ดูกัน . . ก่อนวัยอันควรครับ
เรื่องความฝันของผู้หญิงวัย 47 ปี . .
มีเพื่อน foward ส่งมาให้ หลายท่านอาจได้ดูแล้ว แต่ดูอีกได้ ตัวผมดูไปตั้งหลายรอบครับ

http://www.youtube.com/watch?v=9lp0IWv8QZY

หาก link ไม่ได้รบกวน copy ไปแปะเอานะครับ
ชื่อผู้ส่ง : นันท์ วิทยดำรง ถามเมื่อ : 20/04/2009
 


เคยดูไปรอบหนึ่งอย่างสั้นๆ จากทีวี (จำไม่ได้ว่าช่องไหน) วันนี้เข้าไปเปิดดูเต็มๆ ตามที่คุณนันท์แนะนำ น้ำตาเกือบไหลเอาเลยทีเดียว ได้เห็นอานุภาพของ "ความฝัน" "ความกล้า" และ "ความสุข" ของผู้หญิงอายุสีสิบเจ็ดปีคนหนึ่ง ซึ่งถ้าหากว่าเธอไม่มีสามสิ่งนี้แล้ว เธอก็คงเป็นเพียงผู้หญิงธรรมดาๆ ที่ไม่มีอันใดพิเศษ แต่พอมีสามสื่งนี้แล้ว ดูสิ่งที่เธอทำไปนี้สิครับ ต้องเรียกได้ว่า "พื้นดินสะท้าน ทะเลสะเทือน" จริงๆ!!

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 20/04/2009
อิ่มเอม ตื้นตัน ซาบซึ้ง และขอบคุณสิ่งที่เธอได้ทำค่ะ..เป็นพลังงานที่ยิ่งใหญ่จริงๆ

ขอบคุณคุณนันท์ที่แนะนำให้ชมค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : dadeeda ตอบเมื่อ : 20/04/2009
ตอนได้ข่าวเรื่องนี้ก็รู้สึกสนใจเป็นพิเศษครับ เพราะ "พลังความฝัน"นั้น คือสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตมีอยู่จริงครับ สิ่งเหล่านี้เป็นพลังให้เดินต่อไปในโลกที่เต็มไปด้วยความคิดๆๆๆ และการตีความให้คะแนนครับ เราให้คะแนนกับทุกเรื่องกันจนเรากลายเป็นคะแนน มากกว่าเป็นสิ่งที่เราเกิดมาเพื่อเป็นชีวิต ขอบคุณครับคุณนันท์ที่ช่วยย้ำอีกครั้ง
ชื่อผู้ตอบ : karn ตอบเมื่อ : 20/04/2009
กำลังรู้สึกล้าๆ ท้อๆ กับร้านสุขภาพที่ตั้งใจจะเปิด ถึงขนาดต้องถามตัวเองว่า..ใช่เรามั้ยเนี่ยยย .. หรือเทวดายังไม่อุ้มสม lสงสัยกำลังอยากได้กำลังใจ ก็พอดีได้รับe-mail จากคุณนันท์ ค่อยมีพลังกลับมาใหม่ ..

ขอบคุณมากค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : Jang ตอบเมื่อ : 20/04/2009
มันโดนต่อมน้ำตาของผมจนไหลพรากๆ ขี้มูกโป่ง จนน้องที่ออฟฟิศสงสัยว่าผมเป็นอะไร ?

มันคือ "ความฝัน ความกล้า ความสุขใจ"
ที่ทำให้แตกต่างระหว่างคน . .

เป็นดังที่ท่านอาจารย์เคยรจนาไว้เลยครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 21/04/2009
ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆนะคะ ^^

หนูดูแล้วมีพลังขึ้นมากกว่าเดิมมากๆเลยค่ะ

ผู้หญิงอายุ 47 เธอมีความฝันที่ยิ่งใหญ่จริงๆ
ผู้หญิงอายุ 47 เธอมีความกล้าที่ทำให้หนูอายตัวเองที่ยังคงกลัว ... กลัวอะไรก็ไม่รู้ -*-
ผู้หญิงอายุ 47 เธอมีความสุขใจที่ทำให้คนที่พบเห็นเธอ รู้สึก ทึ่ง ปน ปลาบปลื้มใจในตัวเธอ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ...

I dreamed a dream by Susan Boyle

I dreamed a dream in time gone by
When hope was high
And life worth living
I dreamed that love would never die
I dreamed that God would be forgiving.

Then I was young and unafraid
When dreams were made and used
And wasted
There was no ransom to be paid
No song unsung
No wine untasted.

But the tigers come at night
With their voices soft as thunder
As they tear your hope apart
As they turn your dream to shame.

And still
I dream he’ll come to me
That we will live our life together
But there are dreams that cannot be
And there are storms
We cannot weather…

I had a dream my life would be
So different from this hell I’m living
so different now from what it seemed
Now life has killed

ชื่อผู้ตอบ : Fangly ตอบเมื่อ : 21/04/2009
ขอบคุณมากค่ะคุณนันท์ เยี่ยมมาก ยิ้ม
ชื่อผู้ตอบ : หนึ่งค่ะ ตอบเมื่อ : 21/04/2009
สุดยอดครับ ดูแล้วพลังเพียบเลย เปี่ยมด้วยพลังบวก ขอบคุณมากครับสำหรับสิ่งดีๆ
ชื่อผู้ตอบ : ศิษย์แฟนพันธ์แท้ ตอบเมื่อ : 21/04/2009
อาจไม่มีใครสนใจเข้ามาดูกระทู้นี้อีกแล้ว? และอาจไม่มีใครสนใจซูซาน บอลย์ อีกแล้ว? แต่ผมยังเปิดดูคลิปวิดิโอ ซึ่งเก็บไว้ทั้งในคอมพืวเตอร์ ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน รวมทั้งโน้ตบุ๊ค ที่เอาติดตัวไปที่โน่นที่นี่ รวมไปถึงเก็บไว้ในแฟลชไดร้ฟ์ เผื่อว่าสามารถเอาไปเสียบที่ไหนก็ได้ อยู่เสมอ ดูทีไร น้ำตามันก็จะรื้นทุกครั้งไป ขอบคุณหนูฟาง ที่นำเนื้อร้องมาลงไว้ตรงนี้ ผมคัดไว้ดูทบทวนเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจเหลือเกินด้วย

บางครั้ง เพียงอ่านบทกวี อ่านวรรณกรรม ฟังเพลง หรือฟังเรื่องราวบางเรื่อง เห็นภาพบางภาพ มันก็สร้างแรงบันดาลใจ สร้างพลังใจ สร้างกำลังใจ ได้อย่างมหาศาล และได้มากกว่าการพยายามเอาเป็นเอาตายกับการอ่านหนังสือหนักๆ จำพวกเอกอัครอภิมหาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ติดยึดอยู่กับเนื้อหา ถ้อยคำ สำนวน นั้นอย่างชนิดที่อาจเรียกได้ว่า "จมปลัก" โดยไม่สามารถดิ้นหลุดไปได้ "ปรีชาญาณ" (Intellect) ของเรา อาจเพิ่มพูนขึ้น แต่ "ปัญญาญาณ" (Intuition) และ "เชาวน์ปัญญา" (Intelligence) กลับหดหายไปอย่างน่าเสียดาย "ความรู้" เราอาจเพิ่มขึ้น แต่ "ความรู้สึก" เรากลับค่อยๆ เจือจางลง

เหมือนดังแก่นของเซน ซึ่งคุรุท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า "เซน ไม่ใช่ปรัชญา หากแต่เป็นบทกวี ไม่ใช่สิ่งที่เรียกร้อง หากแต่เป็นการเชื้อเชิญ ไม่ใช่การถกเถียง หากแต่เป็นการขับร้องไปตามท่วงทำนอง เป็นความสุนทรีย์ที่เข้าไปถึงแก่นแท้ ไม่ใช่การเป็นผู้ถือสันโดษ ไม่ต้องใช้ความอหังการ หรือความก้าวร้าวเพื่อให้เข้าถึงความจริงแท้ หากแต่เป็นไปตรงกันข้าม คือเชื่อมั่นในความรัก เชื่อว่า ถ้าเราเชื่อและศรัทธาในความรักแล้ว สภาวะแห่งความจริงแท้จะเผยความลับของมันออกมาให้เราเห็นเอง เซน เป็นการมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นบทกวีอันบริสุทธิ์ เป็นศาสนาที่มีความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง....เซน ให้ความสำคัญกับความงดงาม มากกว่าความจริงแท้....."

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 30/04/2009
ผมเองก็ copy เก็บไว้เปิดดูเช่นกันครับ ยิ่งมาอ่านที่ท่านอาจารย์ตั้งข้อสังเกต ทำให้ได้คิดตาม ว่าทำไม คลิปวิดีโอนี้ (หรือทำนองนี้) มันทรงอานุภาพมากสำหรับตัวเอง หรือจะเป็นเพราะว่าคุณ Susan Boyle เธอวัยไล่เลี่ยกับตัวเอง ก็คงอาจจะมีส่วน แต่มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่สำคัญกลับเป็นสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้ให้แง่มุมมามากกว่าที่ว่า ทั้งบทกวี วรรณกรรม หรือภาพบางภาพนั้น มันสั่นสะเทือนความรู้สึกเราได้จริง ในขณะที่ตำราคัมภีร์หรือหลักปรัชญา สั่นสะเทือนเราได้เพียงความเข้าใจเท่านั้น เลยทำให้คิดผูกโยงเอาเองต่อไปว่า หลักของ เซน นั้นคงจะใช้วิธีเน้นการสั่นสะเทือนความรู้สึกแบบฉับพลัน จนสติถูกเรียกกลับมาสู่ตนได้ในระดับสูงสุดขีด ภายใต้แรงกระแทกสู่จิตโดยฉับพลันนั้น จากความไม่รู้ตัวหลุดสู่ความรู้ตัวตื่น เช่น พวกบทกวี ไฮกุ หรือวิธีสอนของพวกอาจารย์เซน ที่ใช้การกระทำให้เกิดการสะดุ้งในจิตของศิษย์ แล้วเกิดสภาวะที่เขาเรียกกันว่า ซาโตริ อีกข้อสังเกตหนึ่ง บางครั้งเวลาที่คนเราตกสู่สภาวะสะเทือนอารมณ์มากๆ อาจเกิดผลได้ 2 แบบคือ เป็นบ้า หรือไม่ก็ตื่นรู้ไปเลย ผมว่าทั้ง Neale Donald Walsch กับ Eckart Tolle น่าจะเป็นผลของแบบหลัง . . คิดโยงไปโยงมาเรื่อยเปื่อยเลย แคนี้ครับ




ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 30/04/2009
พอดีคุณนันท์เอ่ยขึ้นมาเลยขอถือโอกาสเล่าให้ฟังเกี่ยวกับที่คุณนันท์ถามเรื่อง ". . การเข้าไปสู่การรู้แจ้งโดยการเจาะทะลวงเข้าไปเลย การเข้าสู่การรู้แจ้งโดยไม่ผ่านขั้นตอนต่างๆเช่นการตัดขาด การขจัด ชำระล้าง หรือการแปรสภาพใดๆ เป็นการเข้าสู่การรู้แจ้งแบบตรงดิ่งเข้าไปเลย ไม่ต้องผ่านพิธีการใดๆ...." ซึ่งเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นดั้งเดิม ซึ่งในทิเบตเรียกว่า "อธิโยคะ" หรือ"ซกเชน" นั้นว่าจะหาเนื้อหาที่ขยายความเพิ่มได้จากที่ไหน ได้ไปถามผู้รู้ให้แล้วนะคะท่านบอกว่าต้องเป็นการถ่ายทอด"โดยตรง"ระหว่างวัชราจารย์ผู้รู้แจ้งกับศิษย์เนื่องจากเหตุผลเรื่องการกระแทกอย่างรุนแรงต่อจิตอย่างที่คุณพูดถึงนั่นเอง จึงจำเป็นต้องมีอาจารย์คอยสอบจิตอย่างใกล้ชิด ไม่สามารถไปศึกษาหรือปฏิบัติเองโดยลำพังได้ เปรียบเหมือนการย่นเวลาเดินทางไปสู่จุดหมายอันยาวไกลด้วยเครื่องบินแทนการเดินเท้า อยู่ๆจะขับเครื่องเองโดยปราศจากครูฝึกก็จะอันตรายมากและคงแทบเป็นไปไม่ได้ อะไรประมาณนี้แหละค่ะ ส่วนเวปภาษาไทยเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานและวัชรยานหากสนใจก็ลองดูที่http://www.mahayana.in.th ได้ค่ะ
ชื่อผู้ตอบ : นพรัตน์ ตอบเมื่อ : 01/05/2009
ขอบคุณครับคุณนพรัตน์ ได้ตามเข้าไปอ่านคร่าวๆ เพราะเนื้อหาเยอะมาก คงต้องกลับเข้าไปอีกหลายรอบ ไปเจอเรื่องของท่านเวยหล่าง ที่ท่านไปเขียนโศลก ต่อจากโศลกของศิษย์อาวุโส ที่เขียนเอาไว้ ซึ่งอ่านแล้วมันคันใจจริงๆ ซึ่งผมว่าถ้าศิษย์อาวุโส ได้อ่าน คงนึกอยากชกหน้าท่านเว่ยหล่างอยู่เหมือนกัน

ศิษย์อาวุโส ท่านเขียนเอาไว้ว่า

"กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงา
จงหมั่นเช็ดถูมันอยู่ทุกๆเวลา อย่าให้ฝุ่นละอองจับ คลุมได้"

ท่านเว่ยหล่างก็มาเขียนต่อท้ายเอาไว้ว่า

"ตันโพธิ์นี้เดิมมิใช่เป็นต้นโพธิ์ ไม่มีกระจกเงาอันใสบริสุทธิ์ด้วย
แต่เดิมไม่มีอะไรสักอย่าง แล้วฝุ่นละอองจะจับคลุมที่ตรงไหน"

นี่เป็นเซนขนานแท้ เลยทีเดียว เนื้อหาต่อมาเขาบอกว่า นิกายเซ็นสอนว่า สรรพสัตว์ มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆคน คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะ อธิบายถึงสัจจะภาวะนั้นไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่แทงเข้าไปสู่หัวใจโดยตรง เพื่อเปิดทางออกการพุทธภาวะนั้น นอกจากปริศนาธรรมในครั้งสำคัญแล้ว การปฏิบัติธรรม การศึกษาค้นคว้าก็ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องปฏิบัติ ด้วยว่าพื้นภูมิของ แต่ละผู้คนสูงต่ำต่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยพระธรรมและการปฏิบัติ มาเสริมสร้างเพื่อรอเวลา การส่องประกายออกของจิตประภัสสร ดังที่พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรโพธิ์แจ้งกล่าว ไว้ว่า "ซี้ก่าวฮวยจิ่วคุย" เมื่อถึงเวลาดอกไม้ก็บาน ฉะนั้นก่อนถึงเวลา การบำรุงรักษาต้นเพื่อรอ ดอกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกระทำ ถ้าต้นไม้เหี่ยวเฉาตายก่อนจะมีดอกได้อย่างไร

ดีจริงๆ ครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 01/05/2009


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code