มณฑลแห่งพลัง
ได้เข้าไปถามคำถามในเว็บบอร์ดของดร.สุวินัย ภรณวลัยมาว่าทำยังไงถึงจะทำให้เกิด synchronicity หรือความบังเอิญที่มีความหมายในชีวิตเราได้ ดร.สุวินัยท่านก็เมตตาตอบมาแบบสั้นๆแต่ชัดเจนมากว่า "คุณต้องเข้ามาอยู่ในวิถีและมณฑลแห่งพลังให้ได้เสียก่อน ธรรมะจัดสรร หรื synchronicity ก็จะเกิดขึ้นมาเอง" ตอนนี้ก็เหลือแต่วิธีว่าทำยังไงให้เข้าสู่โซนหรือมณฑลนี้ได้ก็เท่านั้น ค่อยยังชั่วหน่อยวิธีไม่ต้องยากเหมือนในหนังสือโชค ดวง ความบังเอิญฯ อิอิ ชอบคำที่ ดร.สุวินัยใช้มากมากครับ "ธรรมะจัดสรร" ไม่ใช่อัตตาเราจัดสรร อิอิ
ชื่อผู้ส่ง : นิก-สปิริต-นิวเอจ ถามเมื่อ : 25/04/2009
 


คุณนิก มุ่งมั่น ค้นหาดีจังครับ นับถือในความอุตสาหะ
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 25/04/2009
เรื่องนี้ขอเรียนถาม อ.วสันต์นิดค่ะ
มณฑลแห่งพลังที่ว่านี้.....น่าจะมีคำตอบในหนังสือที่ อาจารย์ให้มารึเปล่าคะ??

ไม่รู้เป็นไรกับเล่มนี้..กะจะอ่านช่วงสงกรานต์
พอจะอ่านๆ..เอ้าหาไม่เจอ..ช่วงที่ไม่อ่าน..เอ้าอยู่ตรงนี้เอง
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 25/04/2009
ขอความกรุณาใครซักคนช่วยอธิบายถึงความหมายของอัตตาได้ทีได้มั้ยคะ คือฟางเคยได้ยินเกี่ยวกับความหมาย แต่ ยังไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไหร่เลยค่ะ

แล้วเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ... มีหลักการวิธียังังยบ้างคะ
ในกฎ ข้อ 1 อ่ะค่ะ
ฟางควรจะฝึกยังงัยดีคะ รบกวนขอคำแนะนำทีค่ะ

แล้วก็เรื่องความบังเอิญที่มีความหมายในชีวิตเรา นี่คือยังังยอ่ะค่ะ
น่าสนใจมากๆเลย อยากศึกษาเรื่องนี้บ้างอ่านได้จากทีไหนบ้างคะ

แหะๆ มือใหม่ค่ะ ยังมีเรื่องที่ไม่รู้อีกเยอะแยะเลย รบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ ^^
ชื่อผู้ตอบ : Fangly ตอบเมื่อ : 25/04/2009
เห็นมีหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่าถ้าอยู่ในโซนของกระแสไหลคล่อง(FLOW) ความประจวบเหมาะและความบังเอิญหลายอย่างมากมายจะไหลคล่องมาหาเราเอง เราจะอยู่ในสภาวะที่ตระหนักรู้ถึงจุดมุ่งหมาย(purpose) และความเบิกบานผสมกับความเร้นลับในชีวิต มีคำอยู่คำหนึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า awe คือยำเกรง ยำเกรงไม่ใช่แบบหวาดกลัวนะครับ แต่รู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติแล้วพออัตตาเราหายไป เรารู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในนั้น เราเลยรู้สึกเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์รวมที่ใหญ่กว่าน่ะครับ ที่แปลเป็นไทยเกี่ยวกับเรื่องความบังเอิญก็มีแต่หนังสือ โชค ดวง ความบังเอิญฯเล่มเดียว แต่ถ้าฟางจะไปร้าน kinokuniya ทั้งที่ สยามพารากอนและอิมพีเรียลสุขุมวิทก็จะเจอหนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะ ซึ่งก็มีทั้ง the power of coincidence(พลังอำนาจของเหตุบังเอิญ) the three only things: tapping the power of dream, coincidence(ความบังเอิญ) and imagination) พรุ่งนี้ผมว่าจะไปหาอ่านอยู่เหมือนกันครับ อีเล่มก็น่าสนใจชื่อว่าtranfrom fate into destiny แปรูปชะตากรรม(ที่เราได้รับโดยไม่ตั้งใจและไม่เต็มใจ)มาเป็นโชคชะตาอันท้ายที่สุด มีความแตกต่างทั้งระหว่าง fate กับ destiny และ soul กับ spirit คุณอัฐพงศ์ก็แนะนำหนังสือดีดีให้ผมเยอะครับ ทั้งของ ซานายา โรมัน ของไดอาน่า คูเปอร์ นักเขียนพวกนี้เหมือนจะมี channel ติดต่อกับเบื้องบนได้ครับ
ชื่อผู้ตอบ : นิก-สปิริต-นิวเอจ ตอบเมื่อ : 25/04/2009
คุณนิกพูดถึงมณฑลแห่งพลัง เกิดคำถามเช่นเดียวกับคุณพี่แฟนพันธุ์แท้ค่ะ และทำให้ได้หยิบจับมาอ่านกันอีกรอบ ตานี้มีสติกว่าการอ่านรอบแรกมากมาย และคิดว่าการเข้าไปอยู่ในมณฑลแห่งพลังน่าจะเป็นดังเช่นเนื้อหาในหนังสือที่ท่านอ.วสันต์ได้กรุณาส่งมาให้ แม่นๆ เชียว


ชื่อผู้ตอบ : dadeeda ตอบเมื่อ : 26/04/2009
หลานฟาง ลุงเข้าใจมิติของคำว่า อัตตา คร่าวๆ ตามประสาของลุง ว่าอย่างนี้

-อัตตา คือ อะไรก็ตามที่เรายึดถือ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในตีความ หรือตัดสิน ต่อสถานการณ์ ต่างๆ ทั้งหมดที่เราประสบพบเจอในแต่ละวัน แต่ละขณะ

-อะไรที่ว่านี้อยู่ในรูปของข้อมูลแบบต่างๆ เช่น ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ หรือรสนิยม ซึ่งมันเป็นผลมาจากสิ่งที่เราเองเคยตัดสินเก็บเอาไว้ เป็นความเชื่อ เป็นความชอบไม่ชอบ ดีไม่ดี สั่งสม ทบกันมาจากประสบการณ์ในอดีตของเรา รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ตัวเราเคยถูกสั่งสอนมา ซึ่งหลายอย่าง เราเองได้สั่งสมเอาไว้ มาก่อนที่เราจะทันรู้ตัว หรือเลือกได้ว่า จะเก็บมันเอาไว้ภายในเรา เพราะมันเริ่มก่อรูปมาตั้งแต่เรายังไม่รู้ความ และพอกพูน ห่อหุ้มตัวเราเพิ่มมากขึ้นๆ และที่สำคัญ เรามักคิดว่าข้อมูลเหล่านั้น มันคือตัวเรา

-เราแก้ปัญหาการมีอัตตานี้ ด้วยการลบข้อมูลทั้งหมดที่มีนี้ไม่ได้ อย่างเก่งก็เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้บางส่วน (ซึ่งก็กลายเป็นข้อมูลใหม่อยู่ดี)

วิธีการแก้ปัญหาการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่า อัตตา เท่าที่นึกออก คือ

-เริ่มจากการเห็นหรือรู้ทัน การมีอยู่ของมัน ว่ามันมีอยู่นะ มันคืออัตตานะ มันคือเปลือกที่หุ้มเราอยู่ มันไม่ใช่ตัวจริง (จิต) อันว่างบริสุทธิ์ของเรานะ มันคือแค่ความรู้นะ มันคือแค่ความเชื่อของเรานะ มันคือทัศนคติ มันคือรสนิยม ของเรานะ เพื่อที่เราจะได้เป็นนายสิ่งที่ว่ามานี้ และระวังให้มาก ที่จะไม่ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเกณฑ์ไปตัดสินโลก หรือคนอื่นๆ

-ให้เห็นหรือรู้ทัน เวลาที่มันถูกใช้เป็นฐานข้อมูล ในขบวนการที่เราตีความ หรือตัดสินสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญ ซึ่งมันมักเป็นระบบอัตโนมัติ และเกิดเร็วจี๋ จนมักไม่ทันรู้ตัว ตรงนี้โชปรา บอกให้เราใช้เทคนิคกำกับตนเองว่า จงอย่าตัดสินสิ่งใดๆ หรืออย่าต่อต้าน ถ้าเป็นแบบพุทธของเรา ก็เป็นเรื่องเดียวกับการฝึกจิตอยู่กับปัจจุบันขณะ ด้วย สติปัฏฐานสี่ ซึ่งมีสอนกันหลากหลายสำนัก

เรื่องการนั่งสมาธิ ที่หลานฟางถาม ลุงไม่ชำนาญ คงต้องให้ผู้รู้แนะนำ

แต่ถ้าตามกฎข้อ 1 ที่ว่าเรื่อง สมาธิ วัตถุประสงค์ของโชปราคือ ให้เราฝึก ทำให้ความคิด (ทุกรูปแบบ ทั้งคำพูด และภาพ) หยุดเงียบลง ปกติเราติดนิสัย "คิด" ตลอดเวลา นั่นก็คือ เรามักตีความ แปรรูปทุกอย่าง หรือตัดสินทุกอย่างที่เข้ามากระทบ ไม่เคย แค่ดู เห็น ฟัง เฉยๆ เลยต้องฝึกหัดหยุดระบบอัตโนมัตินี้บ้าง และหัดให้ความเงียบ (ในจิต) อันเกิดจากการไม่คิดนี้ มันยาวนานขึ้น หรือช่วงว่างระหว่างการมีความคิดแต่ละครั้งมันกว้างขึ้น การทำสมาธิของโชปรา คือความหมายนี้ หรือเพื่อวัตถุประสงค์นี้

ผลพลอยได้คือ เมื่อความคิดเงียบลงอย่างแท้จริง ณ ชั่วขณะนั้น เราจะกลับสู่ความว่างของจิต หรือสภาวะจิตอันบริสุทธิ์ที่เป็นสภาวะเดิมแท้ของเรา อันเป็นแหล่งกำเนิด เป็นศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน เป็นสภาวะเดียวกับพลังอำนาจของจักรวาล เป็นต้นธารของทุกๆ สิ่ง เป็นต้น อันจะนำไปสู่สิ่งที่หลานฟางถามเรื่อง "สภาวะ" การเกิดความบังเอิญ (ซึ่งอาจเรียกว่า เห็น ความบังเอิญ) ที่เกิดขึ้นและมีความหมายต่อชีวิตเรา

ลุงว่า ชักจะยาว และกว้างออกไปมากเกินเหตุ ขอโทษนะ ถ้าจะทำให้ยิ่งอ่านยิ่งสับสน รบกวนท่านอื่น ช่วยแชร์ ให้หลานหรือน้อง หรือเพื่อนฟังแง่มุมอื่นๆ กันต่อไปก็แล้วกันครับ

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 26/04/2009
พี่นันท์อธิบายไม่สับสนเลยครับ กระจ่างและเห็นภาพตามได้เลย ส่วนเรื่อง synchronicity ผมว่าคำตอบของ อ.สุวินัย เยี่ยมยอดมากเลยครับ

"คุณต้องเข้ามาอยู่ในวิถีและมณฑลแห่งพลังให้ได้เสียก่อน ธรรมะจัดสรร หรือ synchronicity ก็จะเกิดขึ้นเอง"

เพราะ synchronicity อาจไม่ใช่ "สิ่ง" ที่เราจะ "กำหนด" ได้โดยตรงจากตัวตนอันจำกัดของเรา เราทำได้เพียงทำตัวเองให้อยู่ใน "ภาวะ" (เข้ามาอยู่ในวิถีและมณฑลแห่งพลัง) ที่เอื้อต่อการให้ synchronicity ได้ไหลผ่านเข้ามาหรือผุดขึ้นในชีวิตของเรา

ซึ่งการจะเข้ามาอยู่ในวิถีและมณฑลแห่งพลังนั้น มิติหนึ่งก็คือ ใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติและจิตวิญญาณ อีกมิติก็คือ แต่ละคนต้องให้คำตอบกับตัวเองว่า วิถี-รูปแบบการปฏิบัติ หรือรูปแบบการใช้ชีวิตแบบไหนที่จะทำให้เราเข้าไปอยู่ใน "มณฑลแห่งพลัง" ได้ ตรงนี้คำตอบจะแตกต่างกันไปตามเส้นทางชีวิตของแต่ละคน และยังขึ้นกับเสียงเรียกภายใน จริต และแรงบันดาลใจของเราด้วย

แต่จากประสบการณ์ผมพบว่า แม้เราจะไม่ได้อยู่ใน "วิถีและมณฑลแห่งพลัง" อะไร เแต่ภาวะ synchronicity นี้เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตของเราอยู่แล้ว เพราะมันเป็นวิธีปกติที่จักรวาลจะช่วยเหลือ ชี้ทาง และนำทางเรา ถือเป็น Ordinary Magic เพียงแต่หลายครั้งเราไม่ทันสังเกต มองไม่ออก (หรือไม่ได้สนใจให้ความสำคัญ) เวลาที่มันผุดขึ้นในชีวิต

แต่การ "อยู่ในวิถีและมณฑลแห่งพลัง" จะช่วยเรื่อง synchronicity ได้ในแง่ที่ว่า มันช่วยปรับจูนเครื่องรับสัญญาณ (ตัวเรา) ให้รับข้อความที่ถูกส่งมาได้ดีขึ้น (ให้ปัญญาวิจารณญาณในการแยกแยะและอ่านสัญญาณ / ลดการอุดตันของท่อรับส่งสัญญาณ / ให้พลังชีวิต ฯลฯ) มันไม่เชิงเป็นการเพิ่ม "จำนวน" ของ synchronicity แต่จะเป็นลักษณะของการช่วยลดอุปสรรคในการรับ synchronicity ให้น้อยลง มากกว่า

ผมคิดว่าองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างตรงนี้คือ ที่สุดแล้วให้เราวางใจในกระบวนการของชีวิต วางใจมากพอที่จะละวางตัวตนอันจำกัด (และเป้าหมายที่ขับเคลื่อนออกมาจากระดับนี้) ของเรา เพื่อให้ "ฟ้า" เป็นผู้นำทาง เป็นภาวะของการ surrender อีกรูปแบบหนึ่ง

จุดหมายสูงสุดของเรื่องราวตรงนี้ อาจเป็นเรื่องของการเข้าสู่ "การเดินทางอย่างปราศจากจุดหมาย"

อันนี้เป็นมุมมองส่วนตัวนะครับ

ชื่อผู้ตอบ : อัฐพงศ์ ตอบเมื่อ : 27/04/2009
โว้วววว พรรณาได้งดงามจับใจมากคร้าบบบบ คุณอัฐพงศ์
ชื่อผู้ตอบ : นิก-สปิริต-นิวเอจ ตอบเมื่อ : 27/04/2009
สวัสดีทุกๆท่านครับผม
สวัสดี"หลาน"ฟางคนเก่งที่น่ารัก...ครับ
ขอเริ่มต้นด้วยคำยืนยันสรรพนามนำหน้าของตนเอง..น้านะครับเพราะคุณหนึ่งบอกเคล็ดลับไว้ที่ sorg ว่า
((แผนการคือ เมื่อใดที่เรียกคนอื่นว่าน้อง แสดงว่าเรามีฐานะเป็นพี่ ไม่ใช่ น้า หรือ ป้า)) แต่ไหงเห็นคุณหนึ่งยอมเป็นน้า งั้นผมยืนยันตนเองว่า"อา"ซึ่งยังไงๆผมก็คงจะปลอดภัยกับคำว่า ลูงนะครับ จริงมั้ยครับ คุณลูงนันท์ อิอิ

หลานฟางครับ สมาธิ คุณลูงนันท์ท่าน อธิบายถึงสมาธิอย่างสว่างไสวหมดจดไว้แล้ว อีกทั้งคุณอัฐพงษ์ ท่านมาให้ความรู้ต่ออย่างครอบคลุมจริงๆ เป็นโชคดีของผมด้วย..ขอบพระคุณครับ ยิ้มๆ ปิติครับ

คุณนันท์..ครับ ตอนนี้ผม อาจหายหน้าหายตาไปบ้าง ก็เพราะกำลังหัวฟูทำงานศิลปะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ(งานปั้นประยุกต์)ที่อยู่ในหัวข้อของ”สมาธิ”พอดี ซึ่งโจทย์นี้ถือเป็นการดึงดูดของการปฎิบัตร(ของผมที่ต้องเรียนรู้ไปอีกมาก)กับผลลัพท์?ที่ลูกค้าได้เข้ามามอบคำตอบพอดี คอนเซปท์ คือให้ปั้นในทุกๆขั้นตอนผ่านการสัมผัสจากพลังงานมือทั้งหมดให้ได้ทั้งหมด แม้แต่เทคนิคการให้สีก็ต้องห้ามใช้อุปกรณ์ โดยให้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย เป็นกลาง(ไม่อิงกับศาสนา แต่สื่อถึงมวลมนุษย์) ที่เมื่อมองแล้ว จิตสงบ หรือชวนให้นั่งสมาธิ และให้โจทย์รูปทรงสัญลักษณ์นั้น มีโครงของรูปทรงเป็นทรงปิรามิด ดังที่คุณแฟนพันธ์แท้ ได้เคยอธิบายไว้ และข้อมูลต่างๆที่คุณแฟนพันธ์แท้มอบไว้ที่นี่เป็นสิ่งเสริมสร้างพลังกาย กำลังใจในช่วงสภาวะการณ์ขณะนี้อย่างดีที่สุดครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับผม ผมไม่ได้เป็นนักอ่าน(ที่เทียบชั้นไม่ได้เลยกับขั้นเทพทุกท่านที่นี่)แต่ยังโชคดีที่ได้ระบายความรู้สึกออกมาเป็น ปติมากรรม หรือ การวาด ได้

สวัสดีคุณนิกครับ ผมไม่ได้มาแชร์กับคุณนิกเลย คุณนิกโตขึ้นมากมายและค้นพบ"พระเจ้า"(พรสวรรค์)ที่ปรากฎพระองค์อย่างเด่นชัดในตัวน้องมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่สัมผัสได้ พลังงานแห่งความมุ่งมั่นของคุณนิกพี่ต้องถือว่าเป็นสุดยอด การเก็บข้อมูลอย่างแน่นเอี้ยดกับเวลาและช่วงอายุ เป็นสิ่งพิเศษ ที่เมื่อเวลาเหมาะสมมาถึงน้องก็จะทราบคำตอบที่น่าทึ่งของชีวิต ขอให้น้องสร้างภาวะความว่าง(สบายๆ)ไว้ เพื่อคำตอบที่น้องต้องการนะครับ ส่วนในหลักของพระสูตรถ้าคุณนิกยังต้องการปฎิบัตรตามพระสูตร ก็บอกผมด้วย(เรื่องหนังสือต่างๆพี่ไม่สามารถจริงๆเพราะต้องเป็นท่านผู้รู้ระดับเทพที่นี่)แต่แบ่งภาคให้ผมมาอยู่ในการปฎิบัตรก็แล้วกันครับ ผมจะเริ่มต้นพระสูตรไปพร้อมกัน อย่ากังวลที่รู้ข้อมูลแล้ว เพราะหัวใจคือ ปล่อยวาง เมื่อเราตั้งมั่นที่จะปล่อย จิตใต้สำนึกก็จะเชื่อและไม่สงสัย การเริ่มต้นก็จะเป็นไปดังที่ต้องการครับ ยิ้มแย้มครับ

สวัสดีและขอบพระคุณ คุณอัฐพงศ์ อย่างสูง ครับผม ผมได้มีโอกาส รับหนังสือ “ความลับ 5 ข้อฯ” ในรูปของ e-book จากความกรุณาของท่านอาจารย์วสันต์เมตตาส่งให้ ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ครับ ผมจะนำแนวทางจาก e-book ของคุณอัฐพงศ์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด และจะส่งมอบ(อย่างถูกต้องตามความกรุณา) ให้กับหมู่ เพื่อนๆ ญาติๆ ที่ต้องการอ่านจริงๆให้ได้รับสิ่งดีๆนี้ครับผม ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ชื่อผู้ตอบ : โก้ ตอบเมื่อ : 27/04/2009
ขอบคุณคุณโก้มากๆครับ นั่งสมาธิภาวนามนตราโซ-ฮัม พอจิตว่างแล้วก็ใส่เจตนารมณ์หรือพระสูตรเข้าไป และอ่านหลักการในช่วงที่จิตว่างแล้วจะเริ่มตรงไหนก่อนดี หรือต้องหาต้นแบบในบทที่ 6 ก่อนดี แถมมีแบบฝึกหัดของแต่ละบท แล้วก็ชุดแก่นของพระสูตรที่โชปราให้จินตนาการภาพพร้อมกับท่องพระสูตรในตอนเสียสมาธิที่อยู่หน้าหลังสุดของแต่ละหลักการใน7หลักการอีก เลยไม่รู้จะทำตรงไหนก่อนดี
อิอิ
ชื่อผู้ตอบ : นิก-สปิริต-นิวเอจ ตอบเมื่อ : 27/04/2009
อันที่จริง คุณอัฐพงศ์ ก็ได้แสดงความเห็นไปอย่างหมดจดงดงามแล้ว ในประเด็นว่าด้วย "มณฑลแห่งพลัง" มิหนำซ้ำ ยังได้คุณโก้ มาเพิ่มเติมในภาคปฏิบัติ ซึ่งผมเห็นว่า ก็กลมกลืน เข้ากันได้ดี (harmony) อย่างยิ่ง

แต่เผอิญคุณแฟนพันธุ์แท้สงสัยว่ามันเป็นเรื่องเดียวกันกับสิ่งที่ อาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู เขียนไว้ในหนังสือ "มณฑลแห่งพลัง" หรือไม่ และคุณ dadeeda ซึ่งลงทุนกลับไปอ่านซ้ำอีกรอบหนึ่ง กลับมายืนยันในความเห็นส่วนตัวของเธอ ว่า "ใช่"...ผมจึงใคร่แสดงความเห็นเพิ่มเติม เพื่อลองขยายมุมมอง ดังนี้ :-

ผมไม่แน่ใจว่า คำว่า "มณฑลแห่งพลัง" ในความหมายจริงๆ ของ ดร.สุวินัย นั้นคืออย่างไรกันแน่ เพราะผมได้ยิน ได้เห็น คำคำนี้เป็นครั้งแรก ก็จากอาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู ซึ่งท่านเป็นผู้เขียนหนังสือในชื่อนี้นั้นเอง ซึ่งท่านต้องการอธิบายถึงการที่เราได้เข้าไปอยู่ใน "สภาวะไหลลื่น" ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า "flow" (ซึ่งบางท่านก็แปลว่า "สภาวะไหลคล่อง") อันเป็นคำที่นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เชื้อสายฮังกาเรียน ที่ชื่อ "มิฮาย ซิกเซนต์มิอายยี" (Mihaly Csikszentmihaly) เป็นผู้ใช้ครั้งแรก ในการเขียนหนังสือชื่อ "Flow : The Psychology of Optimal Experience" เมื่อปี ค.ศ.1990 อันเป็นหนังสือที่โด่งดังมาก คุรุหลายคนก็ล้วนอ้างอิงเนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้กันไว้ด้วย รวมทั้ง ดร.เวนย์ ไดเออร์ ก็ยังอ้างไว้ในหนังสือ "อยู่อย่างปาฏิหารย์" ของเขาด้วย (หน้า 193 ฉบับแปล)

แต่ในหนังสือ "มณฑลแห่งพลัง" ของอาจารย์วิศิษฐ์ นั้น ท่านได้ผสมผสานหนังสืออีกสองเล่มของมิฮายยี ที่เขียนในอนุกรมเดียวกันกับ Flow คือ "Creativity : Flow and the Psychology of Discovery and Invention" (1996) และ "Finding Flow : The Psychology of Engagement with Everyday Life" (1997) พอดีช่วงที่อาจารย์วิศิษฐ์ ท่านเขียน "มณฑลแห่งพลัง" นั้น มิฮายยี เขายังไม่ได้เขียน "Good Business : Leadership,flow and the making of meaning" (2008) ออกมา มิฉะนั้น อาจารย์วิศิษฐ์ ท่านก็คงเอามาผสมผสานไว้ในหนังสือ "มณฑลแห่งพลัง" ของท่านด้วย

กล่าวโดยสรุป หนังสือทุกเล่มของมิฮายยี ก็ล้วนเน้นไปที่เรื่อง "Flow" หรือ "สภาวะไหลลิ่น" ทั้งสิ้น เพียงแต่มีจุดเน้นไปในประเด็นที่แตกต่างกันไปในแต่ละเล่ม

ในความเห็นของผม "Flow" หรือ "สภาวะไหลลื่น" หรือ "มณฑลแห่งพลัง" นั้นคือเรื่องเดียวกัน (แต่จะเป็นเรื่องเดียวกับที่ ดร.สุวินัย ท่านเข้าใจ หรือไม่ ผมไม่ทราบ ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น) และมันสามารถอธิบายได้อย่างที่คุณอัฐพงศ์ ได้อธิบายไว้ นั่นเอง

กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่ดีพัค โชปรา กล่าวไว้ในหนังสือ 7 กฏฯ ของเขานั้น มันก็คือการให้เราเข้าไปอยู่ในสภาวะไหลลื่น หรือเข้าไปอยู่ในมณฑลแห่งพลังให้ได้นั่นเอง ถ้าจะกล่าวให้ง่ายขึ้นก็คือให้ถามตัวเองด้วยคำถามสองข้อ คือหนึ่ง "จักรวาลให้เราเกิดมาเพื่อทำอะไรได้ดีที่สุด ชนิดที่มีแต่เราเท่านั้นที่จะทำได้ดีกว่าใครในโลก" และสอง "เราจะนำสิ่งที่เรามีพรสวรรค์นั้นไปรับใช้ผู้คนและโลกได้อย่างไร" ถ้าเราค้นพบทั้งสองข้อนี้แล้ว ก็เท่ากับว่า "เราเข้าถึงสภาวะความเป็นพระเจ้า" ได้แล้ว ซึ่งก็คือเราได้เข้าไปอยู่ในมณฑลแห่งพลังนั้นแล้วนั่นเอง (ซึ่งมันก็จะต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกพอสมควร เช่น การค้นหาพรสวรรค์,จุดแข็ง,ความถนัด,ความเป็นอัจฉริยะเฉพาะตัว,ฯลฯ การพาตัวเองเข้าไปอยู่ให้ถูกที่ถูกเวลา, การจับสัญญาณของโชค,ดวง,ความบังเอิญ ต่างๆ นาๆ เป็นต้น)

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า นี่จะเป็นการขยายมุมมอง หรือยิ่งทำให้มันตีบตันขึ้นก็ไม่ทราบ

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 27/04/2009
....จุดหมายสูงสุดของเรื่องราวตรงนี้ อาจเป็นเรื่องของการเข้าสู่ "การเดินทางอย่างปราศจากจุดหมาย.......

ตามความเข้าใจของคุญอัฐพงศ์ในประโยคนี้
จะเป็นจุด...หรือภาวะเดียวกันกับที่โชปราบอกว่า

.............ถึงจุดจุดหนึ่งคุณสามารถบรรลุทุกสิ่งโดยไม่ต้องทำอะไรเลย........
รึเปล่าคะ??
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 27/04/2009
ขอบคุณหลายเหลี่ยมมุมที่สวยงาม จากเพชรเม็ดเดียวกัน ของผมบรรยายได้ดังนี้ครับ

จุดหมายในความหมายนี้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ไกลออกไป (ไม่มีระยะทาง) หรืออยู่ในอนาคต (พ้นจากมิติของเวลา)
การมีจุดหมายที่แท้ จะพ้นไปจาก ทั้งระยะทางและเวลา เพราะมันดำรงอยู่ในสภาวะแห่งความเป้นหนึ่ง ไม่มีสอง ไม่แบ่งแยก เหมือนเช่น การทำบางสิ่งด้วยความรัก แบบลืมวันลืมคืน

รสสัมผัสของจุดหมายนั้น คือ การได้ตระหนักรู้ถึงความมหัศจรรย์ของชีวิต ที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกขณะนี้แล้ว

การตระหนักรู้นี้ มีจิตที่ถูกฝึกให้ดำรงสติอยู่ในปัจจุบันขณะเป็นฐาน หรือมันจะไหลผ่านเมื่อม่านบังทัศนะอันเกิดจากความคิดทั้งหลายได้หายไป อันเป็นการนำพาเราก้าวเข้าสู่วิถี หรือ(น่าจะเป็น) การก้าวเข้าสู่สิ่งเดียวกับมณฑลแห่งพลัง หรือ flow หรือ พื้นที่ของพระเจ้า หรือ ความสามารถในการเปิดตาตื่น ขึ้นมองเห็น ข่าวสาร เบาะแส ความบังเอิญทั้งหลาย ทั้งเป็นการตื่นขึ้นมาเห็น ความมีอยู่ของโลกและสรรพสิ่งว่า มหัศจรรย์ ละลานตา และงดงามยิ่งนัก เป็นสภาวะที่สติสัมปชัญญะที่ซึมเซาของเรา ตื่นขึ้นสูงสุด

ทำนองนี้แหละครับ

เป็นกำลังใจให้คุณโก้ นะครับ เชื่อว่าคุณค่าของงานที่ว่า จบลงในทุกๆ ขณะที่คุณโก้กำลังทำอยู่แล้วครับ

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 27/04/2009
นี่ก็งดงามจริงๆ ครับคุณนันท์ ผมนึกออกแล้ว ผมว่าคุณนันท์เขียนหนังสือออกมาในรูปบทกวี ในลักษณะนี้ ก็น่าจะดีมากๆ เอ่อ..นี่ไม่ใช่การกดดันนะครับ เดี๋ยวจะมีคนเป็นลมอะไรไปอีก (ฮา)

เพื่อไม่ให้คุณนันท์ต้องเผชิญกับความกดดันอยู่คนเดียว ผมขอเสนอให้คุณอัฐพงศ์ มีความกดดันเป็นเพื่อนคุณนันท์อีกคนหนึ่ง ด้วยการเขียนหนังสือออกมาสักเล่มหนึ่ง (ฮา) อ่านแนวคิด ทั้งที่ตรงนี้และจากอีเมล์ และอ่านจากการใช้ภาษาแล้ว คุณอัฐพงศ์ ก็เป็นอีกคนหนึ่ง ที่ไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น นอกจากต้องเขียนหนังสือออกมาสักเล่มหนึ่ง (ฮา) ไม่รู้เป็นบ้าอะไรผมเนี่ย เห็นใครเข้าท่า ก็เที่ยวได้ยุเขาไปทั่วหมด (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 28/04/2009
ครับขอร่วมแสดงความเห็นเช่นเดียวกับท่านอาจารย์วสันต์ครับ คุณนันท์,คุณอัฐพงศ์ ครับ เมื่อไหร่เมื่อนั้นครับ สาบายๆ ผมรอได้เสมอ และเมื่อเวลานั้นมาถึงกระผมจะนำหนังสือไปขอลายเซ็นที่ปกด้วยครับ ยิ้มๆๆๆครับ


ครับคุณนิก...พี่ขออณุญาติ แชร์จากคำถามของคุณนิกนะครับ ก่อนอื่นต้องบอกว่าจากพลังดึงดูดของคุณนิก ที่ทำให้ตลอดมาพี่ต้องวนเวียนค้างคาในความรู้สึกว่า เราคงไม่รอดแน่(ฮา)คงจักต้องแชร์เรื่องพระสูตรกับคุณนิกเป็นแน่แท้ จนในที่สุดก็ นะ..ให้มั่นแจ่มแจ้งกันสักที และถ้าข้อมูลใดมุมใดของพี่ คุณนิกคิดว่าไม่ถูกหรือต้องเพิ่มเสริมก็กรุณาชี้แจงมาเลยครับ เราต่างมาเรียนรู้ แชร์ข้อมูลเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายนะครับ ยิ้มๆ

ข่าวดี!!ที่ค้างคาในใจคุณนิกมานาน คือการรู้หลักพระสูตรก่อน ไม่เป็นปัญหาแน่นอนครับ กลับเป็นข้อดีด้วยซ้ำ ทำให้เราตัดสินใจได้ว่า เราจะพร้อมที่จะทำมั้ย เพราะอันนี้ความหมายโชปราแท้จริงเน้นว่า เมื่อเราเริ่มพระสูตรขอให้ เรียง1234567 เท่านั้น อย่าทำสลับข้ามไปมา รู้ก่อนอ่านก่อนไม่เป็นไร หัวใจคือแค่เรียงไปเท่านั้น คือเค้าเกรงว่า ในกรณีที่เราอ่านไปก่อนแล้วเกิดชอบพระสูตรข้อ3ก็อยากเริ่มข้อนี้ก่อนอะไรแบบนี้นะครับ ย้ำอย่างเดียวขอให้เรียงลำดับ แม้จะวนกลับมาก็ให้เรียงไปตลอด เพื่อหลักสูตรที่เค้าสร้างไว้จะได้บรรลุผล

ในตอนนี้คุณนิกต้อง ตัดความกังวลทั้งหมดทั้งมวล คุณนิกมีเพื่อนร่วมทางแล้ว พี่จะมา(ร่วมด้วยช่วยกัน)เป็นเนวิเกเตอร์(อาวุโส)ในทริปนี้ก่อน พอเราต่างวิ่งฉิ่วแล้ว ก็ค่อยแยกย้าย ต่างคนต่างมุ่งไปตามทางของเรา(ฮา) หัวใจคือ ไหลลืนสบายๆ ประหนึ่งว่า เรากำลังจะแรลลี่ท่องไปในดินแดนแห่งความความหรรษา เพื่อชีวิตที่ปราถนา ฉะนั้นเราจะต้องเริ่มต้นด้วยความสุข ปลอดโปร่ง ย้ำนะครับ ปล่อยให้ความสุขปลอดโปร่งนำทาง เราเพียงแต่ค่อยๆทำไปเท่านั้น ก่อนจะเริ่มเราจะไม่รีบร้อนใดๆทั้งสิ้น เพราะเราต้องให้เวลากับต้นแบบ(สำคัญมากครับ) ต้องเข้าไปทำความกระจ่างแจ่มแจ้งกับต้นแบบให้ชัดเจนก่อน และจนเมื่อ คุณนิกพร้อม พี่พร้อม ค่อยออกเดินทาง ไปกับพระสูตร เวลาที่เราพร้อมที่สุด คือเวลาที่ดีที่สุด และพี่ขออณุญาติเรียงลำดับขั้นตอนมา ดังนี้นะครับ

1.เลือกต้นแบบ.....
ครับคุณนิก เริ่มต้น เราควรจะต้องหาต้นแบบก่อน ตรงนี้ให้ใช้เวลาตรึกตรองต้นแบบสัก สองสามวันไปเลยก็ได้ครับ ลองดูให้รอบคอบจริงๆว่าต้นแบบ2-3แบบไหน จะกระตุ้นพลัง กระตุ้นแรงบัลดาลใจให้เราได้แท้จริง เพราะตรงนี้สำคัญ “ต้นแบบ” จะผสานรวมเป็น ผลลัพท์ของเจตนารมณ์ของเรานั่นเองครับ คือในเมื่อเราน้อมใจไปกับพระสูตรทั้ง7แล้ว เพื่ออะไร? ก็เพื่อพัฒนากาย-ใจของเราให้ดึงคุณลักษณะที่เรามีอยู่แล้วดังต้นแบบ ย้ำนะครับเรามีอยู่แล้ว ( แต่ต้นแบบนี้ไม่ใช่การก๊อปปี้ตัวตนแบบ อย่างหลักสูตรNLP นะครับ) เพียงแต่ใช้ต้นแบบจะมากระตุ้นคุณสมบัติที่เงียบงันในตัวเราเหล่านี้ ให้ออกมาสำแดงพลังในทางสร้างสรรค์ เพื่อที่จะให้เราได้ค้นพบตัวตนเที่แท้จริงของเรา และจะได้ไปให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ที่อาจเคยคิดว่าเป็นเพียงแค่ภาพฝัน หรือคิดแต่สองจิตสองใจ หรือคิดว่าอย่างเราจะได้เหรอ ?ให้เกิดขึ้นได้ อย่างที่ควรจะเป็น ดังที่ใจปรารถนาครับ

2.แปลงกายต้นแบบ ให้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในโลกของเรา......
ที่นี้พอเลือกต้นแบบได้แล้ว เราจะต้องสรุป และทำความกระจ่างกับต้นแบบที่เราเลือก เพื่อจะดึง วลี หรือสิ่งที่ทดแทนความหมายของต้นแบบออกมา จากทั้งสามต้นแบบ ตรงนี้ขอให้คุณนิก ใช้เวลาหลายๆวันเป็นส่วนหนึ่งของต้นแบบให้รู้แจ้งในความหมายไปเลย โดยสิ่งทดแทนต้นแบบเหล่านั้น เมื่อคุณนิกและพี่อ่านหรือดูแล้วจะต้อง สามารถกระตุ้น!!แรงบันดาลใจหรือสร้างพลังให้กับเราได้ พี่ขอยกตัวอย่างนะครับ สมมุติพี่เลือก สุดยอดนักมายากล ผู้วิเศษเสกมนต์ได้ดังใจปรารถนา สิ่งแทนความหมายอาจเป็นวลีประโยคเช่น “สำหรับชั้น ทุกอย่างง่ายดายสบายบรื๋อ!!!” ถ้าเป็นวัตถุสัญลักษณ์ ก็อาจเป็น “แหวนที่เมื่อสวมแล้วทุกอย่างล้วนเป็นไปได้. หรือ”ไม้คฑาพิเศษ”ล็กๆสักอัน หรือตัวตุ๊กตุนตุ๊กตา ที่แทนความหมายได้ คุณนิกครับ(แหม..ถ้าพี่อยู่ใกล้จะปั้นต้นแบบให้เลย) พี่เดาว่าสุดยอดนักอ่านอย่างคุณนิกอาจจะชอบที่จะเลือกเป็นวลีนะครับ ไม่ต้องใช้เหตุผลอ้างอิงมากมาย แค่ใช้แต่จิตสัมผัสง่ายๆ โดยเราเราต้องสนุกแบบเด็กๆ คิดเหมือนเด็กๆที่ เปี่ยมไปด้วยโลกแห่งจินตนาการ คุณนิกคิดว่าอะไรใช่ ก็คืออันนั้น เพราะมีแค่ฉันกับเธอ(สัณลักษณ์)ที่เรารู้ใจกัน *ย้ำนะครับ ให้เวลาในการทำความกระจ่างและซึบซับในคุณสมบัติของต้นแบบที่เราเลือกก่อนครับผม

3.พิมพ์หรือถ่ายข้อมูลแก่นของพระสูตรออกมาเตรียมไว้ก่อนทั้ง7วัน โดยแยกเป็นแผ่นละหนึ่งวันนะครับ




ที่นี้เมื่อซึบซับในสัญลักษณ์ และปริ๊นแก่นพระสูตรออกมาเตรียมไว้ ก็มาถึง การจัดเวลา และวันที่ เริ่มพระสูตร

เริ่มพระสูตร...
สมาธิ......เราก็ทำไปตามหนังสือนะครับ คือ ให้เวลากับตอนเช้า และก่อนนอน ทำสมาธิ(อาจใช้การมองภาพ Mandela ในการปรับสมองก่อน) จากนั้นก็นำต้นแบบมา ว่างไว้ตรงหน้า และก็นั่ง(ห้อยขาบนเก้าอี้หลังตรงสบายๆก็ได้นะครับ) โดยสมาธิภาวนามนตราโซ-ฮัม *หัวใจของตรงนี้ คือ”สมาธิ” แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เน้นหนักไปที่การทำให้จิตว่างสำหรับอ่านพระสูตรเป็นหลัก(เพราะนักอ่านระดับคุณนิก สมาธิจะมีทันทีที่อ่านหนังสืออยู่แล้ว)แต่โชปรา เน้นให้จิตว่าง ก่อนสมาธิในการมองและนำคุณสมบัติของต้นแบบ(ที่เราว่างไว้ตรงหน้า โดยเราได้เข้าใจและซึบซับความหมายทั้งหมดมาก่อนแล้ว) ให้ฝังลึกลงผนึกในจิตใต้สำนึกของเราครับ อันนี้ไม่ต้องพยายามเพ่งต้นแบบใดๆนะครับ ตามที่พี่แชร์ด้านบนคือ เมื่อเราให้เวลา(ก่อนวันทำพระสูตร)โดยซึมซับต้นแบบมาก่อนแล้ว จนขึ้นใจ เพียงแค่มองสักแป๊ป ก่อนหลับตา ก็จะเข้าใจและสัมผัสได้โดยอัตโนมัติแล้ว(แบบมองตาก็รู้ใจอะไรแบบนั้น) และเมื่อสมาธิก็จะซึบซับอย่างไร้การขัดขวางจากจิตนอก และเมื่อลืมตาก็ให้เพียงแค่อ่านหลักการของพระสูตรผสานไป แค่นี้เป็นอัน จบขั้นตอนครับ

ที่นี้ก็ดำเนินชีวิตไปโดยมีแกนของพระสูตรของแต่ละวัน(ที่เราปริ๊นส์ พกติดตัว ไว้ช่วยยามต้องการ ตามรายละเอียดที่หนังสือบอกไว้ครับ หัวใจคือ อ่านแต่ละประโยคแล้วมโนภาพสร้างความรู้สึกว่าเราเป็นดังในข้อมูลนั้นครับ
ส่วนแบบฝึกหัด คุณนิกไม่ต้องกังวลเลย เราจะทำเมื่อว่าง หัวใจคือ สร้างความกระจ่างของพระสูตรและเน้นการทักทาย เน้นการฟังเสียง การนำจิตภายในของเราสว่างให้เด่นชัด จากการสร้างคำถาม หรือสร้างสภาวการณ์ต่างๆตามที่แบบฝึกหัดให้มาครับผม

สบายๆไหลลื่น นะครับ พี่ก็ป้วนเปี้ยนอยู่ตรงนี้ รอการเรียนรู้ไปด้วยกันเสมอครับผม ยิ้มๆๆๆ


ชื่อผู้ตอบ : โก้ ตอบเมื่อ : 28/04/2009
คุณนันท์ ครับ

- ผมได้อ่าน Osho คุรุวิพากษ์คุรุ แล้วนึกถึงคุณนันท์ ตะงิด ๆ เลยเพราะ เค้าได้วิพากษ์ คาริล ยิบราล ไว้ประมาณ 10 กว่าหน้า ทำให้นึกถึงคุณนันท์มาก ๆ อยากให้คุณนันท์ได้อ่านจังครับ ผมว่ามันโดนเลยทีเดียว ที่สำคัญ มีเนื้อหาวิพากษ์ ศาสดา เต๋า อีก 2 ท่านด้วย เนื้อหา ไม่มากครับ ถึงแม้ จะหนา กว่า 200 หน้า แต่เนื่องจาก เค้าวิพากษ์ ไว้มากหลาย 10 คน ฉะนั้นไม่หนาอย่างที่เห็นหรือท้อหรอกครับ ผมว่าคุณนันท์ ต้องโดนแน่ ๆ


ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 28/04/2009
ได้รับหนังสือนี้จากน้องคนหนึ่งมาอยู่ในมือ 4-5 วันแล้วครับ จะรีบลงมืออ่านให้จบ แล้วมาแลกเปลี่ยนกันดีไหมครับ

ว่าแต่คุณนีโออ่านจบแล้วเหรอครับ และที่ว่าโดน เล่าได้ไหมครับ ว่าโดนตรงต่อมไหนเข้าครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 28/04/2009
เล่มแรก ยังวางแผนว่าจะเต้นฟุตเวิร์ค แยบวนไปรอบๆ อยู่เลย นี่ต้องเปลี่ยนเป็นเข้าคลุกวงในแล้วเหรอครับ (ฮา) ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจครับ ท่านอาจารย์
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 28/04/2009
สรุป คุณนันท์ มีหนังสือแล้วใช่ไหม ครับ

- ถ้างั้น พลิก ไปหน้าที่เป็น หัวข้อ คาริล ยิบราล ซิครับ อ่านข้ามได้ครับ เพราะเนื้อหาไม่ต่อเนื่อง จบเป็นตอน ๆ ไป

- ผมเองยังอ่านไม่จบทั้งหมด อ่านแต่บุคคลที่ต้องใจก่อนครับ

ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 29/04/2009
ได้ครับ แต่ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์นี้ หยุด ยาว คงได้เลือกอ่านอย่างที่คุณนีโอแนะนำ แล้วจะมาเล่าสู่กันครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 29/04/2009
ได้ก้อปปี้คำแนะนำของคุณโก้ทั้งหมดเกี่ยวกับหนังสือ โชค ดวง ความบังเอิญฯ ตั้งแต่ครั้งแรกที่คุณโก้คุยกับผมเรื่องนี้ จนถึงกระทู้ล่าสุดข้างบนนี้ลง microsoft word ว่าจะเอาไปปริ๊นท์ออกมาอ่าน ไว้เป็น navigation ครับ
อ่านหลักการของพระสูตรผสานไป พร้อมด้วย ท่องพระสูตรที่เป็นภาษาสันสกฤตสำหรับวันนั้นๆด้วยใช่ไหมครับผม บางทีผมยังคิดว่าการจินตนาการท้ายบทพร้อมท่องพระสูตรน่าจะเป็นส่วนหลักซะด้วยซ้ำ เพราะจิตใต้สำนึกน่าจะถูกโปรแกรมได้ง่ายกว่า ถ้ามีภาพภายในจิตใจของเจตนารมณ์นั้นๆอย่างคมชัด
แล้วผมก็คิดว่าอยากจะเริ่มหลักการข้อที่1เรียงเลย โดยไม่ต้องหาต้นแบบก่อน เพราะหลักการข้อที่6(เท่าทีเผลอไปอ่านมาแล้ว)มีเจตนารมณ์ที่ให้ต้นแบบทำงานผ่านเราด้วย ก็ไม่น่าจะจำเป็นต้องหาต้นแบบก่อนในตอนแรก แบบฝึกหัดบางอย่างเช่น ในหลักการข้อที่ 4 กับ 6 เป็นแบบฝึกหัดที่ผมคิดว่าน่าจะสำคัญมากๆ น่าจะมากกว่าการแค่อ่านหลักการและท่องพระสูตรเฉยๆ เพราะมันจะให้ความกระจ่างแก่จิตภายในได้มากกว่า แต่โชปรากลับบอกว่าแบบฝึกหัดเป็นแค่ส่วนเสริมไม่ต้องทำก็ได้ ขอคุณโก้อธิบายเพิ่มเติมหน่อยครับ
ขอเบอร์โทรพี่โก้ได้ไหมครับ จะได้สะดวกในการปรึกษาหารือกับเนวิกเกเตอร์โก้ผู้เลอเลิศครับ สงสัยอะไรจะได้โทรถามได้ทันที เพราะผมว่าผมควรลงภาคสนามนี้ซักทีครับ รีรอมาเยอะแล้ว ขอบคุณมากครับ
ชื่อผู้ตอบ : นิก-สปิริต-นิวเอจ ตอบเมื่อ : 30/04/2009
ยินดีมากครับคุณนันท์ รออยู่น่ะครับ



ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 01/05/2009
คุณนิกครับ...ขอบพระคุณในการแชร์ข้อมูล และการแสดงความเห็นคิดเห็นนะครับ พี่ขอขอบพระคุณในความไว้วางใจ แต่จริงๆแล้วเราเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับคุณนิก..การแชร์นั้น หัวใจคือ ความเป็นอิสระสบายๆไม่กดดัน ว่าไงว่าตามกัน มีทางออกเสมอ และถ้าในมุมมองคุณนิกคิดว่าไม่ต้องหาต้นแบบก่อน ก็ตามนั้นครับ ยิ้มๆ
คุณนิกครับ หนังสือโชค ดวง จริงๆแล้วก็มีเนื้อหาดังหลักการ หรือคำสอนทั่วๆไป เหมือน เจ็ดกฎของคุณนันท์ ก็คือ การ คิด พูด ทำ ให้ดีโดยมีสติสัมปชัญญะ เพื่อการพัฒนาตน สร้างความกระจ่างแก่จิตภายใน เพียงแต่ที่เรามาเลือกเล่มนี้ เพราะได้สร้างเนื้อหาแยกออกมาเป็นหลักสูตร และคุณนิกให้ความสนใจมุ่งเป็นพิเศษที่เล่มนี้มาตลอด และพี่ก็มาขอเป็นแนวร่วมปฎิบัตรด้วย ส่วนการเดินทางก็เหมือนเดิมครับ ปล่อยให้ความสบาย ปลอดโปร่ง ปล่อยวาง นะครับ

แกนของพระสูตร เวลาจินตานาการตามข้อความนั้น ขอให้คุณนิกสบายๆ เราอาจจะไม่ต้องเข้าถึงทั้งหมดในการอ่านการปฎิบัตรในครั้งแรกๆ แต่จะเข้าที่เข้าทางกระจ่างขึ้น เมื่อการหมุนเวียนเปลี่ยนซ้ำวนกลับมา คุณนิกจะเห็นว่าโชปราท่านใช้วิธีเน้นการทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอทุกวัน แต่สร้างกระบวนการเรียนรู้จากแกนพระสูตรแบบค่อยเป็นค่อยไป แบ่งย่อยเพื่อนำไปปรับใช้สอดแทรกกับการดำรงชีวิตในแต่ละวัน เมื่อคุ้นชิน ทุกแกนของพระสูตรก็จกลมกลืนไปเอง เราอาจจะดูว่า หลักปฏิบัตรในเล่มนี้เป็นหลักสูตร แต่ในความเห็นพี่กลับมองว่า เป็นแนวอิสระที่ให้เราปรับใช้กับชีวิตเราเอง เพียงแต่ขอให้เรียงไปในแต่ละวัน

คำถามคุณนิกที่ว่า…..หลักการข้อที่6(เท่าทีเผลอไปอ่านมาแล้ว)มีเจตนารมณ์ที่ให้ต้นแบบทำงานผ่านเราด้วย ก็ไม่น่าจะจำเป็นต้องหาต้นแบบก่อนในตอนแรก แบบฝึกหัดบางอย่างเช่น ในหลักการข้อที่ 4 กับ 6 เป็นแบบฝึกหัดที่ผมคิดว่าน่าจะสำคัญมากๆ น่าจะมากกว่าการแค่อ่านหลักการและท่องพระสูตรเฉยๆ เพราะมันจะให้ความกระจ่างแก่จิตภายในได้มากกว่า น่าจะมากกว่าการแค่อ่านหลักการและท่องพระสูตรเฉยๆ เพราะมันจะให้ความกระจ่างแก่จิตภายในได้มากกว่า แต่โชปรากลับบอกว่าแบบฝึกหัดเป็นแค่ส่วนเสริมไม่ต้องทำก็ได้ ขอคุณโก้อธิบายเพิ่มเติมหน่อยครับ
ครับ....โชปราท่านวางรูปแบบของประโยชน์ทุกอย่างเฉลี่ยไว้อย่างแยบยล เพื่อให้ประยุกต์กับวิสัยของเราต่างกัน เมื่อคุณนิกเห็นว่า แบบฝึกหัดในหลักการข้อที่ 4 กับ 6 เป็นแบบฝึกหัดที่สำคัญ คุณนิกก็สามารถเข้มข้นกับตรงนี้ได้เลย ส่วนพี่ก็อาจจะไปเข้มข้นตรงจุดอื่น ก็ว่ากันไปตามวิสัย เราทำสิ่งที่ดี ได้ทั้งนั้นครับ ยิ้มแย้มครับ
ชื่อผู้ตอบ : โก้ ตอบเมื่อ : 01/05/2009
****** พี่ขอเพิ่มเ ในส่วนของพี่ เพื่อมอบความหวังดี อย่างจริงใจสุดๆให้กับคุณนิก
สิ่งนี้เป็นภาคพนวกของพี่เอง เป็นสิ่งที่พี่ได้รับมาจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆจาก“แม่’พี่เอง แม่ค้นคิดวิธีที่มอบ”การดำรงสติอยู่กับปัจจุบัน”ให้ลูกอย่างทั่วถึง แม่ไม่รู้ว่าจิตใต้สำนึกคืออะไร รู้แต่ว่าต้องพูดๆซ้ำๆทุกวี่วัน ด้วยเสียงเนิบๆ และแม่รู้ว่าจะต้องบอกกับแต่ละคนโดยการเข้าถึงในรูปแบบที่ต่างกันแต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
แม่ใช้คำว่า …..*หมั่นสังเกตลมหายเข้าออกนะ* ให้กับพี่ชายพี่ ที่อายุห่างกันปีเดียว แต่พี่เค้าจะเข้าถึงคำพูดแบบนี้ได้อย่างเข้าใจ ว่าแม่ต้องการให้ เจริญสติ พี่ชายพี่เค้าสามารถเรียน ธรรมะในวันเสาร์อาทิตย์ได้ตั้งแต่เด็กๆ ในขณะที่พี่เอง แค่พูดถึงวัดก็เหมือนผีเข้า กะแด่วๆ และแม่เคยใช้คำๆนี้กับพี่ พี่ก็จะเถียงกลับด้วยปัญหาสารพัน เอ้าแม่!ให้โก้สังเกตแต่ลมหายใจแล้วจะข้ามถนนรถไม่ชนตายเหรอ แล้วรอรถเมล์มัวแต่สังเกตลมหายใจก็พอดีขึ้นรถไม่ทันแน่ นู่นนี่สารพัดสารพัน พูดง่าย คือ สมองมันแค่นี้ต้องพูดอีกอย่าง
แม่จะบอกกับพี่โดยใช้คำว่า*หมั่นหายใจเข้าออกให้ลึกๆนะ หลอดลมจะได้ขยายหายใจคล่องๆ*(แม่ได้ใช้กุศโลบายในการเป็นหอบหืดอย่างหนักของพี่เอง ในการเข้าถึง วิธีที่จะให้เรามีสติกับลมหายใจ)

คุณนิกครับ ในวันนี้กับหลักสูตรของโชปรา ที่เรากำลังจะเริ่ม มีอีกสิ่งหนึ่ง พี่ปราถนาอย่างเหลือเกินที่จะเชิญชวนให้คุณนิก ด้วยความปราถนาดีอย่างมากๆ ลองดู ขึ้นอยู่กับความสมัครใจนะครับ ไม่ต้องอะไรทั้งสิ้นกับอันนี้ ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องตั้งใจ ไม่ต้องตั้งความหวัง ไม่ต้องมีขั้นตอน เพียงแต่ตามรู้ไป ถ้า โอเค เอาเป็นว่าแค่ลองดูนะครับ สักอาทิตย์หนึ่ง แล้วมาแชร์กัน

ครับก็คือ......การใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยการรู้”สภาวะปัจจุบัน” เพียงหมั่นสังเกตลมหายใจ เข้าออกของเราเอง ว่าขณะนี้ เข้าหรืออก หนัก หรือ เบา หรือยาว หรือสั้น หมั่นสังเกตกายของเราในชีวิตประจำวัน เดินรู้ว่าเดิน ว่ากำลังก้าวซ้ายก้าวขวา นั่งรู้ว่านั่ง นั่งทาไหน รู้ว่าขณะนี้รู้สึกอย่างไร ร้อน เย็น เศร้า เหงา สุข เราแค่รู้เท่านั้น รู้สบายๆไม่ต้องควบคุม แค่รู้เฉยๆ
**และเราไม่ต้องรู้อยู่ตลอดเวลานะครับ เพียงแต่ให้มีสภาวะนี้อยู่เรื่อยๆ** เท่านี้เองคุณนิก
แล้วพอผ่านไปอาทิตย์หนึ่งมาดูกัน ว่ามีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงกับเราบ้าง ส่วนหลักสูตร โชปราก็เริ่มได้เลยที่น้องพร้อม แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ จิตจะละเอียด จิตในจะชัดขึ้น การนั่งสมาธิจะสงบง่ายขึ้น การเข้าใจจะไหลรื่น

ส่วนเบอร์โทร พี่มีของคุณนิกแล้วครับ(จากที่นี่แหละ) ขออณุญาติให้พี่เคลียร์งานสักนิด(ที่โกลาหนอลหม่าน เวลานี้) ให้เวลาพี่ลงตัวแล้วพี่จะยิงเบอร์ไปนะครับ แต่ในการเขียนขั้นต้นนี้ จะดีตรงที่สามารถตรวจทานความละเอียดได้ แต่ถ้าเมล์ของพี่ก็ sittipan2000@gmail.com ได้เลยครับ
ชื่อผู้ตอบ : โก้ ตอบเมื่อ : 01/05/2009
ถ้าพวกเราในที่นี้เป็นนักบวช ส่วนใหญ่ ก็อาจเป็นคล้ายๆ ผม คือ ถนัดในเรื่อง "ปริยัติ" (แต่ของผมนี่ อาจพิเศษกว่าคนอื่นหน่อย นอกจากจะถนัดในเรื่อง "ปริยัติ" แล้ว เรื่องการ "ยัด" ทุกประเภท นี่ผมถนัดหมด โดยเฉพาะ "ยัดอหิวาห์" หรือที่ภาษาตลาดเขาเรียกว่า "ยัดห่-นี่ผมถนัดที่สุด...ฮา)

แต่สำหรับคุณโก้นี่ ต้องยกให้เป็นผู้ที่ถนัดเรื่อง "ปฏิบัติ" โดยแท้ เป็นที่น่าเชื่อได้ว่าคุณโก้ จะเป็นผู้ที่เข้าสู่สภาวะของการ "ปฏิเวธ" (รู้แจ้ง) ก่อนใคร อย่างน้อย ก็ก่อนผม ในกรณีที่ผมจะสามารถทำได้ ไอ้ผมนี่ มันเหมือนบุญมีแต่กรรมบัง (เป็นแค่สำนวนเฉยๆ นะครับ ไม่ได้เชื่อเรื่องกรรม เรื่องแบ อะไรไปมากมายขนาดนั้น) เพราะจาก "ปริยัติ" แล้ว ผมมันชอบเลี้ยวไป "ปฏิวัติ" ต่อเลยทุกที (ฮา)

และสำหรับคุณนีโอครับ คุณยังเป็นแฟนที่เหนียวแน่นของ OSHO ดีจริงๆ ไม่ทราบว่าได้อ่านงานเขียนของเขาแล้วเป็นไงบ้าง โดยเฉพาะหนังสือชื่อ "เซน" หรือ "The Way of Zen" อยากให้ลองแบ่งปันความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้จากหนังสือของ OSHO มาให้พวกเรารู้บ้างก็จะดี ไม่ต้องเอาแบบมหากาพย์ แบบคุณนันท์ (ในกระทู้ของคุณนีโอเอง เรื่องแบ่งปันประสบการณ์จากการแปลหนังสือเจ็ดกฎฯ) ก็ได้ครับ แต่ถ้าได้ ก็สุดยอดไปเลย!! นี่ไม่ได้กดดันอะไรนะครับ เดี๋ยวจะเป็นลงเป็นลมอะไรไปอีก (ฮา) ถ้าเป็นเรื่องของเซน คุณนีโอจะเข้าไปช่วยเสริม หรือขยายมุมมอง ในกระทู้ล่าสุดของ "คุณผู้อ่าน" ก็ไม่เลวนะครับ ก็น่าจะสอดคล้องกันได้ดีทั้งเนื้อหา และจังหวะเวลา

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 03/05/2009
เห็นด้วยกับท่านอาจารย์เรื่องคุณโก้ เป็นอย่างยิ่งครับ รวมทั้งความเป็นนัก "ปริยัติ" ซะมาก จนขาดปฏิบัติ ของตัวเองเช่นกัน แถมยังชอบ ปฏิเสธ เสียด้วยเวลา มีคนบอกให้ ปฏิบัติ ก็จะมี ปฏิภาณ อ้างโน่นนี่นั่นได้สารพัด เลยครับ

คุณนีโอครับ ผมได้อ่าน "คุรุวิพากษ์คุรุ" ของ Osho แล้วครับ แต่ยังไม่จบ เพราะสุดท้ายแล้วผมใช้วิธีอ่านไล่ไปตั้งแต่หน้าแรก ไม่ได้เลือกอ่านอย่างที่คุณ นีโอแนะนำ

เหตุผลก็เพราะว่า เมื่อได้เริ่มลงมืออ่านเนื้อหาก็รู้สึกได้ว่า หนังสือเล่มนี้น่าจะต้องอ่านแบบประณีต ตั้งใจ มีสติและสมาธิในการอ่าน ซึ่งผมเกรงว่าการเลือกอ่านเป็นเรื่องๆ สลับไปมา จะส่งผลกับความตั้งใจในการสัมผัสมวลรวมของผม (ถึงแม้เรื่องราวจะไม่ต่อเนื่องกัน) ซึ่งผมอ่านไปได้จนจบบทที่ 18 เรื่องของ ยาลาลุดดิน รูมิ แล้วครับ เหลืออีก 2 บทเองครับ

ข้อดีอย่างแรก ของหนังสือเล่มนี้สำหรับผมคือ แต่ละบทสั้น และไม่ยาวดีครับ ปกติหนังสือของ Osho มักจะทั้งหนาและยาว นั่นเป็นเหตุให้ผมไม่ค่อยได้อ่านงานของ Osho นัก ถึงอ่านก็จะไม่ค่อยละเอียดมากนัก

สำหรับเนื้อหาที่ได้อ่านผ่านมาแล้ว ต้องบอกว่าชอบครับ (ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ช่วงหลังๆ ผมหาหนังสือที่รู้สึกว่าชอบได้ยากมาก) ที่ว่าชอบนั้น เริ่มจากเป็นเพราะทำให้ได้รู้จักคุรุ หรือผู้นำทางความคิด ด้านจิตวิญญาณอีกหลายท่านมาก ทั้งได้รู้จักชื่อและได้รู้จักตัวตนของท่านเหล่านั้น "ผ่านมุมมองของ Osho" ซึ่งสำหรับตัวผมจะฟังหูครึ่ง ไว้ครึ่งหูครับ

ที่ผมพูดเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าผมไม่นับถือ Osho นะครับ การเล่าหรือเรียกว่า วิพากษ์ ของ Osho นั้น ได้ "เปิดทัศนะใหม่ๆ" ที่เราเคยมีต่อ คุรุหลายๆ ท่านที่เราเคยรู้จักมาแล้ว ให้กว้างออกไป ซึ่งนั่นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญหรือคุณูปการของ Osho ที่มีให้ต่อเรา ต่อคนที่ได้อ่านหรือฟังงานของเขา

แต่ด้วยมุมหรือคุณสมบัตินี้ เลยพลอยส่งผลให้ เนื้อหาหลักๆ ในหนังสือที่ Osho พูดหรือวิพากษ์ ถึงคุรุแต่ละท่านๆ จะมีความโน้มเอียงในการสร้าง "ทัศนะใหม่" ด้วยกรอบในแบบของ Osho หรือแบบ เล่าจื้อ ซึ่งเป็นมุมแบบ เต๋า ที่มักจะย้อนโลกหรือย้อนมุมมอง ของคนโดยทั่วๆ ไป (ดังที่ Osho บอกเอาไว้ให้เราเข้าใจได้ว่า เขากับเล่าจื้อ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว) เป็นมุมมองที่มีช่องว่าง ให้อาจตีความผิด หากไม่เข้าใจถึง "วิถี" ที่แท้ของ เต๋า พาลเข้าใจว่า นี่เป็นวิถีการแสดงออกอย่างเดียวที่ควรจะเป็น

ซึ่งสำหรับผม สิ่งนี้มีข้อดีมากมายมหาศาล ที่จะช่วยตีแสกหน้า ทลายตรรกะ หรือสะบั้นสิ่งที่เคยคิดและยึดติด แต่ต้องเข้าใจได้ทันว่า นี่เป็นการวิพากษ์ ในกรอบ มุมมองแบบเต๋า เป็นทัศนะแบบนั้น ซึ่งโดยส่วนตัวผมชอบ แต่ผมไม่ได้ปักใจยึด

แต่ผมได้รับรสชาติมากๆ ตาสว่างขึ้นมาก กระตุ้นภูมิปัญญามาก สนุกมาก ชีวิตกระชุ่มกระชวยขึ้นมาก เหมือนได้ดูหนังดีๆ มีรสชาติใหม่ๆ เพียงแต่ผมบอกตัวเองว่านี่มัน สุดโต่งนะ ซ้ายจัดนะ มันไม่ใช่ทั้งหมด ทั้งๆ ที่ตัวผมเองนั้น ก็ออกแนวหัวเอียงซ้ายอยุ่เหมือนกัน แต่ก็ยังต้องเตือนตัวเอง เก็บเอาไว้ครึ่งหุ เผื่อแผ่มุมอื่นบ้าง

แต่ในเนื้อหาส่วนที่เป็น ธรรมะ เป็น สัจจะ เป็นความจริงแท้ ที่ Osho สอดแทรกเอาไว้เป็นระยะๆ นั้น ผมต้องขีดเส้นใต้เอาไว้เต็มเลยครับ

เลยขออนุญาตเป็น จิ้งจก วิพากษ์ จระเข้ หน่อยนะครับ ผมรู้สึกอย่างไรก็เล่าอย่างนั้น ทำตามที่ Osho บอกเอาไว้นั่นแหละครับ แค่นี้ก่อนนะครับ วันนี้นึกออกแค่นี้ครับคุณนีโอ คุณนีโอละครับ อ่านแล้วเป็นยังไงบ้างครับ





ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 04/05/2009
หนังสือเกี่ยวกับการพูดถึงคุรุ หรือปรมาจารย์ต่างๆนั้น ยังมีอีกเล่มหนึ่งครับ ชื่อว่า "จิตแห่งคุรุ" (THE MIND OF GURU) บทสนทนากับคุรุชั้นนำระดับโลก ว่าด้วยเรื่องจิตวิญญาณ ซึ่งผู้เขียนคือ ราจีฟ เมโรทรา ไปสัมภาษณ์คุรุชั้นำระดับโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมากมาย(ไม่เหมือนของโอโช่ที่คุรุที่พูดถึงเสียชีวิตไปหมดแล้วรวมทั้งตัวคนวิพากษ์เองด้วย) เล่มนี้จะทำนองบทสนทนาครับ ผู้เขียนซึ่งเป็นคนสัมภาษณ์ถาม แล้วคุรุคนนั้นก็ตอบ ของสนพ.ศยาม ผมไปซื้อที่งานหนังสือ บูธเคล็ดไทยมา ที่สำคัญคือมีสัมภาษณ์ดีพัค โชปรา และคุณส.ศิวรักษ์ด้วย สัมภาษณ์โชปราเกี่ยวกับเรื่อง จิตใจและร่างกาย ในหัวข้อสัจจะคือการเดินทาง นอกจากนั้นก็มีสัมภาษณ์ ทะไลละมะองค์ปัจจุบัน ท่าติช นัท ฮันห์ โซเกียล รินโปเซ สวามี รังคนาถนันทะ และคนอื่ๆอีกมากมายครับ
ชื่อผู้ตอบ : นิก-สปิริต-นิวเอจ ตอบเมื่อ : 04/05/2009
เคยอ่าน "จิตแห่งคุรุ" (THE MIND OF GURU)ที่คุณนิกกล่าวถึง เป็นหนังสือดีที่น่าอ่านมากค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : นพรัตน์ ตอบเมื่อ : 04/05/2009
- ได้ครับอาจารย์ แล้วผมจะลองเล่าเรื่อง ในหัวข้อของคุณผู้อ่านน่ะครับ

- คุณนันท์ครับ
ผมได้อ่านก็รู้สึกได้มุมมองใหม่ เกี่ยวกับเรื่องราวของคุรุ อื่น ๆ เช่นกัน อย่างศาสดาของ เต๋า นั้นผมเองก็ไม่ค่อยมีข้อมูลอยู่เลย แม้แต่งานเขียน ก็ยังไม่เคยเห็น ผ่านตา จะมาคุ้นเคย ก็ตอนที่คุณนันท์ ได้นำบทความมาแชร์ไว้ ในหัวข้อ ของผมก่อนหน้านี้

และที่มาสะดุด ตาก็ตอนหัวข้อ คาริล ยิบราล ที่ได้กล่าวไว้ว่า ปรัชญาชีวิต นั้นถูกเขียนในสภาวะหนึ่งที่พิเศษ ของผู้เขียนเอง ถ้ารองเปรียบเทียบกับงานเขียนเล่มอื่น นั้นสู้ไม่ได้เลย ซึ่งผมว่ามันพ้องกับเนี้อหา ของคุณนันท์ที่ได้กล่าวถึงสภาวะ นั้นอยู่บ่อย ๆ เท่าที่นึกออกมีเท่านี้ครับ แต่ความรู้สึกตอนนั้น นึกถึงคุณนันท์ ทันทีเลยครับ

ผมมีข้อคิดเห็นอย่างหนึ่งครับ ว่าถ้าคนใดคนหนึ่ง เกิดเข้าถึงสภาวะ ที่ว่านี้ได้แล้ว จะสามารถมีความคิดเห็น ที่ถึงกับคุรุ ในแต่ล่ะคนได้อย่างไม่ยากเย็นเลย ไม่ว่าจะเคยพบกับคุรุคนนั้นหรือไม่ก็ตาม คล้ายกับว่า ความจริงทั้งหมดนั้น มีเพียงจริงหนึ่งเดียวเท่านั้น ถึงแม้จะต่างภาษา หรือต่างกัน ทางกาลเวลาก็ตามที

คล้าย ๆ กับที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า ................................... ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ..........ทีนี้ คำถามต่อมาที่ควรจะถามกับตัวเองก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเห็น อย่างไรจึงจะรู้ ทำอย่างไรจึงจะเป็นมากกว่าท่องจำตามตำรา มากกว่าคนอื่นบอกมา


ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 04/05/2009
ในหนังสือ "ด้วยจิตแห่งคุรุ" ที่พวกเรากำลังพูดถึงอยู่นี้ ส่วนที่เขาสัมภาษณ์ดีพัค โชปรา นั้น มีที่น่าสนใจอยู่ตอนหนึ่ง ซึ่งผมว่ามันสามารถตอบปัญหาคาใจคนจำนวนมากในโลกนี้ได้ดี เพราะคนทั่วโลกจำนวนมาก มักชอบถามว่า..ก็ในเมื่อประเทศอินเดียมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอยู่มากมาย มีศาสดา มีมหาคุรุ อยู่อย่างเกลื่อนกล่น รวมทั้งตัวดีพัค โชปราเอง แล้วเหตุใดประเทศอินเดียจึงยังไม่ได้ไปไหนเลยสักทีหนึ่ง เคยเป็นมาอย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น!?!...โชปราไม่คิดจะทำอะไรสักอย่างเพื่อการนี้เลยหรือกับประเทศของตัวเอง แทนที่จะไปเที่ยวตะแล้ดแต๊ดแต๋อยู่ที่อเมริกา หรือที่อื่นๆ ในโลก (อันนี้เป็นสำนวนของผมเอง) ส่วนว่าโชปราจะตอบว่าอย่างไร ก็ลองไปตามหาอ่านกันเอาเองนะครับ ผมว่าเขาก็ตอบได้ไม่เลว แม้ว่าจะไม่กระจ่างเท่าที่ควรก็ตามที!

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 04/05/2009
อยากรู้จังเลย..เค้าตอบว่าไงน่ะ
จะมีใครเอื้อเฟื้อคนที่ไม่มีโอกาสได้อ่านบ้างมั้ยเนีย???

คุณนีโอ หรือคุณนันท์ ช่วยได้มั้ยคะ?
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 04/05/2009
โชปราพูดไว้ดังนี้ครับ:
"ข้อแรกคือ เราไม่สามารถประเมินค่าของอารยธรรมทั้งหมดจากความรุ่งเรือง เมื่อเราคิดถึงอารยธรรมกรีก เราคิดถึงโสกราตีส อริสโตเติ้ล เพลโต้ พิธากอรัส ฯลฯ และเรามุ่งคิดว่าทุกคนในกรีซมีประสบการณ์ในชีวิตมาก และเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาได้ แต่ชาวกรีกส่วนใหญ่ป่าเถื่อน เชื่อในระบบทาส และไม่ให้สิทธิแก่สตรี พวกเขาโยนเด็กพิการไปให้สิงโต ดังนั้นการอ่านพิธากอรัสหรือโสกราตีสไม่ได้ทำให้เรามีความคิดเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกครบถ้วน
เช่นเดียวกัน เป็นความหยิ่งของเราที่จะอวดอ้างว่า เพราะว่าเรามีฤาษีที่ยิ่งใหญ่หลายท่าน อาทิ วามา ภัตต์ วสิธา และปตัญชลี ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในอินเดีย พวกเราจึงเข้าถึงความเป็นจิตวิญญาณอย่างยิ่งไปเอง ถ้าผมมองที่อินเดียในวันนี้ ผมจำต้องบอกว่าเป็นสังคมที่มีความเป็นวัตถุนิยมอย่างมากที่สุดในโลก เรามีความคิดฝังแน่นกับวัตถุนิยม และเราสูญเสียลักษณะเอกภาพที่จำเป็น ถ้ามีความเป็นเอกภาพ คุณย่อมเข้าถึงจิตวิญญาณอย่างเต็มร้อย ใช่ ถ้าคุณมัวอยู่ในถ้ำบนเทือกเขาหิมาลัย แม้คุณสามารถประสานกับปัญญา แต่คุณจะช่วยใครได้และถ้าคุณเป็นนักวัตถุนิยมเต็มตัว แน่นอนว่าย่อมนำไปสู่การฉ้อโกง ซึ่งเราเห็นได้มากมายในอินเดียสมัยนี้ สิ่งที่เราต้องการคือการผสานสิ่งที่มองเห็นกับสิ่งที่มองไม่เห็น จิตวิญญาณกับวัตถุนิยม และด้วยเหตุผลบางประการ ดูเหมือนว่าผมบังเอิญอยู่ในสถานที่เหมาะและในเวลาที่เหมาะจะพูดประเด็นเหล่านี้"
ชื่อผู้ตอบ : นิก-สปิริต-นิวเอจ ตอบเมื่อ : 04/05/2009
ยังไม่มีเล่มนี้เหมือนกันครับ ว่าจะไปหามาอ่านเหมือนกัน ไม่รู้จะได้หรือเปล่า อีกเช่นเคย .....


ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 04/05/2009
โอ ขอบคุณครับคุณนิกที่ช่วยสงเคราะห์ ผมกำลังกังวลใจว่าถ้าต้องกลับไปค้นข้อมูลในหนังสือ เพื่อมาเล่าให้คุณแฟนพันธุ์แท้ฟังแล้ว ไม่รู้ว่าจะมีเวลาไปรื้อค้นหรือไม่ มิหนำซ้ำก็จำไม่ได้อีกว่าเอาไปซุกไว้ตรงไหน ผมเก็บหนังสือด้วยระบบ "ซุกกิ้งซิสเต็ม" และ "สุมมิ่งอะราวด์" เวลาจะค้น ต้องใช้ระบบคิวซี คือ "คุ้ยซิ่งเซอร์เคิล" และ "รื้อเอ็นจิเนียริ่ง" (ฮา) จึงอาจจะพอหาพบ

พอคุณนิกยกข้อความนี้มาทวนความจำ ก็ทำให้จำได้อีกอย่างหนึ่งว่า โชปราเขาบ่นๆ (ในหนังสือนั้น) อยู่เหมือนกันว่า ในประเทศอินเดียนั้น เขาทำอะไรไม่ได้มาก เคยพยายามทำมาแล้วบ้างเหมือนกัน เช่น การตั้งศูนย์โชปราขึ้นในอินเดีย แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคมาก จึงได้ล้มเลิกไป ปัญหาใหญ่ที่สุด ก็คือ "ข้อจำกัดทางการเมือง" นี่แหละ ก็เป็นข้อคิดกับพวกเราได้เหมือนกันว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนในโลก ต่อให้ใครจะฉลาดลึกล้ำไปถึงขนาดไหน ตรัสรู้ได้ดั่งองค์ศาสดาทุกศาสนา สุดท้าย ก็มามีอันเป็นไปด้วยน้ำมือของนักการมือโง่ๆ เหมือนกันไปหมด

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 04/05/2009
"ซุกกิ้งซิสเต็ม" และ "สุมมิ่งอะราวด์" เวลาจะค้น ต้องใช้ระบบคิวซี คือ "คุ้ยซิ่งเซอร์เคิล" และ "รื้อเอ็นจิเนียริ่ง" (ฮา you made my day again & again!! ขอบคุณค่ะอาจารย์ ฮาต่อ )

หนึ่งได้ดูเทปสัมภาษณ์โชปราผ่านๆตา (ไม่มีเวลาดูโดยละเอียด) แต่รู้สึกว่าคำตอบเค๊า valid & fair enough นะคะ
ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 05/05/2009
ขอบคุณคุณนิกครับ เพราะผมเองก็ช่วยอะไรไม่ได้ครับคุณแฟนพันธุ์แท้
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 05/05/2009
ขอบคุณ คุณนิกค่ะ..เหมือนกดปุ่มเรียกข้อมูลได้เลยเนาะ

เห็นใจและเห็นด้วย กะ หมอดีพัค โชปราค่ะ ว่าคนเก่งไปอยู่ที่ ที่รับรองความเป็นพระเจ้าในตัวเรา รวมทั้งอาณาเขตกว้างใหญ่ที่จะรับใช้มวลมนุษย์
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 05/05/2009
มีความเห็นตรงกับคุณนีโอครับ ว่าถ้าเมื่อใดที่จิตของเราอยู่ในระดับสภาวะหนึ่ง ที่พ้นไปจากระดับความคิด การหยั่งรู้ก็จะเกิดขึ้น ยิ่งหากใสกระจ่างขึ้นไปเรื่อยๆ คงถึงที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ผมเองก็เข้าใจว่าเช่นนั้นครับ

ขอนอกเรื่องหน่อยครับ ผมชอบข้อความนี้ของ Osho มากครับ จำไม่ได้ว่าจากบทไหน

จงรู้สึกให้ได้ว่า ทุกๆ ชั่วขณะล้วนศักดิ์สิทธิ์
จงรู้สึกให้ได้ว่า ทุกๆ สิ่งล้วนศักดิ์สิทธิ์
จงรู้สึกให้ได้ว่า ทุกสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ล้วนศักดิ์สิทธิ์

มันศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ครับ

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 05/05/2009
ดีครับ....ชอบครับ


ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 05/05/2009
กราบขอบพระคุณอาจารย์วสันต์ กราบขอบพระคุณคุณนันนท์อย่างสูงครับ การปฏิบัติของผมนั้น เกิดจากสภาวะที่ได้รับถ่ายทอดแบบเนื่องๆ จากรุ่นสู่รุ่นนะครับ ผมมิได้ทำได้ดีหรืออะไรเลยครับ เพียงแค่ทำไป เรื่อยๆนะครับ

และผมเองได้รับทราบความรู้ต่างๆอย่างที่ไม่เคยรู้ และไม้รู้ด้วยซ้ำว่าถ้าไม่รู้จักที่นี่ ผมจะสามารถไปหาได้จากที่ไหน ครับ...จากบ้านสีขาว(นันท์บุ้ค)นี่ผมได้รวบรวมข้อมูลทั้งหลาย ปริ๊นส์ออกมาเป็นปึกๆแล้ว กะว่าถ้าคุณนันท์ยังไม่เขียนหนังสือจะแอบเอาไปผลิตหนังสือขาย(ฮา)

โดยเฉพาะ...คุณแฟนพันธ์แท้ ผมเองตั้งใจว่าจะไปขอบคุณและขอสัมผัสตัวจริงให้ได้(ตามคำร่ำลือจากหนุ่มๆที่นี่ครับ) ถ้าคุณแฟนพันธ์แท้ผ่านมาอ่านโปรดทราบว่า โก้คนนี้....ระลึกถึงอยู่เสมอ และก็อยากขอบพระคุณในสิ่งดีๆ ที่ทำให้คนอ่านน้อยอย่างผม ได้มีข้อมูลและข้อความที่เป็นกำลังใจมากๆจริงๆครับ ผมขอเน้นๆหนักๆเลยนะครับ เป็นกำลังให้มากๆๆๆ จริงๆครับ ยิ้มๆ

ขอบพระคุณทุกๆท่านอีกครั้งครับ
ชื่อผู้ตอบ : โก้ครับ ตอบเมื่อ : 05/05/2009
อ่านจบแล้วครับคุณนีโอ เกิดประโยชน์ สว่างไสวดียิ่ง ขอบคุณนะครับ ที่สนับสนุนให้อ่าน ว่าว่างๆ จะ สแกน อีกสักรอบเหมือนกันครับ

ผมเองสิ อยากเจอคุณโก้ ตัวเป็นๆ สักที ตั้งใจไว้ คงได้เจอสักวันครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 05/05/2009
คุณนันท์ครับ ผมมีข่าวดีมาบอกคุณนันท์ และผู้คนที่ถนัดแต่ "ปริยัติ" ครับ ว่า เราอาจยังไม่สิ้นหนทางที่จะ "รู้แจ้ง" นะครับ แม้ว่าเราจะไม่ใช่นักปฏิบัติก็ตามที เพราะ..

...พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่ามีคนอยู่สองประเภท พวกแรกคือพวกที่เข้าถึงความจริงแท้โดยการสดับตรับฟัง และพวกที่สองคือพวกที่ต้องปฏิบัติหามรุ่งหามค่ำ ประเภทที่สองนี้อาจดูธรรมดาสามัญ แต่ท่านจะประหลาดใจ หากรู้ว่าพวกที่สองนี้ มีความสำคัญค่อนข้างมาก พวกแรกนั้น พระองค์เรียกว่า "สวากขา" (shravaka) ซึ่งใช้คำเดียวกับที่พระมหาวีระ ใช้เรียกผู้ที่เข้าถึงความจริงแท้ โดยการสดับตรับฟัง และพวกที่สองนั้น พระองค์เรียกว่า "สาธุ" (Sadhu) ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่อาจเข้าถึงความรู้แจ้งได้ ด้วยการเพียงแค่สดับตรับฟัง แต่เขาต้องเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติ จึงจะเข้าถึงได้ เพราะอาจเป็นไปได้ว่า เชาวน์ปัญญาของพวกเขา อาจจะยังมีไม่มากพอ....(คัดจากหนังสือ ZEN : The Path of Paradox Vol.1 ของ OSHO หรือในชื่อภาษาไทยว่า "เซน" แปลโดย วรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์ เรียบเรียงโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด : 2008)

ผมอ่านถึงตอนนี้แล้วนั่งกระหยิ่มยิ้มย่อง สำคัญตนว่าอาจอยู่ในข่ายของคนพวกแรก อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ก็ได้ (ฮา) แต่พออ่านๆ ไป ก็ไปเจอข้อความนี้เข้าครับ ที่ว่า..

...ผู้คนมักจะอ้างถึงเหตุผลเพื่อรองรับการกระทำของพวกเขา....ท่านสามารถหาบางอย่างมาปกป้องตัวท่านได้เสมอ ท่านอาจจะปกป้องความโง่เขลาของตัวท่าน ท่านอาจจะปกป้องโรคภัย โรคประสาท ที่ท่านเป็น ท่านมักจะปกป้องสิ่งต่างๆ ที่ท่านเป็น ท่านอาจปกป้องความทุกข์ทรมานของท่าน ผู้คนมากมายปกป้องขุมนรกของพวกเขาอย่างเต็มกำลัง พวกเขาไม่ได้ต้องการจะออกไปจากตรงนั้น....(คัดจากเล่มเดียวกัน)

นี่ OSHO เขาลูบหลัง แล้วตบหัวเราได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือ!!??!! (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 06/05/2009
ท่านอาจารย์ครับเราเป็นพวกไม่ได้อ้างเหตุผลใดๆ ครับ เราหน้าด้านเลยครับ (ฮา) เราไม่ได้โง่เขลา แบบเราเขาเรียกว่ากะล่อนครับ (ฮา) ดังนั้นเราจึงไม่ได้เป็นแบบ Osho ว่าไว้แน่นอนครับ (ฮา)

มีเรื่องรบกวนท่านอาจารย์ครับ ผมอ่าน คุรุวิพากษ์คุรุ แล้ว Osho พูดถึงหนังสือ 2 เล่ม ในบทที่ 19 เล่มแรกชื่อ Hsin, Hsin, Ming; ของโซซาน เล่มที่สองชื่อ Hadiqa ของ ฮาคิม ซานาย ผมเลยเข้าไปดูข้อมูลใน Amazon พบว่ามีหนังสือที่ Osho พูดถึงหนังสือ 2 เล่มนี้ โดยเฉพาะเล่มที่สอง มีทั้ง Volume 1-2 ที่เล่ามาซะยาว คำถามก็คือ ท่านอาจารย์ทราบไหมครับว่า มีเล่มไหนแปลเแล้วบ้างครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 06/05/2009
อาจารย์ครับ คุณนันท์ครับ

ผมขออณุญาติร่วมสนทนาครับผม

ผมว่ามั่นใจในการสัมผัสมาตลอด..อย่างที่สุด ถึงสิ่งที่ทั้งสองท่านกำลังสนทนากัน มีคำตอบที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนจาก"บทบาทชีวิต"ของทั้งสองท่าน ในการมายืนจุดนี้

-ท่านหนึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยข้อมูลจากขุมทรัพย์ความรู้ และประมวลผลเพื่อต่อยอดให้อาหารสมอง ให้พลังชีวิต กับผู้คน องค์กร ต่างๆมามากมายมหาศาล

-อีกท่าน ได้นำข่าวสารจากการประมวลผล มาส่งต่อในรูปแบบ 7กฎ ของชีวิต ภาษาที่ใช้(จากการถ่ายทอดจากต้นแบบ)เข้าถึงแก่นอย่างถ่องแท้ชนิดที่เรียกว่า ภาษาดั้งเดิมยังอึ้งและลุ่มลึกเกินกว่าจะเรียกว่า"งานแปล" เห็นได้เลยจากการตอบรับ ของบรรดาผู้รับข่าวสาร

การประมวลผล ไม่ต้องหาความหมายใดๆเลยครับ บ่งบอกอย่างชัดเจนอยู่แล้วถึง การเข้าถึงจริง การรู้แจ้ง ครับ....การปฎิบัตร หรือสมาธิปฎิบัติได้ผสมผสานอยู่แล้วใน วิถีชีวิต ของทั้งสองท่าน เข้มข้นในสายเลือด ไหลลื่นโดยไม่ต้องพยายามใดๆ เลย

อะ!...อะ! ท่านอาจารย์ คงกำลังคิดว่าเจ้าโก้ปากหวานอีกแล้วใช่มั้ยครับ และคุณนันท์กำลังคิดว่าจะอะไรสักอย่างในข้อความของกระผมใช่มั้ยครับ ง่ายที่จะกล่าวเลยครับ ผลงานท่านฟ้องอยู่ครับ ..ไม่ต้องเพ่งก็เห็นแต่ไกลครับ(ฮา)

ถึง Osho จะกล่าวไว้อย่างไรก็แล้วแต่ แต่ผมก็ขอคอนเฟริม จาก Oishi ครับผม!!!

ชื่อผู้ตอบ : โก้ "สาธุ" (Sadhu) ตอบเมื่อ : 06/05/2009
ยินดีด้วยครับ ว่าแต่ว่าจะ สแกนอีกรอบ คุณนันท์ ถูกใจส่วนไหน อย่างไรบ้างครับ เพราะบางทีผมอ่าน สมาธิไม่ดี นี้แทบไม่เข้าใจเลย



ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ตอบเมื่อ : 08/05/2009
สวัสดีครับ อ วสันต์
ผม่ได้คุยกับอาจารย์มาตั้งนาน

ไม่รู้ว่าพักนี้อาจารย์ว่างหรือยังครับ
อยากจะเข้าไปกราบสวัสดีอาจารย์
ในฐานะ ลูกศิษย์ manpower
แต่ไม่กล้าโทรไป เพราะเกรงจะรบกวนครับ

ขอบคุณครับ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 08/05/2009
ด้วยความขอบพระคุณ คุณนันท์ครับ

โอว์...ดีใจ...ปลื้มใจมากๆๆๆและเป็นเกียรติ์อย่างสูงสำหรับผมเลยครับ ที่คุณนันท์กรุณา ผมก็ตั้งใจต้องได้เจอคุณนันท์ครับ และจะนำหนังสือ"เจ็ดกฎ"ไปขอลายเซ็นด้วยครับ
ชื่อผู้ตอบ : โก้ครับ ตอบเมื่อ : 08/05/2009
ยินดีรับคำชม ที่ผมเชื่อว่าจากใจของคุณโก้ "สาธุ" ไว้ด้วยความชื่นใจ แต่สงสัยว่า "สาธุ" นี่คืออะไรเหรอครับ คนละแบบกับ นิก(สปิริต) ใช่ไหมครับ (ขอแซวนิดนะครับคุณนิก) เอาไว้เจอกันเมื่อไหร่ เราแลกลายเซนต์กันดีกว่าครับคุณโก้ ผมจะได้เอาไว้ตั้งข้างๆ งานที่คุณโก้ ส่งมาให้ผมครับ



ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 08/05/2009
คุณนันท์ครับ

โก้"สาธุ" ได้มาจาก การซึมซับประทับใจในข้อมูลกระทู้ข้างบนของท่านอาจารย์ วสันต์ครับ ที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า อืม...เหมาะแก่เราเนาะ โดยผมขออณุญาติอาจารย์ยกมาอีกทีนะครับ


...พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่ามีคนอยู่สองประเภท พวกแรกคือพวกที่เข้าถึงความจริงแท้โดยการสดับตรับฟัง และพวกที่สองคือพวกที่ต้องปฏิบัติหามรุ่งหามค่ำ ประเภทที่สองนี้อาจดูธรรมดาสามัญ แต่ท่านจะประหลาดใจ หากรู้ว่าพวกที่สองนี้ มีความสำคัญค่อนข้างมาก พวกแรกนั้น พระองค์เรียกว่า "สวากขา" (shravaka) ซึ่งใช้คำเดียวกับที่พระมหาวีระ ใช้เรียกผู้ที่เข้าถึงความจริงแท้ โดยการสดับตรับฟัง และพวกที่สองนั้น พระองค์เรียกว่า "สาธุ" (Sadhu) ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่อาจเข้าถึงความรู้แจ้งได้ ด้วยการเพียงแค่สดับตรับฟัง แต่เขาต้องเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติ จึงจะเข้าถึงได้ เพราะอาจเป็นไปได้ว่า เชาวน์ปัญญาของพวกเขา อาจจะยังมีไม่มากพอ....(คัดจากหนังสือ ZEN : The Path of Paradox Vol.1 ของ OSHO หรือในชื่อภาษาไทยว่า "เซน" แปลโดย วรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์ เรียบเรียงโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด : 2008)

คือ กระผมเองว่า อันตัวกระผม เจ้าโก้...น่าจะอยู่ในพวกที่2 เป็นแม่นมั่นนะคร้าบบบบบผม

*และพวกที่สองนั้น พระองค์เรียกว่า "สาธุ" (Sadhu) ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่อาจเข้าถึงความรู้แจ้งได้ ด้วยการเพียงแค่สดับตรับฟัง แต่เขาต้องเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติ จึงจะเข้าถึงได้ เพราะอาจเป็นไปได้ว่า เชาวน์ปัญญาของพวกเขา อาจจะยังมีไม่มากพอ

คุณนันท์ครับ เป็นด้วยประการละฉะนี้ครับผม(ฮาๆครับ)


ชื่อผู้ตอบ : โก้ครับ ตอบเมื่อ : 09/05/2009
คุณนีโอถามว่า ผมถูกใจ (คุรุวิพากษ์คุรุ) ส่วนไหน อย่างไรบ้าง ก็อย่างที่ได้แสดงความรู้สึกไปแล้วว่า โดยรวมนั้นผมได้รับรสชาติในการอ่านเป็นอย่างมาก ตาสว่างขึ้นมาก กระตุ้นภูมิปัญญามาก สนุกมาก ชีวิตกระชุ่มกระชวยขึ้นมาก หรือเนื้อหาในส่วนที่เป็น ธรรมะ เป็น สัจจะ เป็นความจริงแท้ ที่ Osho สอดแทรกเอาไว้ โดยอิงตามลักษณะรายบุคคลก็ดียิ่ง

แต่หากให้สรุปเป็นรูปธรรมก็คงต้องบอกว่า ผมเคลิ้มไปกับการเล่าเรื่อง เล่าจื่อ ของ Osho มากที่สุด อาจด้วยเป็นคนโปรดของผมเช่นกัน แต่ถ้าเอาแบบแอบมีรักใหม่ ก็ต้องบท ยาลาลุดดิน รูมิ แค่ประโยคที่ว่า

". . เรากำลังลิ้มรส รสชาติของนาทีนี้แห่งนิรันดร์กาล" เพียงเฝ้าดูในนาทีนี้ ในความเงียบนี้ คุณกำลังลิ้มรสบางสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลา

โอ้โห . . ทำผมตกหลุมรักไปเลยครับ
คุณนีโอ ล่ะครับ เคลิ้มไปกับเรื่องของใครบ้างครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 10/05/2009
อ๋อ เข้าใจที่มาแล้วครับ แต่ไม่ค่อยมั่นใจว่า คุณโก้เป็นเช่นที่ว่าครับ (ฮา)
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 10/05/2009
เห็นด้วยกับคุณนันท์ครับ ผมว่าเรายังไม่รู้ว่าเราเป็นอะไรแน่ ดังนั้นคุณโก้อย่างเพิ่งมั่นใจว่าจะเป็น "สาธุ" หรือ "สวากขา"

แต่ผมมั่นใจแล้ว ว่าผม..ไม่ได้เป็นทั้งสองอย่าง (ฮา) ผมเป็นได้แค่พวก "ขาใหญ่" ที่คนแถวๆ นี้เขาให้ความเกรงใจ (ฮา) ภาษาสวยงามเขาเรียก "ผู้กว้างขวาง" (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 10/05/2009
ต้องขออภัยครับคุณนันท์ ผมไม่มีข้อมูลหนังสือสองเล่มที่คุณกล่าวถึงนั้นเลย
ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 10/05/2009
ชอบครับ ชอบคำว่า "ผู้กว้างขวาง" ดูเหมาะสมไพเราะ เหมาะกับท่านอาจารย์ดีจริงๆ ครับ

เรื่องหนังสือ ผมสงสัยว่าคงยังไม่มีคนถอดความออกมาเป็นภาษาไทย นะครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 10/05/2009
"ผู้กว้างขวาง" ดูเหมาะสมไพเราะ เหมาะกับท่านอาจารย์วสันต์ดีจริงๆ ค่ะ (ยิ้มแฉ่งๆๆ)

คุณโก้คะ มุขนี้ ผู้หญิงสวยและอ่อนเยาว์อย่างวรัญญา ตามมุขไม่ทันเลยนะเนี่ย ที่ว่า ******และพวกที่สองนั้น พระองค์เรียกว่า "สาธุ" (Sadhu) (ฮา)

ชอบชื่อกระทู้นี้จังค่ะ มณฑลแห่งพลัง อบอุ่น เชื่อมั่น สบาย ไหลลื่น รู้ตัวดีเหลือเกิน ...........




ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 14/05/2009
ผมชักไม่แน่ใจแล้วละว่า พวกเราเคยได้ยินคำว่า "ผู้กว้างขวาง" กันมาก่อนหรือไม่? เพราะดูท่าว่าจะยกย่องผมไปในเชิงบวกค่อนข้างมาก จริงๆ แล้ว คำๆ นี้ เขาใช้เรียกแทนคำว่า "นักเลง" และหรือ "เจ้าพ่อ" (เช่นใช้เรียกคุณแคล้ว ธนิกุล ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพราะถูกถล่มด้วยอาวุธสงคราม ใช้เรียกคุณโส ธนวิสุทธิ์ ใช้เรียกกำนันเป๊าะ หรือคุณสมชาย คุณปลื้ม ที่ล่องหนหนีคดีจำคุกไปแล้ว ใช้เรียกคุณชัช เตาปูน ใช้เรียกคุณวัฒนา อัศวเหม ที่หนีคดีจำคุกไปเล่นการพนันแถวปอยเปตกับกำนันเป๊าะ ใช้เรียก ฯลฯ)

ว่าจะเล่นมุขเสียหน่อย แต่กลายเป็น "มุขแป้ก" ไป (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 14/05/2009
(ฮา) อ้าว จริงหรือคะอาจารย์ (ฮาต่อ)
ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 14/05/2009
คุณหนึ่งครับ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมภูมิใจนะครับ . . แสดงว่าพวกเราก้าวข้ามมิติการตีความหมายของคำ ไปในทางลบกันได้โดยสิ้นเชิงแล้วครับ ตอนนี้ผมชักเริ่มรู้สึกว่า คำว่า "นักเลง" กับ "เจ้าพ่อ" นั้นน่ารักมากๆ เช่น เจ้าพ่อนันท์ นักเลงหนังสะติ๊ก ดูดีกว่าเดิมตอนเป็น จิ๊กโก๋ อีกครับ (ฮา . . หวังว่า มุขไม่แป้ก นะครับ)

ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 14/05/2009
(หัวเราะ) ประเสริฐค่ะ คิดได้ยังไงคุณนันท์ (ฮาต่อ ก่อนที่ผู้กว้างขวางจะมา)





ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 15/05/2009


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code