การปฏิบัติธรรมคืออะไร???
ขอนำ 1คำนิยาม"ปฏิบัติธรรม"
ที่อาจเป็นประโยชน์....มาฝากค่ะ

การปฏิบัติธรรมคือ..........การใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ติดกรรมกับผู้ใด
ชีวิตประจำวันที่ต้องข้องเกี่ยวคนในครอบครัว,ญาติ,เพื่อนร่วมงาน,คนที่เราจำเป็นต้องติดต่อด้วยทุกรูปแบบ

ติดกรรม........ในความหมายที่ถูกสอนเหมือนจะอยู่ในหนังสือ"พลังแห่งความรู้สึก" ทั้งหมด
คือดูแลให้คลื่นความถี่ของตัวเราให้เป็นคลื่นความถี่ของความเบิกบาน.....ไม่ตกเป็นเหยื่อ
ชื่อผู้ส่ง : แฟนพันธุ์แท้ ถามเมื่อ : 14/12/2008
 


ขอบคุณครับ เป็นข้อคิดที่ดีจริงๆ
ชื่อผู้ตอบ : พีระพงศ์ ตอบเมื่อ : 14/12/2008
เห็นจริงด้วยครับ ท่านพุทธทาสยังเคยบอกว่า "การทำงาน ก็คือการปฏิบัติธรรม" และวันนี้นี่เอง ได้อ่านหนังสือพิมพ์ ในคอลัมน์ๆ หนึ่ง ผู้เขียนเล่าถึงการขับรถปาดหน้ากัน แล้วเกือบมีเรื่อง แล้วเขาก็สรุปว่า "การขับรถ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมเช่นกัน" ผมเห็นด้วยอย่างหมดใจเลย

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 14/12/2008
เห็นด้วยอย่างยิ่งยวดครับ ความหมายของคำว่า "ปฏิบัติธรรม" นั้น สมควรครอบคลุมในวิถีชีวิตทุกขณะของเรา และใช้สนามชีวิตที่เรากำลังลงเล่นนี้เพื่อฝึกฝนการดำรงธรรมนั้น

จำได้นานมาแล้ว หลวงพ่อที่พึ่งเคยพบกันเป็นครั้งแรกรูปหนึ่ง บอกผมซึ่งผมจำมาจนวันนี้ว่า
"การฝึกปฏิบัติธรรมเหรอ เริ่มง่ายๆ แค่ เข้าห้องน้ำก็ให้รู้อยู่ว่าเข้าห้องน้ำ กินข้าวก็ให้รู้อยู่ว่ากินข้าว เอาง่ายๆ ทำให้ได้ แค่นี้ก่อน . ."

ถ้าถึงระดับจิตใสเบิกบานได้อย่างแท้จริงในทุกขณะ ก็ต้องเรียกว่าดำรงอยู่ใน "พุทธะ" เลยเชียวละครับ


ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 14/12/2008
ขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ แม้แต่การสนทนากันในเว็บอร์ดนี้ อันเป็นรูปแบบความสัมพันธ์อย่างหนึ่งของคนเรา ก็เป็นการปฏิบัติธรรมเช่นกัน ผมรู้จักตัวเองเพิ่มขึ้นจากการสนทนากับคนอื่นๆ ณ ที่นี้ และไม่น่าจะเป็นการพูดที่เกินเลยไปแต่อย่างใด ที่จะกล่าวว่า พวกเราสามารถ "เติบโต" (Growing Up) ขึ้นได้ จากการสนทนากัน ณ ที่นี้ แต่นั่นก็ต้องเป็นไปอย่างที่มีคำกล่าวว่า "ในแต่ละความสัมพันธ์นั้น เราต้องเลือกและตัดสินใจว่า เราจะเป็นใคร และใครที่เราอยากเป็น"

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 14/12/2008
เห็นด้วยครับทุกอาชีพ ทุกการงานเป็นการปฏิบัติธรรมหมดถ้าไม่ผิดกฏหมายและไม่ผิดศิล5 ผมอยากรู้จังคุณนีโอเป็นดารานักร้องมันผิดศิล5ตรงไหน
ชื่อผู้ตอบ : นิก ตอบเมื่อ : 15/12/2008
เอ๋ไม่เข้าใจคุณนิกอะคับ
ชื่อผู้ตอบ : พีระพงศ์ ตอบเมื่อ : 15/12/2008
นั่นนะสิครับ ใครบอกว่าผิดเหรอครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 15/12/2008
เป็นดารา นักร้อง แม้จะไม่ผิดศีล 5 (แต่ถ้าเป็น เณรหรือพระจะผิด เพราะมีศีลเรื่องห้ามร้องรำทำเพลงอยู่)
แต่แม้คนธรรมดาจะไม่ผิดศีล แต่ว่าการเป็นนักร้องและดารานั้นถือเป็น บาป ครับ ตายไปตกนรก
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 15/12/2008
ผมไปลองค้นพระไตรปิฎกมาให้ดังนี้ครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ตาลปุตตสูตร
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า
นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย ฯ

[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตรก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า
นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ

[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน

ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูก คือราคะผูกไว้
นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูก คือโทสะผูกไว้
นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้
นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น

นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ

อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ
ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ



.....สาธุ
ชื่อผู้ตอบ : ผู้อ่าน ตอบเมื่อ : 15/12/2008
คุณนิกครับ
- " เป็นดารานักร้องมันผิดศิล 5 ตรงไหน "
ถ้าผมเดาไม่ผิด น่าจะเป็นประเด็นพาดพิง จากหนังสือ ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้าใช่ไหมครับ
ถ้าเป็นตามนั้น ผมว่าเนื้อหาไม่น่าใช่ ว่า ผิดศีล ข้อ 5 ครับ เพียงแต่ว่ามันเป็นการกระตุ้น ความรู้สึกคนให้มีความรัก โกรธ หรือสะเทือนใจ ซึ่งทำให้ตนที่ดูนั้น ถูกชักนำไปในทางให้เกิด กิเลส มากกว่า อันนี้ผมกล่าวตามเนี้อหานะครับ เท่าที่จำได้ครับ แต่ผมคงจะไม่ตัดสินให้หรอกน่ะ ว่าอะไรถูกหรือผิด ผมมีแต่เพียงข้อสังเกตุให้ได้เท่านั้น คุณนิกตัดสินใจไปเลยครับว่าสถานการณ์นี้ ตัวตนของคุณคืออะไร จะตอบสนองอย่างไรในสถานการณ์นี้ อะไรคือความเชื่อของคุณ แล้วก็จงไปตามนั้น ถ้าเกิดเป็นอย่างนั้นแล้ว วันหนึ่ง ตัวตนสูงสุดของคุณเกิดเติบโตขึ้น ความเชื่อต้องเปลี่ยน ก็ขอให้เลื่อกใหม่ ให้มันสอดคล้องกับตัวตนสูงสุดของคุณในเวลาใหม่ แต่อย่าได้วิพากษ์ หรือประณามใน ทางที่คุณไม่ได้เลือกเลย หรือในเส้นทางที่คุณไม่เห็นด้วย เพราะในแต่ล่ะเส้นทางของแต่ล่ะบุคคลนั้นล้วนเป็นสิ่งล้ำค่าของแต่ล่ะคนอยู่แล้ว ถ้าเรานั้นมองในมุมมองของคนนั้น เห็นด้วยไหมครับ
ชื่อผู้ตอบ : นีโอ ( วิชยะ คุ้มสุด ) ตอบเมื่อ : 16/12/2008
เชียร์! เชียร์! ค่ะคุณนีโอ
การไม่ตัดสินผู้ใด.........เป็นข้อที่เป็นจุดอ่อนมาก(ของทุกๆคน)

วันนี้มีนิยาม.....สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาฝากค่ะ
พระอาจารย์ที่สอนกรรมฐาน บอกว่ามนุษย์เรามี่สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองทุกคน ....ใกล้เคียง/เป็นไปตามกฏแห่งศักยภาพอันบริสุทธิ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในมั้ยคะ?

คำถามต่อคือ.......แล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวเราคืออะไร/ส่วนไหน?
คำคอบ...........คือดวงจิตที่บริสุทธิ์

ดวงจิตที่บริสุทธิ์เป็นอย่างไร?
คำตอบ.............คือดวงจิตที่เป็นกลาง.......ไม่ตัดสินผู้ใดถูกไม่ตัดสินผู้ใดผิด

ไม่ตัดสินผู้ใด!!!!!
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 16/12/2008
แต่ถ้าเป็นอย่างที่คุณผู้อ่านว่าก็สงสารคนทำอาชีพดารา นักร้องนะครับ ผมว่างานของเขาทุกคนล้วนสร้างสรรค์ รวมถึงการ์ตูนต่างๆไม่ว่าจะเป็นโดเรมอน ซินเดอเรลล่า ของวอล์ส ดิสนีย์ซึ่งล้วนจุดประกายให้เด็กๆรู้จักมีความใฝ่ฝัน มีความนึกคิจินตนาการ แต่ถ้ามันเป็นกฏธรรมชาติก็คงจะไปบังคับไม่ได้ คงต้องไปหาอ่านเอางานของoshoที่ทำยังไงให้การบันเทิงเริงรมณ์แบบนี้ไม่เป็นบาป แถมยัสอดคล้องกับจิตวิญญาณด้วย ก็ยังดีที่หนังสือแนวจิตวิญญาณอื่นๆที่ไม่ใช่ของบ้านเราเขารู้จัก "อะแด๊บ-แอ๊บพายน่ะครับ กิเลสยังเอามาเป็นพลังงานสู่การรู้แจ้งได้เลย ก็คิดว่าเขาคงมีวิธีพลิกแพลงกฏธรรมชาติน่ะครับจากบันเทิงเป็นบาปก็ปรับให้เข้าจิตวิญญาณได้
ชื่อผู้ตอบ : นิก ตอบเมื่อ : 16/12/2008
อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน
อย่าเชื่อธรรมเนียมปฏิบัติ เพียงเพราะสืบทอดมาหลายสมัย
อย่าเชื่อสิ่งที่เล่าต่อกันมา
อย่าเชื่อเพราะข้อคววามนั้นเขียนโดยนักปราชญ์
อย่าเชื่อเพราะเดา
อย่าเชื่อเพราะผู้มีอำนาจ ครู หรือผู้อาวุโส
แต่หลังจากวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน และเห็นด้วย
กับเหตุผลนั้น และมีประโยชน์ต่อตนเองและทุกคน
จงน้อมนำและดำรงชีวิตตามนั้น

องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

การหยิบยก ข้อความ/บทความ/ความเห็น ที่เราโต้แย้ง และรวมคัดค้านไม่เห็นด้วย เรากำลังดำเนินรอยตามกลุ่มพันธมิตรที่คุณนิกเคยให้ข้อสังเกตุไว้ในกระทู้ก่อนหน้านี้นะคะ

และที่สำคัญมันทำให้เสียบรรยากาศ กลุ่มคนแนวจิตวิญญาณค่ะ....อิอิ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 16/12/2008
ขอบคุณคุณแฟนพันธ์แท้ครับมีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทำให้ชื่นใจที่สุดก็กาลามสูตรเนี่ยแหละครับ
ชื่อผู้ตอบ : นิก ตอบเมื่อ : 16/12/2008
มีอีกหลายชื่นใจครับ เพียงแต่ต้องทำจมูกให้โล่งๆ สูดให้ถูกที่ และเตรียมปอดให้ใหญ่ๆ ไว่หน่อยยิ่งดีครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 17/12/2008
ดูเผินๆ หรืออย่างผิวๆ มันแลคล้ายกับว่า ธรรมะในพระพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง เข้าใจยาก ตีความกันไปได้อย่างละเอียดพิศดาร แตกต่างกันไป ผมมีคำสอนของพระอาจารย์ชา สุภัทโท มาฝากให้พิจารณากัน ดังนี้ :-

"...มะม่วงมันอยู่สูง 5 เมตร เราอยากได้ แต่ไปเอาไม้ยาว 10 เมตรมาสอย ก็สอยไม่ได้ มันยาวเกินไป เอาไม้ยาว 2 เมตรมาสอย ก็ไม่ได้อีก มันสั้นเกินไป ต้องหาไม้พอดีกัน จึงจะสอยมะม่วงมากินได้
ฟังธรรมะก็เหมือนกัน โง่เกินไปก็ไม่ได้ ฉลาดร่ำเรียนเป็นดอกเตอร์มาฟัง ก็ไม่ได้ธรรมะ เพราะคำว่าดอกเตอร์มันอยู่เต็มหัว
ต้องทำตัวให้พอดี พอดี
เอาดอกเตอร์มาฟังธรรมะ ดอกเตอร์มันยาวเกินไป"

"...ถ้ามีรูอยู่รูหนึ่ง เราเอามือล้วงเข้าไปในรู แล้วล้วงไม่ถึง เราจะบอกว่ารูมันลึก เราไม่บอกว่าแขนเรามันสั้น เอาคนทั้งร้อยทั้งพันมาล้วง คนทั้งร้อยทั้งพันก็โทษว่ารูมันลึก ไม่ใช่แขนมันสั้น
คนทำบุญแล้วไม่ละบาป เมื่อเกิดทุกข์ ก็ว่าทำบุญไม่ได้บุญ คนทำบุญไม่ละบาป คือคนบอกว่ารูมันลึก ไม่ใช่แขนมันสั้น"

ท่านสอนของท่านง่ายๆ อย่างนี้ แต่กระจ่างแจ้งดีจริงๆ นะครับ

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 17/12/2008
ขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ พอเขียนข้อความข้างบนเสร็จ นึกได้ว่าจดคำสอนของท่านไว้ ลองไปเปิดดูเมื่อสักครู่ เห็นว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับกระทู้นี้ และต่อเนื่องได้กับข้อความข้างบน จึงขอเพิ่มเติมคำสอนของพระอาจารย์ชา สุภัทโท ดังนี้ :-

"...ธรรมะมันไม่มีรูปแบบ บอกไม่ได้ว่ามันกลมหรือมันเป็นเหลี่ยม ต้องเปรียบเทียบเอา ธรรมะมันอยู่ที่ตัวเรานี่แหละ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องห่างตัว ลองดูซี เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวพอใจ บ้างก็โกรธคนนั้น เกลียดคนนี้ นั่นคือธรรมะทั้งนั้นแหละโยม"

พระฝรั่งชื่อ ชาคโร ภิกขุ กล่าวกับหลวงปู่ชาว่า ท่านรู้สึกว่าครูบาอาจารย์ทอดทิ้ง ท่านจึงปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า เพราะห่างไกลอาจารย์ หลวงปู่ให้โอวาทว่า..

"อย่าคิดว่าคุณห่างไกลอาจารย์ คุณอยู่ใกล้ชิดอาจารย์ตลอดเวลา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นแหละคือครูที่แท้จริง เมื่อผัสสะทำให้เกิดอารมณ์หวั่นไหว นั่นแหละคือทุกข์ ถ้ามีสติรู้เท่าทันอารมณ์ ไม่หวั่นไหวตามมัน นั่นแหละคือหมดทุกข์"

นอกจากนี้ ท่านยังมีนิทานเซ็น มาอุปมาอุปมัย สอนเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ อีกหลายเรื่อง เช่น (เรื่องนี้ ดร.เวย์น ไดเออร์ ก็เคยยกตัวอย่างไว้ในหนังสือ "อยู่อย่างปาฏิหารย์")

...นักศึกษาเซ็น 2 คน เห็นธงปลิวสะบัดตามลม เกิดถกเถียงกัน คนหนึ่งกล่าวว่า "ธงพัดไปตามลม"..อีกคนบอกว่า "ธงไม่ได้พัด ลมต่างหากที่พัด" เมื่อตกลงกันไม่ได้ จึงไปให้อาจารย์ตัดสิน
อาจารย์ตัดสินว่า "ไม่ใช่ธง ไม่ใช่ลม ที่พัด..แต่จิตใจเธอต่างหากที่พัด"

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 17/12/2008
อ่านที่อาจารย์เขียนเรืองด๊อกเตอร์ฟังธรรมะ....ทำให้นึกถึงคำของ พระอาจารย์บอก
ภูมิรู้ กับ ภูมิธรรม ต้องสมดุลกัน
และคิดถึงคำถามและข้อสงสัยที่ตัวเอง มีกับหลักสูตรบางหลักสูตรที่เลิศเรื่องการประยุกต์/ออกแบบ.........ทำไมมันไม่เวิร์ค???

และเลยเถิดไปนึกที่เค้าเปรียบเปรยเรื่องความรู้....แต่จำมาสะเปะสะปะดังนี้
รู้มากจะยากนาน
รู้น้อยพลอยลำคาญ
รู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

สงสัยว่าทั้ง 3รู้นี้เป็นภูมิรู้ ที่ไม่มีภูมิธรรม
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 17/12/2008
ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ อ่านแล้วทำให้เกิดอาการยิ้มในใจ ดีจังครับ
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 17/12/2008
เรื่อง "การรู้" นี่ ยังมีอีกคำกล่าวหนึ่งนะครับ ลองพิจารณากันดู..

"คนที่รู้ว่าตนเองไม่รู้ นั้น ย่อมมีวันที่รู้ได้
คนที่ไม่รู้ว่าตนเองรู้ ย่อมจะรู้ในที่สุด
คนที่รู้ว่าตนเองรู้ ย่อมรู้อยู่แล้ว
คนที่ไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้นั้น ก็อาจมีวันที่จะรู้ได้
คนที่ไม่รู้ ทว่าคิดว่าตนเองรู้ นั้น ยังมีวันที่อาจจะรู้ได้
แต่คนที่รู้ทั้งรู้ว่าตนเองไม่รู้ แต่ยังทำเป็นว่ารู้ ย่อมไม่มีใครรู้ ว่าเมื่อไหร่ เขาจะรู้ได้จริงๆ"

ไม่รู้เหมือนกัน ว่าอ่านแล้ว จะรู้เรื่องกันไหมเนี่ย! (ฮา)

ชื่อผู้ตอบ : วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ ตอบเมื่อ : 18/12/2008
ยิ่งอ่านก็ยิ่งเกิด....อาการรู้แจ้ง!!!!....อิอิ
ชื่อผู้ตอบ : แฟนพันธุ์แท้ ตอบเมื่อ : 18/12/2008
รู้เรื่องครับท่านอาจารย์ แต่ผมไม่แน่ใจว่าตัวเอง จะรู้ตัวหรือเปล่า
ชื่อผู้ตอบ : นันท์ วิทยดำรง ตอบเมื่อ : 18/12/2008
เมื่อถึงเวลาที่พร้อม ก็จะรู้เองล่ะครับ ธรรมชาติกำหนดมาอย่างนั้น ฝืนไม่ได้ บังคับก็ไม่ได้ ครับ
ชื่อผู้ตอบ : พีระพงศ์ ตอบเมื่อ : 22/12/2008


คำตอบ  
ชื่อผู้ตอบ  
E-mail  
Security Code