เห็นด้วยมากๆ ครับคุณพีระพงศ์ ว่าตีความยาก เพราะเป็นเรื่องกระบวนการตัดสินที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากระดับความคิด หรือระดับปัญญา ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลไป
ส่วนตัวผมเห็นว่า น่าจะเริ่มดูที่เจตนา อันเป็นเหตุให้ตัดสินใจในการกระทำการนั้น แต่ก็นั่นแหละ เราก็จะต้องมาดูกันว่า เจตนาอันเป็นเหตุให้ตัดสินใจนั้น เกิดจากความติดยึดแน่นในสิ่งใด (ตั้งแต่ทางลบมากๆ จนถึงแม้กระทั่งทางบวก) หรือเกิดด้วยขณะแห่งปัญญา
ผมเคยมีความเห็นส่วนตัวว่า ปัญหาที่ต้องวัดหรือตีความแบบนี้ น่าจะเป็นเหตุให้ พุทธศาสนาแบบเถรวาทของเรา จึงต้องจำแนกคน ออกเป็นบัว ๔ เหล่า และกำหนดข้อห้ามไว้ในรูปของศีล ตามกลุ่มของบุคคล ซึ่งก็ยังมีการถาม ให้ต้องตีความเรื่องศีลบางข้อกันบ่อยๆ ซึ่งในทางกลับกัน ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็จะไม่ต้องตีความ และได้ถึงพร้อมด้วยศีลเหล่านั้นอยู่แล้ว
กลับมาเรื่องเดิมครับ ตอนที่ผมเขียนคำว่า สัมมาอาชีพ นั้น ใจผมนึกถึงข้อธรรมของพระพุทธเจ้าเรื่อง มรรค ๘ เลยไปหา และยกมาเผื่อจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้บ้างครับ
เขาแบ่ง มรรค ๘ ออกเป็น ๓ ส่วน คือ
>ส่วนของ ปัญญา
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
>ส่วนของ ศีล
๓.สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ
๔.สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ
๕.สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
* ข้อ ๔,๕ นี้ใกล้กับเรื่องที่เราพูดกันอยู่มาก เข้าใจว่ารายละเอียดความหมายที่ใช้ประกอบอยู่ ก็เป็นเรื่องข้อห้ามเช่นเดียวกับศีล เช่น ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามดื่มสุรา เป็นต้น ซึ่งผมว่าน่าจะเป็นแนวทางตัดสินเรื่องนี้ได้บ้าง
>ส่วนของ สมาธิ
๖.สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ
๗.สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ
๘.สัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ
ตามความเข้าใจของผม มรรค ๘ นี้ มองแบบพื้นๆ ก้ได้ แต่ความจริงมีรายละเอียดที่ลึกซึ้งที่เกินกว่าผมจะอธิบายได้ มีความสำคัญ เป็น หนึ่งในอริยสัจ ๔ และพระพุทธเจ้าท่านแสดงธรรมนี้ ไว้ตั้งแต่ปฐมเทศนา แก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าทีเดียว หากสนใจคงต้องรบกวนหาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เอาจากหนังสือ หรือ google กันเอง แล้วละครับ
|
ชื่อผู้ตอบ :
นันท์ วิทยดำรง |
ตอบเมื่อ :
17/12/2008 |