สมาธิ ที่นั่งแล้ว มึนๆ ซึมๆ นิ่งๆ จิตลงไปแช่ ถือเป็นมิจฉา สมาธิ
วันนี้ผมได้ฟังเรื่องราวของมิจฉาสมาธิ อย่างกระจ่าง
ทำให้ทราบว่า หลายครั้งสมาธิที่ผมทำก็เป็นมิจฉาสมาธิเช่นกัน

มิจฉาสมาธิ ไม่ใช่สมาธิที่ทำให้เกิดปัญญาครับ
เป็นสมาธิที่นำไปสู่ความหลง หรือโมหะ

นิยามของ มิจฉาสมาธิคือ
นั่งแล้ว ซึม นิ่ง มึน จิตลงไปตั้งแช่กับ องค์บริกรรม

นิยามของ สัมมาสมาธิคือ สมาธิที่มีสติ เป็นผู้รู้ผู้ดู ครับ

เอาความรู้มาฝากเท่านี้ครับ
ชื่อผู้ส่ง : ผู้อ่าน ถามเมื่อ : 18/09/2009
 


ขอถามความเข้าใจของคุณผู้อ่าน(ผู้เจริญในธรรม มากกว่า อิอิ)
ว่า
มิจฉาสมาธิเป็นส่ววนหนึ่งของ สมถสมาธิ
แต่ไม่ได้หมายความว่า สมถสมาธิ เป็น เรื่องเดียวกับ มิจฉาสมาธิ.....????

ถามให้ง่ายขึ้นคือ
มิจฉาสมาธิ เป็น subset สมถสมาธิ ใช่มั้ย??

อ้อ ถ้าจะโหลดฟังการสอนหลวงพ่อปราโมทย์
ทำได้ที่ไหนบ้าง
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 18/09/2009
สมถสมาธิ ไม่มีครับ มีแต่ สมถกรรมฐาน ซึ่งควบคู่กับวิปัสสนากรรมฐานครับ แต่สมถกรรมฐานไม่ได้บัญญัติไว้โดยพระพุทธเจ้านะครับ โดยมากท่านจะสอนสมถเพื่อเป็นเครื่องมือเบื้องต้นสำหรับการเจริญวิปัสสนา ครับ แต่มีพระรุ่นหลังๆ มาเขียนหนังสือแต่งตำรา แล้วเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแยกเป็น 2 section เอง

สำหรับคำถาม
ตามความเข้าใจผมนั้น คำตอบคือไม่ใช่ครับ
มิจฉาสมาธิ ไม่ได้เป็น subset ของสมถกรรมฐาน ครับ
ในอริยมรรค มีองค์ 8 ข้อสุดท้ายก็ใช้คำว่า สัมมาสมาธิครับ

สามารถ load ได้ที่เว็บ วิมุตติดอทคอม ในsection ของ ลพ ปราโมทย์ ครับ

ขอบคุณครับพี่แฟนพันธ์แท้
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 18/09/2009
ขอบคุณคุณน้องผู้อ่านค่ะ
จริงๆแล้วเป็นเรื่องของการเรียกชื่อมากกว่า

สมาธิที่เกิดจากขั้นฝึก สมถกรรมฐาน เรียก สมถสมาธิ(บางเจ้าเค้าก็เรียกกันแบบนี้) ก็ไม่น่าจะเป็นไร

ให้เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเป้าหมายที่จะไปคือวิปัสนากรรมฐาน
การแยกออกมาเป็น 2 section คงเป็นเพราะเพื่อความเข้าใจของ "บัวหลายๆเหล่า" มากกว่า

และในความเห็นของเป็นที่เค้าฝึกแนวนี้อยู่ เค้าก็สัมผัสว่า ขั้นต้นควรผ่านสมถกรรมฐานก่อน จะช่วยให้ขั้นตอนต่อไปไวขึ้นๆ

ที่สนใจแนวหลวงพ่อปราโมทย์ เพราะเหตุว่า ทำได้ทุกที่ทุกเวลา
และเข้าใกล้......ทางโลก/ทางธรรม.....เป็นเรื่องเดียวกัน

ที่เปิดใจที่สุดสำหรับแนวนี้คือ.....ก่อนที่หลวงพ่อฯจะพบจริตนี้ของท่าน ท่านเองฝึกแนวดูลมหายใจ เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหมือนคนกำลังใกล้ตาย

เอ....เราเป็นแบบนี้เลย ย


ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 19/09/2009
ครับพี่แฟนพันธ์แท้
อาจจะเรียกไม่ตรงกันแต่ความหมายน่าจะอันเดียวกัน
ถ้าคำ่ว่า สมถสมาธิ หมายถึง สัมมาสมาธิ ครับ

แต่อย่างไรก็ตาม หนทางการเกิดปัญญาขั้นสูงสุด หรือ ภาวนามยปัญญา
ไปได้ด้วยวิธีเดียวครับ ไม่ว่าจะจริตไหน บัวเหล่าไหน คือต้องใช้ วิปัสสนา
แต่วิชาวิปัสสนานั้น ต้องมีวิชา prerequsite คือวิชาสัมมาสมาธิครับ(ในหลวงพ่อปราโมทย์ท่านใช้คำว่า สมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา)
ส่วนวิชา สัมมาสมาธิ ต้องมีวิชา prerequisite คือวิชา ศีลสิขา ครับ
รวมเรียกว่า ไตรสิกขา
มี ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถ้าจะถึงข้อ 3 ได้ต้องผ่าน 1 และ 2 ตามลำดับ ครับ ดังนั้นผมคิดว่า การแยกเป็น 2 section ก็เป็นเพียงการแยกวิชา ที่ 2 และ 3 ให้ชัดเจน เท่านั้นเอง ส่วนถ้าจะพูดถึงจริตจริงๆ แล้ว ทั้ง วิชา สัมมาสมาธิ กับวิชา วิปัสสนา ก็ยังแบ่งย่อยให้ถูกตรงตามนิสัย ของผู้ปฎิบัติอีกครับ อย่างเช่น ในสัมมาสมาธิ แบ่งย่อยออกเป็น 40 วิธี แต่ละวิธีก็เหมาะกับแต่ละคนตามจริตคน 6 ประเภท ส่วนในวิปัสสนามี 4 วิธี โดยแบ่งตามจริตของคน 2 ประเภท ครับ

ผมดีใจที่มีคนสนใจฟัง ลพ ปราโมทย์ เพราะธรรมะของท่านปฎิบัติได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นเดียวกับที่ พี่แฟนพันธุ์แท้บอกครับ

แต่ผมก็ยังไม่เคยได้ยินนะครับ ว่าสาเหตุที่ท่านมาปฎิบัติ เพราะท่านแน่นหน้าอก
ที่ผมเคยได้ยินเรื่องท่านมาเจอแนวทางนี้มาจากที่ท่านไปอ่านเจอคำกลอนของ หลวงปู่ดูล แล้วเกิดประทับใจจึงขึ้นไปกราบหลวงปู่ แล้วหลวงปู่ก็แนะให้ท่าน "ดูจิต" ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ดูจิต มาตลอด ส่วนเรื่อง แนวดูลมหายใจแล้วแน่นหน้าอก ผมคิดว่า ลพ ไม่น่าจะเป็นนะครับ เพราะท่านดูมาตั้ง 23 ปี (ตั้งแต่ 7 ขวบ) เท่าที่ฟังจับใจความได้ว่า ท่านก็เกิดอภิญญา่ต่างๆมากมาย ดังนั้น(โดยเฉพาะการรู้ใจคน ที่ท่านใช้ในการส่งการบ้านของลูกศิษย์ในปัจจุับัน) ถ้าเกิดท่านแน่นหน้าอกคงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกมาจนถึงขนาดนี้

ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขอโทษด้วยครับ เพราะพักนี้ฟัง ลพ ไม่บ่อยเท่าไรครับ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 20/09/2009
ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องศัพท์ แต่ขอร่วมแชร์ความเห็นอันเป็นความเข้าใจส่วนตัวดังนี้ครับ

พระท่านให้เรารักษาศีล ก็เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำอันนำไปสู่ความวุ่นวายของชีวิตและจิตใจ อันเป็นการเตรียมตนที่ดีสำหรับการทำให้เกิดสมาธิได้โดยง่าย และสมาธิที่ได้นั้นก็จะเป็นไปในทางที่ดี เป็นประโยชน์ในทางธรรม

เราฝึกทำสิ่งที่เรียกว่าสมาธิ ก็เพื่อให้ใจนั้นสงบ มั่นคง ต่อเนื่องได้เป็นเวลานานๆ เหมือนออกกำลังจิตให้แข็งแรง เพื่อใช้ในการประกอบกิจกรรมทางจิตต่อไป กิจกรรมทางจิตที่ว่านี้ก็คือ การใช้ความคิดเพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ ไม่สับสน วอกแวก

ตรงนี้พระท่านเตือนว่า ในระหว่างการฝึกสมาธิซึ่งมีวิธีอันหลายหลายนั้น ให้ระวังว่า จะมีผลได้บางอย่างที่เป็นเปลือกอันพิสดาร อันนำพาให้เกิดความหลงในความวิจิตพิสดารนั้น รวมทั้งความ "หลงในตัวความสงบ" อันเป็นผลที่สำคัญของตัวสมาธิเอง จนติดสุขอันเกิดจากความสงบแล้วไม่ก้าวหน้าไปต่อ (อันนี้น่าจะเป็นอาการที่อยู่ในสิ่งที่คุณนีโอเรียกว่า มิจฉาสมาธิ รวมทั้งการมีสมาธิแล้วทำในสิ่งที่ผิดๆ ด้วย)

การฝึกปฏิบัติทำจิตให้สงบข้างต้น น่าจะอยู่ในการกระทำที่พระท่านเรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน

พุทธศาสนาเราสอนอีกเรื่องที่สำคัญ คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติ ดูความเป็นจริงของสภาวะต่างๆ ทั้งรูปธรรม นามธรรม ว่า ไม่มีสิ่งใดที่เที่ยง และไม่มีสิ่งใดเป็นตัวเป็นตนที่แท้จริง จนเห็นว่าทุกสิ่งล้วนเป็นความว่าง การที่เห็นได้เช่นนั้น น่าจะเรียกว่าเกิดปัญญา ซึ่งจะลึกซึ้งมากขึ้นๆ ตามลำดับ จนเห็นทันรู้ทันความหลอกลวงทางใจไปทุกเรื่อง จนมันหลอกลวงเราไม่ได้อีกต่อไป

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

.. เมื่อเรา ไม่เข้าไป ผูกใจ ในสิ่งใด สิ่งนั้น ก็ไม่เป็นนาย บังคับใจเรา
ให้อยาก ให้โกรธ ให้เกลียด ให้กลัว ให้เหี่ยวแห้ง หรือ ให้อาลัย ถึงมันได้ เราจะอยู่ เป็นสุข เมื่อใจ หลุดพ้นแล้ว ก็เป็นอันว่า ไม่มีอะไร มาทำให้เรา กลับเป็น ทุกข์ ได้อีก จนตลอดชีวิต

การคิดแล้วคิดอีก เพื่อตีปัญหานี้ให้แตก จนใจหลุดพ้น เรียกว่า " วิปัสสนากัมมัฏฐาน "

และ เมื่อใจเรา ไม่ค่อย ยอมคิด ให้จริงจัง ลึกซึ้ง เพราะอาจฟุ้งซ่าน
ด้วยความรัก ความโกรธ ความกลัว ความขี้เกียจ หรืออะไรก็ตาม จะต้องทำการ ข่มใจ ให้ปลอดจาก อุปสรรคนั้นๆ เสียก่อน

การข่มใจนั้น เราเรียกกันว่า " สมถกัมมัฏฐาน "

ถ้าไม่มี อุปสรรคเหล่านี้ สมถกัมมัฏฐาน ก็ไม่เป็น ของจำเป็นนัก
นอกจาก จะเข้าฌาน เพื่อความสุข ของพระอริยเจ้า เช่นเดียวกับ
การหลับนอน เป็นการ พักผ่อน อย่างแสนสุข ของพวกเราๆ เหมือนกัน

คำสั่งสอน ส่วนมาก ของพระองค์ เราจึงพบแต่วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ ..

คัดลอกมาจาก "เรียนพุทธศาสนาใน 15 นาที" ของท่านพุทธทาส

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ผมเอามาประกอบ เพื่อให้เห็นภาพและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติต่างๆ ชัดเจนขึ้นครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 20/09/2009
สวัสดีค่ะ คุณนันท์ คุณแฟนพันธ์แท้ คุณผู้อ่าน

ที่หายไปนาน ก็กำลังขมักเขม้นปฏิบัติธรรมเหมือนกันค่ะ

ไปฝึกดูจิต ที่ศรีราชามาค่ะ ไปฟังหลวงพ่อปราโมทย์เทศน์อยู่ 4 วัน ได้การบ้านกลับมาด้วย แล้วลงชุมชน ได้เรียนรู้จากปราชญ์ชุมชน และผู้นำชุมชน สนุกสนาน น่าทึ่งมากมาก จากนั้นไปปฏิบัติกับหลวงพ่อสุจินต์มา ชีวิตนักเรียนจริงๆเล้ย..

รู้สึกถูกจริตกับแนวดูจิตเหมือนกันค่ะ เวลาเรียนกับอาจารย์ที่สอนแนวดูจิตแล้วเบิกบาน สบายๆ ชีวิตดูเป็นปกติดี

สำหรับคุณแฟนพันธ์แท้ link ของสวนสันติธรรมค่ะ
http://www.wimutti.net/pramote/#preach
http://www.fungdham.com/book/pramote.html

ไปบ้านอารีย์ก็ได้
http://www.baanaree.net/cd-list-cate-list-play.php?cate=664
ชื่อผู้ตอบ : อ้อม ตอบเมื่อ : 20/09/2009
ขอบคุณทุกท่านในความกระจ่างค่ะ
พอดีเป็นมือไหม่หัดขับน่ะค่ะ ที่เปิดใจแนวนี้เพราะไม่มีภาษาบาลีให้ต้องจดจำซะจนน่ากลัวน่ะค่ะ แล้วทดลองทำมันก็เกิดความ"อัศจจรรย์"(ใช้คำๆนี้เปลืองไปรึเปล่าเนี่ย?? แต่เป็นยังงั้นจริงๆ)

เคยทึ่งการเปลี่ยนแปลงของคุณเหมียว(วรัตดา) ว่าอารมณ์โกรธ/โมโห และสารพัด ของเค้าค่อยๆเปลี่ยนไป จนนานๆเค้า เกือบเป็นคนละคน ก็นึกจินตนาการว่า ....เมื่อไหร่จะถึงตาเรามั่ง??? ส่วนใหญ่ผู้คนที่อารมณ์โหดๆนี่ ต้องไปฝึกกัน 10วัน ถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง(โคแองก้า) มันก็ผัดผ่อนมาเรื่อยๆ เหมือนว่าขอยึดเวลาการสั่งประหาร(อิอิ)ออกไปก่อนนะท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย

พอลองฝึกตามที่เพื่อนเหนี่ยวนำ (อาจารย์ปราโมชย์) ลองสังเกตุการตอบโต้เหตุการณ์ที่เคยเป็นระดับ เฮอริเคน หรือ ทอนาโด ก็ลดลงมาเป็นพายุฝนธรรมดาๆ อะไรประมาณเนี่ยะนะค่ะ

*ถ้าเกิดท่านแน่นหน้าอกคงเป็นไปไม่ได้ที่จะฝึกมาจนถึงขนาดนี้ *
สำหรับคุณน้องผู้อ่านค่ะ
เรื่องนี้ผิด/ถูกประการใด คงต้องขออภัยค่ะ เพราะฟังเค้ามาอีกต่อหนึ่งนะค่ะ ซึ่งหากเป็นไปได้ก็คงก่อนที่จะพบวิธีดังกล่าวมั้งคะ
อย่างไรก็ตามขอชืนชมว่าวัยขนาดคุณน้องผู้อ่านเจริญในธรรมขั้นนี้ถือว่าไม่ธรรมดาค่ะ

เราอย่าไปโฟกัสในรายละเอียด ที่จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งที่จะไปสั่นสะเทือนพลังงานลบในเว็บบอร์ดที่สนทนาเรื่องจิตวิญญาณกันเลยนะคะ บังเอิญมีข้อเตือนใจจากท่านผู้รู้.....ซึ่งน่าจะเคยเป็นครูบาอาจารย์ของคุณผู้อ่านด้วยนะ ท่านมีชื่อว่า อ.ดร. วรภัทร ภู่เจริญค่ะ
(ข้อความด้านล่างค่ะ)

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/09/2009
ประสบการณ์ เป็น web master ของผม
ผมดูแล เว็ป เล็ก ๆ ชื่อ http://managerroom.com เป็นเว็ปแบบ บอร์ดทั่วๆไป เช่นเดียวกับพวก pantip.com ที่ผมเข้าไปแจมอยู่เสมอๆ
คนที่โพสต์เข้ามามีหลายจำพวก ได้แก่ (ก) อ่านแล้ว จิตเกิด ยินดี ร่วมวง กระโดดใส่ รีบไปคว้า (ข) อ่านแล้ว จิตเกิด แต่ เป็นแบบอกุศล คือ เข้า “ขย้ำ” กัดแหลก (ค) อ่านแล้ว ไม่อยาก เสนออะไร ใบ้ๆ เงียบ เอาตัวรอดดีกว่า เกิด ความอาย กลัว ไม่กล้าแสดงออก
คนไทยใช้เว็ป จะแสดง กำพืดออกมามากมาย เช่น สำนวนโหดๆ การเพ่งโทษ การยกตนข่มท่าน การคาดหวังให้คนมาชื่นชม การเยินยอ การแบ่งพรรคพวก ฯลฯ นี่ สะท้อน ลักษณะของการศึกษา ที่ เป็นแบบ Format หรือ แบบ Industrial เป็นการศึกษาที่ไม่เข้าถึง แก่นของ ไตรสิกขา นั่นคือ ไม่เป็น Natural
อย่างไรก็ตาม ผมได้ ข้อคิด ของผมเองดังนี้

โดยถ้าเราพิจารณา ตาม หลักการของ Dialogue ที่มี ๔ ระดับ ของ การสนทนา …. เราจะพบว่า
(ก) ระยะแรก : คนที่ เงียบ เอาแต่ อ่านๆๆๆ หรือ โพสต์ๆๆๆ ไม่สนใจใคร วันๆเอาห่วงว่า จะมีใครมาอ่านไหม เอาตัวกู ของกู เป็นสำคัญ หรือ วันๆ จิตใจจดจ่อ วันนี้ จะโพสตื จะเขียนอะไรดี เห็น เว็ป เป็น ยาที่ขาดไม่ได้ ฯลฯ ตัวใคร ตัวมัน ต่างคนต่างโพสต์ เอาผลงานโพสต์ไปเป็นดัชนีวัดผลงาน
(ข) ระยะสอง : คนพวกนี้ จะ เชียร์ จะโต้แย้ง แต่ ก็จะใช้ ระดับของจิตที่เกิดแรง ระดับ เบต้า รัก ชอบ ชัดเจน แบ่งกลุ่ม ผลที่ตามมา คือ บ้างได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูในเว็ปนี่เอง บ้างได้อกุศล บ้างได้กุศล หลายคน “งอน” ไม่กลับมาที่เว็ปอีกเลย หลายคนประกาศ กร้าว “ฉันไม่คบกับแก” “แกอย่ามาโพสต์ อีกนะ” คนใน สองระดับนี้ ยังไม่พัฒนาตามแนว สุนทรียสนทนา (Dialogue) เลยครับ
(ค) ระยะสาม : เป็นระยะ ที่เหนือ การสนทนาทั่วไป เข้าสู่ สุนทรียสนทนา คือ เริ่ม รับฟังทางลึก (deep listening) เริ่มเคารพตัวตนของคนอื่น เคารพในความคิดของคน มองคนในแง่ปัจเจกชน เริ่มย้อนดูตนเอง เริ่ม “เฉลียว”ใจ เช่น “ เอ๊ะ หรือ ที่เขาบอกเล่า จะมีมูล” เริ่มมีคำถามในใจ เริ่มกลับไปทำงานแต่ คำถามก็ตามไปให้ย่อย ให้ขบ เริ่มมองคนที่คิดต่างว่าเป็นคนที่มีพระคุณ เริ่มอยาก ลองทำ เริ่มอยากแปลง ข้อมูล เป็นปฏิบัติ
การจะเข้ามาสู่ ระรยะสามนี้ คงต้องผ่าน การฝึก เพราะ เป็น ทักษะ สำคัญของ LO & Km
การรู้เท่าทัน “ เสียงภายใน (Inner voice) / เสียงแห่งการพิพากษา (Voice of judgement) / ความคิดที่เป็นสังขาร การปรุ่งแต่ง วิตก (คิดฟุ้งซ่าน ไปใน อนาคต) วิจารณ์ (เพ่.งโทษ เทียบกับกติกาของตน หาข้อผิดคนอื่น)” นี่แหละ คือ การมีสติ รู้เท่าทัน จิต และ ความคิด
การสนทนาในระดับ สุนทรียสนทนา จัดเป็นการปฏิบัติธรรม ในแนว มหาสติปัฏฐานสี่ เพราะ เราต้อง ดูจิต ขณะสนทนา ดูตัวเราเองบ่อย ๆ (โอปนยิโก) ใช้ โยนิโสมนสิการให้มากๆ
คนเป็น Web master เอง ก็ต้อง มีทักษะในระดับสามนี้เป็น อย่างน้อย จึงจะ รักษาบรรยากาศการเรียนรู้ ในเว็ปได้
(ง) ระยะสี่ : สนทนากันแบบ Flow ไหลลื่น “ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ” นี่แหละ เป็น เกลียวความรู้ แม้คนที่ดูจะไร้สาระ ก็อาจจะกลายเป็นคนที่ สะกิดต่อมความรู้ออกมาได้ บรรยากาศแบบ Team learning ดีมาก Mental model น้อยมาก คิดต่างกันแต่ก็รักกัน เป้าหมายเดียวกัน Share vision ร่วมกัน คิดเพื่อการ รักษ์โลก รักเพื่อนมนุษย์ (System thinking) ฯลฯ
สุดท้ายนี้ เราลองมาพิจารณาตัวเราเอง ( Hansei ตัวของเราเอง ) สำรวจตัวเราเองว่า ทักษะในการสนทนาของเรา อยู่ใน ระดับไหน และ จงให้ อภัย คนที่เขา ยังอยู่ในระดับ 1 และ 2

__________________
จัตตาโร ธัมมาวัฑ ฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 20/09/2009
ขอบคุณคุณอ้อม มากๆค่ะ
เข้าไปท่องเว็บไซด์ที่แนะนำจนทะลุแล้วค่ะ
ภายใน2-3วันนี้มีเหตุลงไปทำธุระบางอย่าง จะหาเวลาไปลุยถึงบ้านอารีย์เลยค่ะ

เคยส่งซีดี เปล่าไป copy ตามเว็บธรรมะต่างๆ ก็ไม่รู้ว่าเกิดจากขั้นตอนไหน ระบบเสียงฟังไม่เคยได้เลยน่ะ

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/09/2009
(อันนี้น่าจะเป็นอาการที่อยู่ในสิ่งที่คุณนีโอเรียกว่า มิจฉาสมาธิ รวมทั้งการมีสมาธิแล้วทำในสิ่งที่ผิดๆ ด้วย)


อันนี้ก้อไม่ได้ว่าจะตั้งทำผิดกติกา(จับผิดผู้อื่น)แต่ประการใด
เพียงแต่เป็นห่วงว่า "อาการ" จะอยู่ในขั้น "ต้องรักษา" กันรึเปล่าน่ะ

อิอิ

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/09/2009
สติ ครับ พี่ เค้าเรียกว่าขาดสติ เต็ม ๆ
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 21/09/2009
สวัสดีครับคุณอ้อม เป็นชีวิตนักเรียนที่พาให้รู้สึกอิจฉาจริงๆ

ชักงง คุณแฟนพันธุ์แท้ครับ คุณผู้อ่านไม่ใช่เหรอครับ ที่พูดเรื่อง มิจฉาสมาธิ ไม่ใช่คุณนีโอ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 21/09/2009
ก้อน่านน่ะสิ
ก็ลองกลับไปอ่านกระทู้ของท่านอีกทีสิ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/09/2009
"สมถ จะทำได้เมื่อ หยุดอยาก
วิปัสสนา จะทำได้ เมื่อหยุดคิด"

การทำวิปัสสนานั้น คือการมีสติอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นการเกิดดับ ของสิ่งต่างๆ เช่น
การเกิดดับของกาย (การเคลือนไหว)
การเกิดดับของเวทนา (ปวด-หายปวด or ปวดมากขึ้น)
การเกิดดับของ(สภาวะ)จิต
ความเป็นจริงของธรรม ที่ว่าด้วยทุกอย่างล้วนมีเกิดและดับ

แต่การมีสติ เพื่อเห็นปัจจุบันของการเกิดดับนั้น จำเป็นต้องมีสมาธิขั้นเบื้องต้น(ขนิก)เป็นพื้นฐานก่อน สำหรับกรณีการดูจิตและธรรม

แต่การจะดูกายนั้นในตำราเค้าบอกไว้ว่า จะต้องได้สมาธิระดับ ฌาน ก่อนจึงจะทำให้ดูง่ายขึ้น

หลวงพ่อปราโมทย์จึงบอกว่า คนส่วนใหญ่สมัยนี้หายากที่จะได้ ฌาน
ท่านจึงแนะให้ดูจิตแทน

ผมว่า มิจฉาสมาธิ น่าจะเรียกอีกอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า "สมาธิ ที่ไม่มีสติ " ตรงนี้สำคัญว่า สมาธิของเรา "ตั้งมั่น" หรือ "ตั้งแช่" กับองค์บริกรรม ถ้าจิตดูลมหายใจ แล้วจิตไหลไปกับลมหายไป ไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู แต่เป็น ผู้ตามไหลไปพร้อมลมหายใจ ก็คือตั้งแช่ครับ
ส่วนการตั้งมั่นคือ ดูลมหายใจ ในฐานะของผู้ดู ผู้ชม จริงๆ อย่างวิ่งไปแนบตาม ไหลตาม
ดังเช่นพุทธพจน์ที่ว่า
"ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้ตรงหน้า หายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกยาวก็รู้ หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจออกสั้นก็รู้"

ท่านใช้คำว่า "ดำรงสติ"

ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 21/09/2009
พิมพ์ๆ ไปแล้วก็นึกถึง เพลงของ ซีรีย์ สามก๊ก ใครเคยดู ก็คงจะนึกออก เอามาให้ดูทั้งภาษาจีนและไทย อ่านแล้วรู้สึกว่า ทุกสิ่งล้วนมีเกิดและดับทั้งสิ้น ที่เกิดแล้ว ไม่ดับ ไม่มี


กุ๋นกุ่นฉางเจียงตุงซื่อเสว่ย์ น้ำแยงซีรี่ไหลไปบูรพา
ล่างฮวาถาวจิ้นอิงสยุง คลื่นซัดกวาดพาวีรชนหล่นลับหาย
ซื่อเฟย์เฉิงไป้จ่วนโถวคุง ถูกผิดแพ้ชนะวัฏจักรเวียนว่างดาย
ชิงซานอีจิ้วจ้ายจี่ตู้ซีหยางหุง สิขรยังคง ตะวันยังฉาย นานเท่านาน

ไป๋ฟ่าอวี๋เฉียวเจียงจู๋ซ่าง เกาะกลางชล คนตัดฟืนผมขาว เฒ่าหาปลา
กว้านค่านชิวเยวี่ยชวุนเฟิง สารทวสันต์เห็นมาเหลือหลายที่กรายผ่าน
อี้หูจว๋อจิ่วสี่เซียงเฝิง สรวลสุราขุ่นป้านใหญ่ให้ตำนาน
กู่จินตวอส่าวซื่อโตวฟู่เซี่ยวถานจุง เก่าๆ ใหม่ๆ เสพสราญว่ากันไป
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 21/09/2009
จนป่านนี้ ผมอ่านสามกีกยังไม่จบแม้แต่รอบเดียว อย่างนี้ ไม่รู้หมายความว่า ผมเป็นคนคบได้หรือเปล่าเนี่ย (ฮา ฮา ฮา)
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 21/09/2009
อันนี้ก็อยากอ่านความเห็นจากผู้เจริญในธรรม
อย่างคุณอ้อม,คุณหนึ่ง,คุณนันท์.คุณนีโอ
หรือผุ้เชี่ยวชาญนพลักษณ์ คุณขอนแก่น
ว่า
ประสบการณ์ที่"ขะเจ๊า" ทำแล้วมันได้ผลเนี่ยะ........ซึ่งตัวเองเข้าใจว่า มันเป้นประโยชน์จาก สมถสมาธิ(ความสงบที่ไม่ได้เกิดปัญญาใดๆ)
ทำตั้งแต่เด็กๆ ไม่เคยรู้จักทฤษฎีใดๆ ไม่รู้จักการเจริญภานา ไม่ได้เริ่มสวดมนต์
เหตุการณืที่ว่าคือ
เวลาอ่านหนังสือไม่ทัน/เวลามีปัญหาหนัก เลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย
แช่........อยู่กับความสงบเงียบ/เลี่งการคุยกะผู้คน
หากเป้นภาษาของนพลักษณ์คงบอกว่า.....ซุ่มเลียแผลใจน่ะ

มาทราบภายหลังจากหนังสือ"เปลี่ยนชีวิตให้ดีข้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย"

ทุกครั้งที่ทำ สถานการณ์ดีขึ้นมาก-มากที่สุด โดยเฉพาะสมัยเรียนหลายครั้ง ไม่อ่านหนังสือ แต่สอบได้คะแนนดีกว่างที่อ่านแบบเอาเป้นเอาตาย

ทั้งหมดนี้จิตใจไม่ยอมรับคำกล่าวที่ว่า
สมาธิที่ไม่เกิดปัญญา(สมาธิที่แช่) เป็นสมาธิที่ ไม่มีประโยชน์ค่ะ

ขอความเห็นจากท่านผู้รู้ค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์พันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 25/09/2009
บังเอิญว่า ได้อ่านหนังสือ "ประมวลฑรรม หลวงพ่อปราโมทย์" (หน้าและใหญ่เท่าพจนานุกรมเลยครับ )คาดว่าน่าจะสอดคล้องกับหัวข้อสนทนาเลย ตอนแรกนึกว่าจะ copy มาแปะได้เลย แต่ที่ไหนได้ แปะไม่ได้ครับ ผมจึงลอกลงมา ถ้าพิมพ์ผิดต้องขออภัยด้วยความ



(หน้า 40 ข้อ 17)
17 สมถะ
และเป็นอารมณ์ที่เรารู้แล้วมีความสุข เช่นถ้าเรา พุทธโธแล้วมีความสุข
ก็พุทธโธไปเล่นๆ พุทธโธไปอย่างสบาย พอจิตใจมีความสุขจะสงบเอง แต่ต้องทำด้วยความมีสติ ไม่ใช่นั่งเคลิมครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือนั่งเห็นสิ่งนั้น เห็นสิ่งนี้

การทำสมถะมีประโยชน์กับนับปฎิบัติทุกคน เพราะเป็นเครื่องข่มนิวรและเป็นการพักผ่อน แต่การทำสมถะอย่างเดียวจะไม่เกิดปัญญาโดยอัตโนมัติ

การทำสมถะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ สมถยานิก หรือผู้ปฎิบัติที่ใช่สมาธินำปัญญาคือต้องทำสมาธิจนเกิดฌานเสียก่อน แล้วค่อยพิจารณาองค์ธรรมที่เกิดปัญญาในภายหลัง แต่การทำสมถะไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ขาดเสียไม่ได้สำหรับ วิปัสสนายานิก หรือผู้ปฎิบัติที่ใช้ปัญญานำสมาธิ คือผู้เจริญสติสัมปชัญญะระลึกรู้รูปนามไปเลย แล้วจิตจึงค่อยรวมอัปนาสมาธิเองในภายหลัง

(หน้า 42 ข้อ 19)
19สมถะกับวิปัสสนาต่างกันอย่างไร
การปฎิบัติเพื่อเข้าไปจัดการเป็นสมถะ การปฎิบัติเพื่อไปรู้ความจริงของกายของใจเป็นวิปัสสนา
สมถะมีสติอย่างเดียวไม่มีปัญญา เช่น เพ่งท้อง จิตก็ไปอยู่ที่ท้อง เพ่งเท้า จิตก็อยู่ที่เท้า ไม่สามารถเห็นได้ว่าร่างกายไม่ใช่เรา วิปัสสนารู้ด้วยสติและปัญญาโดยมีปัญญาเห็นไตรลักษณธ เช่น รู้ว่าร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เห็นรูปพอง-ยุบ ไม่ใช่เรา เวลาเดินจงกรม เห็นรูปเดินไม่ใช่เราเดิน
และเป็นอารมณ์ที่เรารู้แล้วมีความสุข เช่นถ้าเรา พุทธโธแล้วมีความสุข
ก็พุทธโธไปเล่นๆ พุทธโธไปอย่างสบาย พอจิตใจมีความสุขจะสงบเอง แต่ต้องทำด้วยความมีสติ ไม่ใช่นั่งเคลิมครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือนั่งเห็นสิ่งนั้น เห็นสิ่งนี้

การทำสมถะมีประโยชน์กับนับปฎิบัติทุกคน เพราะเป็นเครื่องข่มนิวรและเป็นการพักผ่อน แต่การทำสมถะอย่างเดียวจะไม่เกิดปัญญาโดยอัตโนมัติ

การทำสมถะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ สมถยานิก หรือผู้ปฎิบัติที่ใช่สมาธินำปัญญาคือต้องทำสมาธิจนเกิดฌานเสียก่อน แล้วค่อยพิจารณาองค์ธรรมที่เกิดปัญญาในภายหลัง แต่การทำสมถะไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ขาดเสียไม่ได้สำหรับ วิปัสสนายานิก หรือผู้ปฎิบัติที่ใช้ปัญญานำสมาธิ คือผู้เจริญสติสัมปชัญญะระลึกรู้รูปนามไปเลย แล้วจิตจึงค่อยรวมอัปนาสมาธิเองในภายหลัง

(หน้า 41 ข้อ 18)
18 วิปัสสนา
วิปัสสนา คือการตามรู้กายรู้ใจ รูป-นาม) จนเกิดสัมมาสมาสติ สัมมาสมาธิ และปัญญา จนเห็นไตรลักษณ์ (คือการเจริญสติปัฎฐานสี่) เมื่อใจเป็นกลางไม่มีกิเลสครอบงำจะเห็นความจริงในขั้นแรกว่า กายและใจ (รูปและนาม) ไม่ใช่เรา ถ้าทำต่อไปจนจิตหยุดการปรุงแต่งจะเห็นว่าตัวเราไม่มีก็สามารถละความทะยานอยากของจิตได้(ตัญหา) จนไม่ยึดถือกายใจและไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ก็จะพ้นทุกข์ได้ วิปัสสนาทำเหมือนดูคนอื่นทำ ทำไปเพื่อเรียนรู้ว่าตัวเราไม่มี ตัวเอาเป็นเพียงความคิด
การพูจิตเป็นการตามรู้ เพราะนามอายุสั้น แต่การรู้กายให้รู้ลงปัจจุบันเพราะรูปมีอายุนาน และการเป็นของถูกรู้ จิตไปรู้มันได้
จิตที่ใช้ทำวิปัสสนามีเพียงสองดวงจิต เป็นจิตที่เกิดเอง ไม่ได้จงใจให้เกิด มีกำลังมากและประกอบด้วยปัญญา คือจิตที่มีความสุข (โสมนัส) และจิตที่เป็นกลาง (อุเบกขา)
วิปัสสนาทำเพื่อให้จิตฉลาด ให้จิตเห็นความจริงของกายของใจ (ว่าเป็นไตรลักษณ์) จนหมดความยึดถือกายสึดถือใจ ก็จะพ้นทุกข์ได้
การทำวิปัสสนาต้องรู้สภาวะ ต้องมีสภาวะคือรูปกับนามรองรับ แล้วก็เห็นรูปนามว่าเป็นไตรลักษณ์จึงทำวิปัสสนา วิปัสสนามี 2 ขั้นตอนคือ เบื้องต้นทำไปเพื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเรา ในเบื้องปลายทำไปเพื่อละความยึดติดในรูปนาม คนที่ละความเห็นผิดได้เป็นพระโสดาบัน คนที่ละความยึดถือได้เรียกว่าพระอรหันต์



--- ขอบคุณครับ ---
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 26/09/2009
พิมพ์ตกไปครับ

17 สมถะ
สมถะ คือการน้อมจิตให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่เป็นกุศล....


โดยส่วนตัว(ส่วนตัวจริงๆเลยครับ) ผมคิดว่า การทำสมาธิให้จิตนิ่ง มีประโยชน์ใช้ในการผักผ่อนจิต พอพักแล้วจิตมีกำลัง จึกนำมาใช้ทำงานต่อ ไม่ว่าจะในการเรียน หรือการแก้ปัญหา ซึ่ง concept นี้ ผมได้มาจาก ฟังบรรยาย และอ่านหนังสือ ของ ดร.สนอง วรอุไร ครับ

แต่concept ของการเจริญสติแล้วเกิดปัญญา ผมได้มากจาก ครูบาอาจารย์หลายท่าน ซึ่ง นอกจาก ลพ ปราโมทย์แล้ว ก็มี ดร.อาจอง ที่ได้ปริญญาเอก จากการเดินจงกรม และเข้านาซ่า ได้จาก วิปัสสนา
เท่าที่ผมได้คุยกับลูกศิษย์ชมรม จิตศึกษา จุฬาลงกรณ์ สมัยที่ท่านยังเป็น อาจารย์อยู่ที่นั่น ก็ยืนยันตรงกันกันว่า ดร อาจอง ท่านเน้น "สติ" เป็นอย่างมากครับ เหตุผลประมาณว่า ชีวิตท่าน ที่เกิดปัญญา แก้ปัญหายากๆ ที่คนธรรมดาคิดไม่ออกก็ด้วย" สติ"

ถ้าข้อความผม กระทบแรงสั่นสะเทือนใครก็ ขออโหสิกรรมด้วยนะครับ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 26/09/2009
ทุกอย่างคงอยู่ที่เจตนาเนาะ

ระยะสี่ : สนทนากันแบบ Flow ไหลลื่น “ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ” นี่แหละ เป็น เกลียวความรู้ แม้คนที่ดูจะไร้สาระ ก็อาจจะกลายเป็นคนที่ สะกิดต่อมความรู้ออกมาได้ บรรยากาศแบบ Team learning ดีมาก Mental model น้อยมาก คิดต่างกันแต่ก็รักกัน เป้าหมายเดียวกัน Share vision ร่วมกัน คิดเพื่อการ รักษ์โลก รักเพื่อนมนุษย์ (System thinking) ฯลฯ


แฟนพันธ์แท้ก็เชื่อว่าคุณน้องผู้อ่าน มุ่งสู่จุดหมายเดียวกันดังว่าค่ะ
ขอบคุณหลายๆเจ๊า

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 26/09/2009
ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีประสบการณ์ตรง ย่อมพูดได้ละเอียดและชัดเจนจริงๆ

ขอบคุณคุณนีโอครับ ที่ทำให้ผมเข้าใจชัดเจนไปด้วย
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 26/09/2009
คุณนันท์ขอบคุณ คุณนีโอไปแล้ว 2 รอบ(ในกระทู้นี้)
แต่คุณนีโอ......ยังไม่ได้ทำอะไรเลยนะ

อิจฉาคุณนีโอจริง
อิอิ

ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 27/09/2009
อ้าวสับสน ขอโทษครับ เผลอไปต่อเนื่องจากอีกกระทู้ที่ติดกัน

ขอบคุณ "คุณผู้อ่าน" ครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 27/09/2009
เเห่ะ ! แห่ะ !
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 27/09/2009
คุณนันท์น่ะ ไม่สับสนหรอกค่ะ คนสับสน คือ หนึ่งเอง เย้

พี่แฟนฯบอกว่าอยากอ่านความเห็นจากผู้เจริญในธรรม
จุดธูปเรียกชื่อหนึ่งมาด้วย น้องตามมาถูกกระทู้เลยค่ะ (คุยเล่นๆนะคะพี่แฟนฯ)

จริงๆแล้วตัวข้าพเจ้า ไม่ได้เจริญในธรรมเล๊ยค่ะพี่ขา หนึ่งพูดได้แต่เรื่องตัวของหนึ่งเองนะคะ และที่สำคัญผิด ถูกเช่นไร หนึ่งก็ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ในใจยังมีคำถามอีกต่างหากอีกค่ะ พบเจอครูอาจารย์ หรือใครๆ ที่สามารถยิงคำถามได้ ป่านนี้ยังไม่หยุดถามเลยค่ะ

ดังนั้นหากหนึ่งดันทุรังแนะนำ แชร์ ยิ่งเขียนลงเป็นตัวอักษรด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้ช่วยกันงงไปใหญ่ซิคะ (ฮา)

คุยกับหนึ่งเรื่องใช้หนี้ทำยังไง ยังง่ายกว่ามั๊ยเนี่ยพี่แฟนนนน ฯ ฮา

หวังว่าวันนึงข้างหน้าหนึ่งจะเจริญในธรรมได้จริงๆ สมพรที่พี่แฟนฯมอบให้น้องนะคะ สาธุ สาธุ ยิ้ม ยิ้ม
ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 28/09/2009


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code