ช่วยตอบทฤษฎีควันตัมหน่อยคะ
อยากให้คุณนันท์อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีควันตัมอย่างง่ายๆให้เข้าใจหน่อยคะ
ชื่อผู้ส่ง : ปิยนันท์ ถามเมื่อ : 12/04/2008
 


ต้องขอเรียนว่าผมไม่มีความรู้เรื่องนี้โดยละเอียดลึกซึ้ง ที่เคยหาอ่านก็เพื่อพอที่จะนำมาประกอบความเข้าใจเรื่องที่สนใจอยู่เท่านั้น (คงหัวอกเดียวกับคุณปิยนันท์) ผมสรุปได้มาเป็นภาพรวมดังนี้

ทฤษฏีควอนตัม (และทฤษฏีสัมพันธภาพ) นั้นนับเป็นจุดเริ่มและเป็นพื้นฐานสำคัญของ ฟิสิกส์สมัยใหม่ โดยทฤษฎีควอนตัม นั้นเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยปรากฏการณ์ของอะตอม ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสสารและพลังงาน ในระดับหน่วยที่เล็กกว่าอะตอม คือ ระดับหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดหรือในระดับอนุภาค

นึกภาพดังนี้ครับ
1. เมื่อเราแยกองค์ประกอบของ สสารหรือวัตถุ ออก มันจะประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า โมเลกุล
2. เมื่อเราแยกองค์ประกอบของโมเลกุล ออก มันจะประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า อะตอม
3. เมื่อเราแยกองค์ประกอบของ อะตอม ออก จะประกอบด้วย นิวเคลียส เป็นศูนย์กลาง และมี อนุภาค คือ อิเล็กตรอน วิ่งหมุนวนอยู่(ในที่ว่าง)รอบนิวเคลียส
และตัว นิวเคลียส นั้นก็ประกอบด้วย อนุภาค คือ โปรตอน และ นิวตรอน รวมทั้งอนุภาคชนิดอื่นๆ

มีคนเทียบขนาดระหว่าง อะตอม กับ นิวเคลียส ไว้อย่างนี้ครับ ถ้าหากเราขยาย อะตอม ให้มีขนาดเท่ากับโดมของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แห่งกรุงโรม (ซึ่งเป็นโดมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน่าจะประมาณครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอล) นิวเคลียส จะมีขนาดเพียงขนาดของเกลือหนึ่งเม็ด ถ้าจะจินตนาการก็คือ ภาพของเม็ดเกลือหนึ่งเม็ดตรงจุดศูนย์กลางของโดม และมีละอองฝุ่นผงที่เปรียบได้กับ อิเล็กตรอน ล่องลอยอยู่รอบๆ ในที่ว่างของโดม นั่นก็คือ ภาพการอยู่ร่วมกันของ นิวเคลียส และ อิเล็กตรอน
ระดับนี้แหละครับ คือ โลกในระดับควอนตัม ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดไม่สามารถย่อยต่อไปได้อีก อันถือว่าเป็น “องค์ประกอบพื้นฐาน” ของสสารและวัตถุ

หลักการที่น่าสนใจสำหรับผมใน ทฤษฎีควอนตัม คือ การพบว่าในระดับหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดนี้ อนุภาคนั้นมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค (หรือคลื่นก็มีคุณสมบัติเป็นอนุภาคเช่นกัน) การที่มันจะปรากฏหรือแสดงตัวเป็นคลื่นหรืออนุภาคนั้น จะสัมพันธ์กับผู้สังเกต โดยขึ้นกับเจตนาในการสังเกต เช่นถ้านักวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามเพื่อวัดผลด้านคลื่นมันจะเป็นคลื่น ถ้าตั้งคำถามเพื่อวัดผลด้านอนุภาคมันจะเป็นอนุภาค (น่าสนใจมากตรงที่มันขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่เป็นผู้สังเกต หรืออาจพูดได้ว่าขึ้นกับจิตของผู้สังเกต) และมีข้อมูลการทดลองที่บอกว่า ที่สนามพลังงานในระดับอนุภาคนี้ ไม่มีมิติด้านเวลาสถานที่ มันเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันแบบทันที (คือไม่มีมิติด้านเวลา) และโดยไม่ต้องมีการส่งผ่านข้อมูล (คือ ไม่มีมิติด้านสถานที่)

โลกในระดับควอนตัม ได้ทำให้เราเห็นรูปธรรมของความเป็นหนึ่งเดียวของจักรวาลและทุกสรรพสิ่ง ว่าเมื่อเราย่อยทุกสิ่งออกจนเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในระดับอนุภาคแล้วมันคือ โลกของพลังงานที่ไม่ได้อยู่แยกขาดจากกัน และมันกลับกลายเป็นข่ายโยงใยของความสัมพันธ์ระหว่าง สรรพสิ่ง กับ มนุษย์ผู้สังเกต เป็นสายสัมพันธ์ของกระบวนการสังเกตและคุณสมบัติของสิ่งที่ถูกสังเกต ขึ้นในระดับโลกของหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดนี้ หรือจะพูดได้ว่าเราทุกคนล้วนสร้างปฏิกิริยาหรือมีผลต่อทุกสิ่งที่เรารับสัมผัสและเอาจิตเข้าไปเกี่ยวข้อง

ผมสรุปเป็นความรู้เพื่อประกอบเป็นความเข้าใจของผมไว้ดังนี้ครับ
1. โลกทางกายภาพทั้งหมด ที่เราสัมผัสได้นี้ โดยพื้นฐานแท้จริงแล้วนั้นคือ พลังงาน ที่บางครั้งมันปรากฏรูปขึ้นมาให้เรารับรู้ได้ ด้วยกรอบทางอายตนะที่เรามี
2. เรื่องนี้มันช่วยสลายภาพลวงตา (อันเกิดจากกรอบทางอายตนะของเรา) เกี่ยวกับขอบเขต หรือการแยกชิ้นแยกก้อน ว่าเป็นหิน เป็นโต๊ะ เป็นเรา เป็นเขา เป็นสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ฯลฯ ว่าที่จริงในระดับพื้นฐานแล้ว ก็ล้วนเป็นเพียงพลังงานที่เชื่อมโยงถึงกัน เป็นหนึ่งเดียว มีการถ่ายเทพลังงานและข้อมูล (ผ่านการให้และการรับ) สัมพันธ์กันเป็นสนามพลังงานใหญ่สุดประมาณ ไม่รู้ขอบเขตได้

ซึ่งแบ่งมิติหรือระดับของการมีอยู่ของทั้งหมดนี้ ได้เป็น 3 ระดับ
1. โลกในระดับกายภาพ
(ถ้าเปรียบกับมนุษย์ ก็คือ ร่างกาย)
2. โลกในระดับพลังงานหรือควอนตัม
(ถ้าเปรียบกับมนุษย์ โชปรา จะเทียบว่าคือ จิตสำนึก หรือความคิด ความรู้สึก ความทรงจำ อารมณ์ เป็นต้น)
3. โลกในระดับความว่าง (หมายถึงที่ว่างที่รองรับโลกทั้ง 2 ระดับข้างบน)
ถ้าเปรียบกับมนุษย์ โชปรา จะเทียบว่าคือ จิตวิญญาณ ส่วนทางพุทธศาสนาของเรา ก็อาจหมายถึง จิตว่าง หรือจิตอันบริสุทธิ์

สิ่งที่ โชปรา เน้นก็คือ การทำความเข้าใจ โลกในระดับที่ 2 และ 3 ซึ่งมักจะประกอบ สอดแทรกอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นช่วงๆ ตัวอย่างเช่น ใน “กฎแห่งความมุ่งมั่นและความปรารถนา” โชปรา บอกว่ามนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์พิเศษ ที่สามารถรับรู้ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อมูลและพลังงานในระดับควอนตัมหรือหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดนี้ได้ โดยผ่านทางระบบประสาทของเรา ด้วยคุณสมบัติสองอย่างที่เรามี นั่นคือ ความสนใจ และ ความมุ่งมั่น โดยผ่านทาง จิตสำนึก หรือความคิดของเรา ซึ่งมันจะเกิดการส่งต่อ หรือเกิดปฏิสัมพันธ์สู่สิ่งแวดล้อม สู่ทุกสรรพสิ่งทั่วทั้งจักรวาล ผ่านสนามพลังงานในระดับหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดที่เชื่อมถึงกันทั้งหมดนี้ และเป็นช่องทางที่เราใช้บรรลุในทุกสิ่งที่เราปรารถนา หรือหากจะมองอีกมุมหนึ่งผมว่าสามารถใช้ความรู้นี้ ช่วยขยายความเข้าใจในเรื่อง กฎแห่งกรรม แบบวิทยาศาสตร์ได้เช่นกัน

ชักยาวเกินกว่าที่คุณปิยนันท์บอก หากความเข้าใจเรื่อง ควอนตัม ของผมคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง หากมีผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยจะขอขอบคุณยิ่งครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 16/04/2008
ตอบให้เห็นถาพซะ......ชัดเจน
ยังบอกไม่ลึกซึ้งอีก
ชื่อผู้ตอบ : ผู้ชม ตอบเมื่อ : 21/04/2008


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code