คุณนีโอครับ..ก็อย่างที่ผมกังวลนั่นแหละว่า การแสดงความเห็นตรงนี้มันอาจไม่สามารถแสดงความกระจ่างได้อย่างที่เราต้องการ จึงอาจทำให้มีการตีความไปคนละทิศคนละทางได้ แต่ก็อย่างที่ผมว่าไว้นั่นด้วยเช่นกันว่าประเด็นนี้มันอาจมีความทับซ้อน ซ่อนเงื่อนปม หลากหลายมิติ ซึ่งอาจต้องดูเป็นเรื่องๆ เป็นกรณีๆ ไป และถ้าเอาคำพูดของคุณนีโอมาพูดก็สามารถพูดได้ว่า "มันมีเส้นบางๆ" อยู่เหมือนกัน แต่ประเด็นสำคัญคือ อย่าเพิ่งด่วนสรุปฟันธงไปอย่างสุดโต่งก็แล้วกัน (นี่ก็เตือนตัวของผมเองด้วย!) และจะว่าไปแล้ว คนรอบข้างที่คุณนีโอได้รับปฏิกิริยาตอบสนองนั้น ก็อาจเป็นคุณประโยชน์กับคุณนีโอได้อยู่เหมือนกัน ในแง่ที่มันท้าทายมากทีเดียวว่าเราจะสามารถแสดงความคิดรวบยอดของเราในเวลาสั้นๆ อย่างกระทัดรัดได้หรือไม่ เหมือนที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อมีคนมาถามผมอย่างกะทันหันว่า "จิตวิญญาณ" คืออะไร ผมก็ต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณตอบในทันที ซึ่งก็ท้าทายดีเหมือนกัน นี่มันก็อาจเป็นเครื่องทดสอบความเข้าใจของเราได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งในเวลากะทันหัน เราอาจนึกไม่ทัน แต่เมื่อเรามีเวลาไตร่ตรอง เราก็สามารถทดสอบตัวเองดูได้ด้วยการตอบสั้นๆ กับตัวเอง
ผมไม่ได้บอกว่า "การลอก" ข้อความมาแบ่งปันนั้น มันเป็นเรื่องไม่ดี ผมแค่พูดกระเซ้าคุณเพื่อเปรียบเปรยว่าหากใช้ในวัตถุประสงค์เดียวกันแล้ว เมื่อเทียบกับการจำ (จากการอ่านหรือการฟัง) มาเล่าอีกทีนั้น การลอกอาจได้คะแนนน้อยที่สุด เพราะไม่สามารถวัดได้ว่าเข้าใจจริงหรือไม่ แต่ในแง่ของการลอกข้อความเพื่อมาบอกว่าเราประทับใจข้อความใด หรืออาจต้องลอกเพราะต้องใช้อ้างอิง หรือต้องลอกเพราะต้องคงเนื้อหานั้นไว้ให้ได้ทุกถ้อยกระทงความ (บทกวี คำประพันธ์ วรรคทองต่างๆ ฯลฯ) มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ มันต้องลอก ผมก็ทำอยู่บ่อยๆ ทำมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือแล้ว โดยเฉพาะตอนสอบ (ฮา) กล่าวโดยสรุปคือ ผมเข้าใจเจตนารณ์ของคุณนีโอแล้วครับ
คุณ dadeeda ครับ ขอบคุณครับสำหรับข้อคิดความเห็น เรื่องที่ผมพูดถึงลำดับพัฒนาการของผู้สอน หรือของหนังสืออะไรนั่น ก็อย่าไปจริงจังอะไรกับมันนัก ผมไม่ได้ต้องการทำให้การอ่านมันยุ่งยากถึงขนาดนั้น ผมเพียงตั้งข้อสังเกตว่าถ้าเรารู้ถึงพัฒนาการของผู้สอน หรือผู้เขียน เราอาจเข้าใจได้เหมือนกันว่า ณ ห้วงเวลาในขณะนั้น เขาสอน หรือเขาเขียนด้วยรูปการจิตสำนึกใด ในเวลาที่ใช้ชื่อว่า "ภควัน ศรีรัชนี" นั้น เขาต้องเน้นคัมภีร์เล่มนี้เป็นพิเศษ เพราะเป็นคัมภีร์ของฮินดู และเขาต้องพูดให้คนอินเดียฟังเป็นหลัก แต่เมื่อเขาเปลี่ยนชื่อเป็น "โอโช" แล้ว เขาก็พยายามขยายวงคำสอนของเขาไปยังคนในศาสนาอื่นด้วย เช่น พุทธ เต๋า และเซน เป็นต้น และเมื่อเขาขยายบทบาทเป็นคุรุในระดับโลก เขาก็ต้องสอนผ่านหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจในระดับสากล เช่น Intuition , Maturity , Freedom , Intelligence , Creativity , Emotional Wellness เป็นต้น แต่โดยหลักๆ แล้ว เขาก็สอนสัจจธรรมสำคัญๆ ที่เป็นแก่นแกนจริงๆ อยู่ไม่กี่เรื่อง เพียงแต่สอนผ่านหัวเรื่องอะไร และจะมุ่งเน้นอะไรเป็นสำคัญเท่านั้น เมื่อเราเห็นพัฒนาการการสอนของเขา มันก็ทำให้เราเห็นการพัฒนาเรื่องที่เขาสอนว่ามันละเอียดขึ้น มันรัดกุมขึ้น มันเป็นสากลมากขึ้น มันเพลิดเพลิน สนุกสนานขึ้น และมันก็ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นด้วย เจตนารมณ์สำคัญที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ก็อยู่ตรงนี้แหละครับ (แต่ในความเป็นจริง มันอาจไม่จำเป็นก็ได้ครับสำหรับบางคน นี่อาจเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผม ที่อาจต้องห้ามเลียนแบบ เด็กอายุต่ำกว่าสิบสามควรได้รับการแนะนำ...ฮา...)
คุณหนึ่งฟังนูโวด้วยหรือครับ สุดยอดเลย เสียดายจังผมเกิดไม่ทัน (ฮา) แต่ไปถามผู้รู้แล้ว เขาบอกกับผมว่าวงนูโวเป็นวงยุคเดียวกับ สุนทราภรณ์ (ฮา) ของผมนี่ ถ้าไม่ใช่ Girls Generation แล้ว จะฟังไม่ได้เอาเลยจริงๆ ครับ (ฮา..แล้วฮัมเพลง Genie อย่างอารมณ์ดี)
|
ชื่อผู้ตอบ :
วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ |
ตอบเมื่อ :
07/10/2009 |