สมาธิ
สืบเนื่องจากการพูดถึงเรื่อง การทำสมาธิ ในกระทู้ "มุมมองเรื่อง การหยุดคิด" ผมเลยไปนั่งทบทวนมิติของคำว่า สมาธิ และอยากขอแชร์กับผู้รู้และผู้ปฏิบัติ ว่าผมเข้าใจคลาดเคลื่อน อย่างไร เป็นประเด็นๆ ดังนี้ครับ

การดำรงอยู่ในสมาธิ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. การกำหนดจิตรู้ ดิ่งอยู่เฉพาะที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรืออาการใดอาการหนึ่ง หรือกิจใดกิจหนึ่ง
2. การกำหนดจิตรู้ อยู่ทั่วทุกอณูแห่งกาย
3. การกำหนดจิตรับรู้ ทุกสิ่งโดยรอบว่าเสมอกัน เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง

การเจริญสมาธิคือ หนทางเข้าสู่สนามพลังงาน หรือมณฑลแห่งพลัง หรือวิถี หรือธรรมธาตุนั้น
โดยอาศัยความสงบ ว่าง จากความร้อยรัด สับสน สอดส่าย วิตก กลัว หรือกังวลของฐานใจ

สมาธิทั้ง 3 ระดับ สรุปเป็นหลัก เพื่อเอาไว้ระลึกรู้ และปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์ หรือเป้าหมาย
ให้ทุกขณะของชีวิต คือ การหมุนเวียนการดำรงอยู่ของใจ ในสมาธิทั้ง 3 ระดับนี้

ประโยชน์เบื้องต้น ก็เพื่อบรรลุปาฏิหาริย์ในทุกสิ่งที่ปรารถนา
ประโยชน์เบื้องสูง ก็เพื่อใช้เป็นฐานในการพิจารณา ความไม่มีอยู่จริงของสิ่งทั้งสิ้นทั้งปวง การลอกทิ้งซึ่งสัญญาฝั่งอัตตา การเห็นความเป็นอนิจจัง และอนัตตา เพื่อความเป็นอิสรภาพโดยนิรันดร

การเข้าสมาธิ เฉยๆ เป็นสมถะ ได้ความสุข เป็นอิสรภาพแบบชั่วคราว
การเข้าสมาธิ แล้วพิจารณา เป็นวิปัสสนา จะนำไปสู่อิสรภาพแบบถาวร

. . .
ชื่อผู้ส่ง : นันท์ วิทยดำรง ถามเมื่อ : 04/07/2010
 


อยากแชร์ในฐานะผู้กำลังฝึกปฎิบัติ
และคิดว่ายังไม่ได้เป็นผู้รู้ในระดับที่จะแยกย่อย หรือสรุปเป็นหมวดหมู่
ให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายๆได้ แต่ก็พอจะจดจำนิยาม "สมาธิ" จากแหล่งที่มาที่ชอบและประทับใจได้ค่ะ

คุณริชชี่ ให้คำนิยาม "สมาธิ" ว่า สงบ และ มีสติ
ถ้าเทียบภาษาที่เค้าใช้สากล เข้าใจว่าเป็น สัมมาสมาธิ(วิปัสสนา)

ศาสตร์สะกดจิต ... สมาธิ แปลว่าสงบ(ไม่ต้องการมีสติ) เข้าใจว่าเป็น สมถสมาธิ *ซึ่งถึงแม้จะเป็นซับเซทของสมาธิหรือวิปัสสนา ก็ยังถือว่า
เป็นสมาธิที่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาเฉพาะกิจ และเป็นบันไดขั้นแรกๆ ของการฝึกสมาธิได้
(ดังนั้นสมถสมาธิ ไม่จำเป็นถูกเหมารวมเป็นมิจฉาสมาธิ)

การเจริญสมาธิคือ หนทางเข้าสู่สนามพลังงาน หรือมณฑลแห่งพลัง
ว่าง จากความร้อยรัด สับสน สอดส่าย วิตก กลัว หรือกังวลของฐานใจ


หนทางเข้าสู่สนามพลังงาน !!!!
ว่าง จากความกังวลของฐานใจ!!!!


ประโยชน์เบื้องต้น ก็เพื่อบรรลุปาฏิหาริย์ในทุกสิ่งที่ปรารถนา

บรรลุปาฏิหาริย์ในทุกสิ่งที่ปรารถนา!!!!

การกำหนดจิตรับรู้ ทุกสิ่งโดยรอบว่าเสมอกัน เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง

เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง!!!!

เอาแบบภาคสนามในกิจจกรรมเดิมๆ แต่ความมันส์ที่เปลี่ยนไปก็ละกันนะคะ

สิ่งที่เปลียนไปแบบ น่าตื่นเต้นคือ "จังหวะ" ค่ะ
จังหวะในการติดต่อ ปฎิสัมพันธ์กับผู้คน
ผู้กำกับ หรือผู้อำนวยการสร้าง ละครชีวิตที่ให้แสดงอยู่เนี่ย
เค้าเริ่มงานตรงเวลา และเค้าก็มีวิธีที่จะทำให้ผู้ร่วมแสดงคนอื่นๆ มาตรงเวลา
ตัวละครเอก(อย่างเรา อิอิ) ไม่ต้องลุ้น หรือ มีอารมณ์หงุดหงิดเพราะฉากทั้งหมดยังเตรียมไม่พร้อม หรือมีความผิดพลาด
ไม่ต้องเจอปัญหา ผู้อำนวยการสร้างเบี้ยวค่าตัว

และสำคัญสุดคือ ผู้คนที่ผ่านเข้ามาแต่ละฉากการแสดง
เหมือนว่า

เค้ารอเราอยู่น่ะ!


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 05/07/2010
ขอเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ
ฉากไหนที่อันตราย ผู้กำกับเค้าจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เราต้องรับบทหนักเองค่ะ

เค้าจะ ตัด "สัญญาณที่เป็นลบ" ทั้งหมด
หากว่าช่วงไหนที่เรา

เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง!!!!

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 05/07/2010
ท่านพุทธทาสภิกขุ กับ ติช นัท ฮันห์ : ความต่างกับความเหมือน
"อนัตตา คือ interbeing"

ตีพิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๙๔๒ วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓


ท่านพุทธทาสภิกขุ และท่านนัทฮันห์ เป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของพระไพศาล วิสาโลมาโดยตลอด ท่านกล่าวถึงความเหมือนกันของท่านทั้งสองไว้ว่า อย่างแรกคือเรื่องคำสอนหรือหลักธรรม อาจารย์พุทธทาสเน้นเรื่องอนัตตามาก ซึ่งก็ตรงกับที่ท่านนัท ฮันห์เน้นเรื่องอนัตตา เรื่องความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ซึ่งคือแก่นหัวใจของพุทธศาสนา ท่านพุทธทาสยังมีจุดเด่นที่สอนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี มันก็คืออีกแง่หนึ่งของอนัตตา คือสิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนของมันเอง แต่เกิดขึ้นได้เพราะอิงอาศัยปัจจัยอื่น

ซึ่งท่านนัท ฮันห์ไม่ได้พูดคำว่า อิทัปปัจจยตา แต่ธรรมะที่ท่านเน้นก็คือการใช้คำว่า interbeing มีคนแปลว่าดั่งกันและกัน จะแปลให้ถูกก็คือ สภาวะที่อิงอาศัยกันและกัน

“ตรงนี้ท่านนัท ฮันห์จะพูดมาก พูดด้วยภาษากวีว่า เมื่อคุณดูกระดาษแผ่นนี้ คุณเห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เห็นต้นไม้ เห็นเมฆ เห็นสายฝน ท่านพยายามชี้ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันเชื่อมโยงกัน มันอิงอาศัยกันและกัน และมันเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

“อาจารย์พุทธทาสพูดถึงอทวิภาวะ โดยปกติ คนทั่วไปมองอะไรเป็นของคู่ ดีชั่ว สั้นยาว กลางวันกลางคืน เกิดกับตาย อาจารย์พุทธทาสบอกว่า แท้จริงแล้ว มันไม่ได้แยกกันเป็นขั้วตรงข้าม มันอยู่ด้วยกันเหมือนกับหน้ามือและหลังมือ มันไม่ได้แยกจากกันเลย ความจริงเป็นอย่างนั้น ท่านนัท ฮันห์ก็พูดเหมือนกันว่า ถ้ามือซ้ายเจ็บมือขวาก็เจ็บด้วย เกิดกับตายไม่ได้แยกจากกัน ท่านจะใช้ภาษากวีพูดว่า ขยะกับดอกไม้ ไม่ได้แยกกัน เมื่อเรามองขยะ เราเห็นดอกไม้ไหม นี่คือความเป็นจริงซึ่งคนทั่วไปไม่เข้าใจ แต่ถ้าเราใจตรงนี้ เราจะรู้เลยว่า ความเกิด ความตายไม่ได้แยกจากกัน เรากับเขาก็ไม่ได้แยกกัน นี่คือสาระสำคัญอันหนึ่งของพุทธศาสนาที่อาจารย์พุทธทาสและท่านนัท ฮันห์เน้น

“ประการต่อมา ทั้งสองท่านเน้นเรื่องสติมาก คือเรื่องการเจริญสติในชีวิตประจำวันและการเจริญสติปัฏฐาน ท่านทั้งสองชี้ให้เห็นถึงว่า ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ระหว่าง การทำงานคือการฏิบัติธรรม ท่านพุทธทาสชูเป็นคำขวัญ ท่านนัท ฮันท์ก็เน้นมากว่า เมื่อเรากินส้ม เมื่อเราดื่มน้ำชา เมื่อเราเดินบนพื้นดินนั่นแหละคือการปฏิบัติ ท่านพูดถึงขนาดว่า การเดินบนพื้นโลกคือปาฏิหาริย์ การเดินบนพื้นโลกก็คือความศักดิ์สิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในห้องอย่างเดียว ไม่ว่าเราจะทำอะไรอย่างมีสตินั่นคือการปฏิบัติธรรม

“เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมของทั้งสองท่านจะไม่แยกตัวเองออกจากโลก ธรรมะก็จะไม่แยกขาดจากสังคม ท่านนัท ฮันห์เน้นมากเรื่อง Engaged Buddhism คือศาสนาพุทธที่เข้าไปสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและสัมพันธ์กับสังคม ไม่ได้เก็บตัวอยู่แต่ในวัด หรือว่าอยู่แต่ในห้องพระ แต่ไปสัมพันธ์กับผ้อื่นด้วยเมตตา กรุณา และด้วยสติ นี่คือความเหมือนกัน

“และเนื่องด้วยท่านอาจารย์พุทธทาสศึกษามามาก ท่านเข้าใจเรื่องเซน เรื่องวัชรยาน ท่านก็เลยกว้าง ท่านก็เลยไม่ติดอยู่กับความเป็นเถรวาท ท่านกว้างจนกระทั่งเห็นความคล้ายคลึงกันของพุทธศาสนาและบรรยายเรื่องคริสตธรรม-พุทธธรรม เช่นเดียวกับท่านนัท ฮันห์ นี่คือความเป็นอิสระจากกรอบ สามารถจะข้ามพ้นกรอบ ข้ามพ้นยี่ห้อ หรือว่าข้ามพ้นเส้นแบ่งระหว่างศาสนา เส้นแบ่งระหว่างเชื้อชาติ เพราะสิ่งเหล่านี้คือสมมติ อาตมาคิดว่า ตรงนี้เป็นลักษณะเด่นอันหนึ่งของท่านอาจารย์พุทธทาสเมื่อเทียบกับครูบาอาจารย์ในทางเถรวาทของไทยที่ผ่านมา”
ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 08/07/2010
โอ้ .. ขอบคุณคุณหนึ่งมากครับ ยอดเยี่ยมจริงๆ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 08/07/2010
วันนี้ได้มีโอกาสรู้จักการทำสมาธิแบบเคลื่อนไหวที่เรียกว่าเต้าเต๋อจิง ค่ะ
ที่ทึ่งมากๆก็คือ อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่า (เป็นวิศกรหญิง)
เป็นผู้มีญาณทัศนะ และหยั่งรู้เหตุการณ์ภัยพิบัติของทวีปเอเซียล่วงหน้า

และพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นภัยพิบัติ

หลักๆก็คือ
ทุกคนในโลกต้องตระหนัก และร่วมมือร่วมใจกันค่ะ
(อย่ามัวทะเลาะ ยื้อแย่งทรัพยากรกันอยู่เลย)
และท่านได้รวบรวมเรื่องราวภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น มาเล่าเป็นเพลง(แต่งเอง)


และที่เป็นความหวังที่ดีคือ.............สมาธิหมู่ ช่วยโลกใบนี้ได้จริง!!!!!
ก่อนเกิดเหตุซึนามิที่ไทยปี 2547
อาจารย์ท่านนี้ได้โทรฯมาที่ มูลนิธิที่ประเทศไทย บอกว่า ให้จัดนั่ง
สมาธิหมู่ หมื่นคน ได้มั้ย?? จะมีเหตุการณ์ร้ายแรงและมีคนตายมากมาย
หากจัดได้ จะช่วยลดความรุนแรง.........ตอนนั้นมูลนิธิดังว่าจัดไม่ได้
(จึงมีคนตายเรือนแสน)

มาปีนี้อาจารย์ท่านเดิม บอกว่าก่อนถึง ปี 2555
เตรียมลดภัยพิบัติที่ภาคเหนือค่ะ

"อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่า เป็นผู้นำปรัชญาความคิดของคัมภีร์ของปรมาจารย์เหล่าจื่อ มาประสานกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาสร้างสรรค์เป็นเทคนิคเต้าเต๋อซิ่นซี เทคนิคนี้เป็นการบริหารกระตุ้นสมองซีกขวา มีท่ารำ การบริหารและนั่งสมาธิ"


คัมภีร์เล่มนี้ดังมาก แม้แต่ บารัก โอบามา ก็ศึกษาคัมภีร์เล่มนี้ ถือเป็น
ศาสตร์ที่ช่วยให้นักปกครอง นักการเมือง นักธุรกิจ เป็นราชาแห่ง
คัมภีร์ เนื้อหาเป็นปรัชญาพูดถึงความลี้ลับของจักรวาลทั้งหมด ถ้าคน
เราอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุขเราจะทำอย่างไร เป็นเรื่องจิตล้วนๆ
คนเรียนแพทย์ จิตวิทยาขั้นสูงต้องรู้จักหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างดี


เต๋า แปลว่ากฎเกณฑ์การเคลื่อนไหวสรรพสิ่งของจักรวาลเป็นผู้คุมธรรมชาติ เต๋า คือ ธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าเรียก ธรรมะ


เต๋อ คือ คุณธรรม เต้าเต๋อ ต้องอยู่คู่กัน คนที่จะอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติต้องมีคุณธรรม มีความงาม มีจริยธรรม คุณธรรมๆ มี 3 ระดับ ล่าง กลาง สูง คนที่มีเต้าเต๋อ คนจีนเขาบอกว่าคบได้


ซิ่น แปลว่า สื่อ มวลสื่อในจักรวาล เราตื่นขึ้นมาการพูดก็เป็นสื่อทางเสียง ร่างกายที่แต่งตัวอย่างนี้สื่อว่าเป็นชุดออกกำลังกาย บ้านที่สวยงามร่มรื่นสื่อว่า สื่อมีทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปคือ ทุกวันเรารับสื่อที่ดีหรือไม่ดีมากกว่า ถ้าวันนึงเรารับแต่สื่อไม่ดีจิตใจจะหดหู่ซึมเศร้า ขี้กังวล ขี้น้อยใจ ถ้าทุกวันรับแต่สื่อเหล่านี้ร่างกายก็หดหู่ ภูมิต้านทานจะน้อยลง

จาก นสพ กรุงเทพธุรกิจ 14 มีนาคม 2552

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 08/07/2010
มีการทดลอง สนับสนุนเรื่อง พลังสมาธิ มีผลต่อความร้อนของโลก(ลดลง)
โดยให้ ขนาดของก้อนน้ำแข็งที่ใช้ และ อุณหภูมิห้องเป็นตัวถูกควบคุม
การทดลองแรก ปล่อยให้น้ำแข็งละลาย จนหมด(จับเวลา)

การทดลองที่ 2 เหมือนการทดลองแรก เพิ่มตัวแปรคือ ให้มีคนนั่ง
สมาธิหมู่ ในบริเวณห้องทดลอง

การทดลองที่3 เหมือนการทดลองแรก เพิ่มตัวแปรคือ
อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่า นั่งสมาธิ ในบริเวณห้องทดลอง


ผลการทดลอง เวลาที่ใช้ในการที่น้ำแข็งทั้งละลายหมด จากมาก>>น้อยคือ
การทดลองที่3 >การทดลองที่ 2 >การทดลองแรก

สรุปว่า พลังของสมาธิลดความร้อนค่ะ


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 08/07/2010
อยากคุยด้วยค่ะ
เคยอ่าน "ปาฏิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" ของท่าน ติช นัท ฮันท์ แล้วชอบมาก ชอบวิธีการคิดของท่าน เช่น การให้เรามีความสุขอยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ แม้ขณะที่เรากำลังล้างจานซึ่งดูเป็นงานที่น่าเบื่อ ท่านก็สอนให้เรารู้สึกสนุกกับการล้างจาน มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านนั่งอยู่กับลูกศิษย์ที่กำลังกินส้ม โดยใส่ส้มทีละ 2 -3 กลีบใส่ปาก และทำแบบรีบกินรีบเคี้ยวเหมือนอยากให้หมดไวไว ท่านจึงเรียกลูกศิษย์ของท่านแล้วถามว่า "ท่านกำลังกินส้มอยู่ หรือกำลังกินโครงการ" นั่นแหละลูกศิษย์ของท่านจึงรู้สึกตัว เลิกคิดถึงโครงการสารพัดที่มีในหัว และหันมากินส้มทีละกลีบพร้อมดื่มด่ำกับรสชาดของส้มอย่างแท้จริง คือไม่ต้องอธิบายอะไรมาก คำพูดของท่านประโยคเดียวเข้าใจถึงแก่นเลย
ส่วนงานของท่านพุทธทาสยังไม่เคยอ่าน (เชยมากใช่ไหมคะ) จำได้แต่บทกลอน "มองแต่แง่ดีเถิด" ตอนนี้มี "คู่มือมนุษย์" ของท่านอยู่ในมือแล้วเดี๋ยวจะรีบอ่านค่ะ เพราะเคยได้ยินเขาพูดกันว่าเหตุผลของการอ่านหนังสือนั้นมีอยู่ 3 อย่างคือ 1.อ่านเพราะเขาอ่านกันทั่วโลก 2.อ่านเพราะจำเป็นต้องอ่าน และ 3.อ่านเพราะชอบ กรณีของหนังสือท่านพุทธทาสน่าจะอยู่ในข้อแรกเลยค่ะ
ตอนนี้สนใจแนวการปฏิบัติธรรมของท่าน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ณ สวนสันติธรรม จ.ชลบุรี ท่านสอนให้ตามดู ตามรู้จิตของตนเอง เป็นการปฏิบัติที่สนุกดี ใครสนใจแนวนี้ลองเสริ์ชข้อมูลในชื่อของหลวงพ่อดูนะคะ

ชื่อผู้ตอบ : พลังโอม ตอบเมื่อ : 09/07/2010
"ปาฏิหารย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" เป็นหนังสือเล่มแรก ที่ทำให้ผมได้อ่านหนังสือพุทธศาสนาในแบบมหายาน และรู้จักชื่อของท่าน ติช นัท ฮันท์ (ซึ่งนั่นมันกว่า 25 ปีแล้ว .. เฮ้อ) จำได้ว่าตอนนั้น ถือว่าเป็นหนังสือที่เป็นที่นิยมของคนวัยแสวงหา อ่านครั้งแรกแล้วชอบเช่นกัน หากคุณพลังโอม เพิ่งมาอ่านตอนนี้ สำหรับผม คงต้องบอกว่า เชยมาก ก ก .. ฮา

ความจริงไม่เชยหรอกครับ ทั้งของท่านติช นัท ฮันท์ และของท่านพุทธทาส อ่านเมื่อไหร่ ก็ไม่มีคำว่าเชย อีกร้อยปีค่อยอ่านก็ไม่เชยครับ สำหรับผมแล้ว ทั้งสองท่านนั้น ถือเป็นอมตะนิรันดร์กาล

หนังสือของท่านพุทธทาสนั้น จำได้ว่าเริ่มอ่านในช่วงเดียวกัน และสำหรับผมแล้ว หนังสือของท่านพุทธทาสทำให้ผมสนใจและเข้าใจพุทธศาสนามากขึ้น จากแต่เดิม เกิดมาก็รู้แค่ว่านับถือศาสนาพุทธตามพ่อแม่

ดังนั้นผมเชียร์เต็มที่ให้อ่านงานของท่านครับ เลือกอ่านดูที่ชอบก็ได้ครับ เพราะหนังสือของท่านก็มีหลากหลาย มีทั้งหนักๆ และเบาหน่อย "คู่มือมนุษย์" นั้นสุดยอดแน่ แต่หนักหน่อย หากเบาๆ ก็มี เช่น แนวนิทานเซน หรืองานแปลแนวมหายานหรือเซ็น อย่างเช่น "พระสูตร ของเว่ยหล่าง" หรือ "คำสอนของฮวงโป" ก็น่าสนใจครับ อาจจะมีความสนุกและคมๆ แนวเดียวกับท่านติช นัท ฮันท์ เหมือนกัน

ไม่ทราบคุณพลังโอม เคยอ่านงานของท่านกฤษณมูรติ ไหมครับ เห็นชอบเรื่องการตามดูจิตตนเอง อาจจะชอบหนังสือของท่าน เพราะเป็นมุมมองเรื่อง การเพ่งพินิจภายในเป็นหลัก น่าจะสนับสนุนกันได้ ลองเลือกๆ อ่านดูครับ เพราะมีหลายเล่ม หลายหัวข้อเหมือนกัน เป็นอีกหนึ่งท่านที่ผมเริ่มอ่านในยุคเดียวกัน จำได้ว่า เล่มยอดฮิตตอนนั้นคือ "แด่หนุ่มสาว" เข้ากับวัยเราตอนนั้นเลย ตอนนี้เลยไม่กล้าหยิบมาอ่านแล้ว อายครับ .. ฮา

. . .
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 10/07/2010
มีข่าวดี สำหรับพี่นพรัตน์และคุณหนึ่งค่ะ (รวมผู้สนใจเต้าเต๋อจิง )
ช่วงนี้อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่า อยู่เมืองไทยเป็นเวลาติดต่อกัน 3เดือนค่ะ
จะอยู่ถึงสิ้นเดือน กันยา ที่จะถึงนี้ค่ะ

ถ้าโชคดี นัดเวลาตรงกัน ไปพร้อมกันได้ คงจะดีเนอะ
จะได้เจอ หญิงอัศจรรย์พร้อมกันน่ะ

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 28/07/2010


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code