดวงจิตใหม่ สร้างธรรมใหม่ ให้ค้ำจุน
ต้องสร้างบุญ ด้วยจิตใหม่ ให้เกิดมา
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 02/05/2011
มี ผู้คนจำนวนมาก ที่ได้ประโยชน์จากซีดีหลวงพ่อปราโมทย์ ทำให้ทุกข์น้อยลง กิเลสน้อยลง มีสติมากขึ้น แล้วเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองและคนรอบข้างไปในทางที่ดีอย่างมาก ทำให้รู้สึกว่าธรรมะเป็นของใกล้ตัว อยู่ที่ไหน อาชีพอะไร อายุเท่าไหร่ก็ปฏิบัติได้ ซึ่งหลายคนได้ส่งข้อความหรือโทรศัพท์มาขอบคุณ ที่ทำให้เขาได้เจอทางปฏิบัติที่ได้ผลจริง และแจ้งให้ผมทราบมาเรื่อยๆ ในฐานะคนเผยแพร่ได้รับรู้ผลตอบรับที่ดีมากๆ กับคนหลากหลายวัย อาชีพ และอายุ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า.. แนวทางนี้ มีประโยชน์จริงๆ ได้ผลจริง และมุ่งตรงสู่การปฏิบัติเพื่อลดความยึดมั่นถือมั่น เพื่อการมีสติ จนจิต

ปล่อยวาง!

จากการยึดถือกายใจ
...............................................

ข่าวที่ออกมาใครพูดจริงพูดไม่จริงไม่รู้
แต่อยากจะให้หลวงพ่อรู้ว่าถึงจะจริงหรือไม่จริงยังไง
หลวงพ่อก็เป็นผู้ที่ทำให้หนูเข้าใจคำว่าวิธีปฏิบัติธรรม
เข้าใจการทำงานของจิตใจเราเองแบบที่ไม่เคยมีใครพูดให้หนูเข้าใจได้มาก่อน
เป็นคนทำให้ความคิดหนูเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้
ถึงขนาดหนูสนใจขั้นตอนการทำงานของขันธ์ 5 จริง ๆ จัง ๆ
จนเอามาวาดเป็นชาร์ตคร่าว ๆ
ถึงแม้หนูจะยังทำได้ไม่ดี แต่ก็รู้สึกได้ว่าเป็นคนที่ดีขึ้น
หนูไม่ได้รู้จักหลวงพ่อเพราะกระแสความฮิตของหลวงพ่อ
หนูบังเอิญได้ฟังหลวงพ่อทางวิทยุเพราะหนูนอนไม่หลับ
ตอนนั้นหนูยังไม่รู้จักว่าหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช เป็นใคร
หนูจดชื่อหลวงพ่อแล้วเอามากูเกิ้ลหา
แล้วหลังจากนั้นถึงได้รู้ว่าหลวงพ่อกำลังดังมากระดับซุปเปอร์สตาร์แห่งวงการศาสนา
หนูฟังไปงั้น ๆ กะให้ง่วง ๆ ไป
แต่ปรากฏว่ายิ่งฟังหนูยิ่งเข้าใจ
เข้าใจคำว่ากฏธรรมชาติ
เข้าใจว่าจิตใจของหนูทำงานยังไง
เวลาที่คนปลอบใจเราแล้วพูดว่า ปล่อยวางซะบ้าง ๆ
จริง ๆ แล้ว

ปล่อยวาง....ยังไง?!!!!!

เข้าใจว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนสามารถทำตามได้จริง ไม่ยากอย่างที่หนูเคยคิด

เข้าใจจนหนูน้ำตาไหล จนหนูบอกตัวเองว่า เรานี่โง้ โง่ ที่ไม่ได้รู้เรื่องอย่างนี้
ถึงแม้จะคิดว่าเข้าใจแต่หลาย ๆ ครั้งยังทำไม่ได้ก็ตาม
แต่หนูเชื่อว่าถ้าทำอย่างที่หลวงพ่อสอน หนูต้องดีขึ้น
และหนูเชื่อว่า มีคนอย่างหนูอีกมากมายที่ความคิดเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเพราะสิ่งที่หลวงพ่อสอน

หนูยังศรัทธาหลวงพ่อ

และหนูก็ยังถือว่าหนูเป็นศิษย์หลวงพ่อตลอดไป

.............................................
ชอบข้อความของหนูน้อยคนนี้มากๆๆๆๆ
ที่รู้จัก หยิบ!
รู้จัก เลือก!
สิ่งที่ใช้ได้ และเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง

และสำคัญอย่างที่สุด คือ
รู้จักแยกแยะ และไม่ตัดสิน ไม่ตกเป็นเหยื่อ ของข่าวสารข้อมูล
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 03/05/2011
ถ้ารู้จักแยกแยะ และไม่ตัดสิน ผมว่าก็ไม่มีใครรู้สึกว่าตกเป็นเหยื่อของใครหรอกครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 04/05/2011
ก่อนหน้านั้นมีเพื่อนมีพี่มากมายที่ให้ซีดีหลวงพ่อปราโมช มา
แต่คงเป็นเพราะ..ยังไม่ใช่เวลาของแฟนพันธ์แท้ที่จะ วิปัสสนาภาวนา
ซึ่งก็เป็นจังหวะที่ถูกต้องแล้วละ ที่ควรมีพื้นฐานของสมถภาวนา
ในตอนนั้นก็เลยไม่ได้เป็น แฟนคลับของหลวงพ่อปราโมชค่ะ

พอมีเหตุข่าวโด่งดังทั้งทางสื่อต่างๆ
ก็เลยอยากรู้นิดหน่อยว่าเป็น....แค่เรื่องทัศนคติที่มีต่อกัน
หรือว่าเป็นเรื่องราวหล่อแหลมจริงๆ

ก็ได้เกิดการเรียนรู้"ธรรมะ" กันจริงในช่วงที่เชคข้อมูลนั่นเลย
ซึ่งแฟนพันธ์แท้ งงๆ กับลูกศิษย์ที่ ก่อนหน้านั้นชื่นชมมากมาย
กับคำสอน พอมีข่าวออกมา แทนที่จะมี วุฒิภาวะแบบหนูน้อย
เจ้าของข้อความที่ยกมาข้างบน แต่กลับร่วมผสมโรง วิพากษ์ฯ
ร่วมเจาะลึกคำสอนตามข้อหาที่หลวงพ่อถูกตรวจสอบ
ร่วมส่งคลื่นลบไปกับข่าว แบบไม่ยอมใช้ปัญญาแยกแยะ แต่คอย
ติดตามว่า ลูกศิษย์ฝั่งไหนจะเยอะกว่ากัน ความจริงก็คงจะอยู่ฝั่งที่เยอะๆนั้นนั่นแหละ!


แต่การเรียนรู้ ที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกระดับก็คือ ข้อมูลจากการ
บอกเล่าของใคร ก็บ่งบอกสภาวะของคนๆนั้น ซึ่งเราควรตัดสิน
ใจได้ว่าใครที่ แลกเปลี่ยนได้ในระดับลึกที่เรียกได้ว่า"ต่อยอด"
(ความหมายคือ คนที่เราคุยแบบต่อยอดความคิดไม่ได้ ควรพูด
คุยบทสนทนาพื้นๆ และเลี่ยงเรื่องคุยที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง)


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 05/05/2011
เกี่ยวกับเรื่องคำสอนที่จะนำไปสู่....การปล่อยวาง ของหลวงพ่อปราโมช
พอถึงเวลาที่จะต้องพิจาราณาด้วยตัวเอง(ตามซีดีที่มีอยู่)
และตามประสาของคนที่ ไม่ค่อยยอมเชื่ออะไรได้ง่ายๆ(มันต้องพิสูจน์)

ระหว่างที่ศึกษาและพิสูจน์ด้วยตัวเอง
ก็มีการบอกกล่าวข้อมูลที่ไม่ต้องใช้การพูด แต่ด้วยการกระทำ
ที่ทำให้ตัวเราได้เห็นการตอบสนองต่อข้อมูลข่าวสารของกลุ่มคน
ที่เรียกได้ว่ามี"สัมมาทิฐิ"(ชมรมสารธรรมล้านนา ยังคงมีการเชิญ
หลวงพ่อปราโมช มาบรรยายธรรมให้กับชมรมในช่วงเวลานั้น
โดยไม่มีใคร ให้ความสนใจข่าวที่ดูเหมือน "ใหญ่" ของใครต่อ
ใครเลย แม้แต่น้อย )


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 07/05/2011
หากกฏฯแห่งการปล่อยวาง....คือกฏฯ ที่หินกว่ากฏฯใดทั้งหมด
หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมทโช เป็นตัวอย่างภาคปฏิบัติที่ต้อง
บอกว่าเป็น บิดาแห่งการปล่อยวาง
ที่ผ่านพ้น....พลังงานที่รุนแรงปานนั้น...ด้วยความเงียบ
หากเป็นบุคลธรรมดาๆ คงต้องมีเรื่องโต้กลับเสียหาย..หลายเท่าตัว
แล้วลูกศิษย์ทั้งหลายพลอยเงียบบบบบบบ......กันไปหมด

สงสัยว่า....พวกเค้าจะเข้าใจ...บทนี้กัน

เหตุผลของเบื้องบน
ไม่แย่ง แต่ชนะได้
ไม่พาที แต่ตอบสนอง
ไม่เรียกหา แต่มาเอง
กฏเกณฑ์ตาข่ายฟ้า
ใหญ่ไพศาลแต่ไม่มีสิ่งใดเล็ดลอด
กฎธรรมชาติคือตาข่าย
ใหญ่ไพศาลแต่เล็ดลอดไม่ได้

คัมภีร์เต้าเต๋อจิง บทที่ 73
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 28/06/2011
กฏเกณฑ์ตาข่ายฟ้า
ใหญ่ไพศาลแต่ไม่มีสิ่งใดเล็ดลอด
กฎธรรมชาติคือตาข่าย
ใหญ่ไพศาลแต่เล็ดลอดไม่ได้
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 28/06/2011

‎**สัญญา กับ ปัญญา.....

พวกท่านคิดว่าต่างกันอย่างไร!! ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญา ต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน ...

ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรตัวว่ามีความรู้มาก ทั้งที่กำลังหลงมาก

จึงมีทิฏฐิมานะมาก ไม่ยอมลงให้ใครง่ายๆ...

ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอน ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ

อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไปโดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง

ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริงๆ

กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด ...


ชมรมพุทธศาสตร์พระจอมเกล้าธนบุรี

................ต่างกันอย่างไร!!
จะให้ตอบก็คง ตอบว่าปัญญา....เข้าใกล้การปล่อยวาง
สัญญา.........ยังมั่นคงอยู่กับการยึด

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 29/06/2011

ในเรื่องของความเชื่อ ปัญญา ต้องเสมอ ศรัทธา
มีปัญญามากแต่ไม่มีศรัทธา จึงมีอคติ
มีศรัทธามากแต่ไม่มีปัญญา จึงงมงาย

ในเรื่องการปฏิบัติ สติ ต้องเสมอ สมาธิ
มีสติมากแต่ไม่มีสมาธิ จึงฟุ้งซ่าน
มีสมาธิมากแต่ไม่มีสติ จึงง่วง


อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2178515#ixzz1R5aJJHIo
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 04/07/2011
รู้มาก ฝึกปฏิบัติน้อย......จะติดแน่นอยู่ในสัญญา
รู้น้อย ฝึกปฏิบัติมาก......จะลื่นไหลทุกสถานการณ์ จักรวาลจะจัดลำดับความสำคัญ และแก้ไขให้กับทุกปัญหาแบบไม่มีฤทธิ์ข้างเคียง


อันนี้เป็นคำเตือนจาก กัลยามิตรทางธรรม ที่เห็นตัวเรายัง
ท่องเที่ยวเสาะหาทางออก ที่ยังต้องใช้เครื่องมือภายนอก....ใจ
และยังต้องใช้เงินทองแบบ...มากมาย


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 08/07/2011
บิดาแห่งการปล่อยวางปี 2010 จะร่วมให้ธรรมะบรรยาย
งานธรรมะเปลี่ยนชีวิต ครั้งที่ 5 วันที่ 31กรกฏาคม 2554
หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1.หลวงตาศิริ อินทฺสิริ หัวข้อบรรยายธรรม:อริยมรรค ทางพ้นทุกข์

2.ดร.สนอง วรอุไร และดร.บรรจบ บรรณ รุจิ ได้ร่วมสนทนาและบรรยายธรรมในหัวข้อ:รู้ทันทวนกระแสโลก

3.หลวงพ่อ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช หัวข้อบรรยายธรรม: รู้ทันกันหลง
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 12/07/2011
ขออนุญาต ทุกท่านนะครับ ขอรวบรวมและแบ่งปันต่อนะครับ แม้เรื่องราวที่ได้อ่านในห้องถามตอบนี้จะผ่านเวลามาหลายปี แต่ยังใหม่สดเสมอและนำไปปรับใช้ได้แน่นอนครับ ได้อ่านในหลายกระทู้แล้วซาบซึ้งในความมีน้ำใจของหลายท่าน รวมถึงนักเขียนทั้งหลาย หลายเล่มหลายเนื้อหาที่ผ่านได้หยิบอ่านซื้อหา(อ่านจบบ้างยังไม่จบบ้าง)

ผู้น้อยขอคาราวะ และหากผิดพลาดไปขอคำชี้แนะด้วยครับ
ชื่อผู้ตอบ : น. ณ เมืองฟ้า ตอบเมื่อ : 10/11/2014


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code